Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/351
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | เกื้อ วงศ์บุญสิน | - |
dc.contributor.author | เตือนใจ อินทุโสมา | - |
dc.contributor.author | พวงเพ็ญ ชุณหปราณ | - |
dc.contributor.author | วิพรรณ ประจวบเหมาะ รูฟโฟโล | - |
dc.contributor.author | วีนัส อุดมประเสริฐกุล | - |
dc.contributor.author | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันประชากรศาสตร์ | - |
dc.contributor.author | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย (ภาคตะวันออก) | - |
dc.coverage.spatial | ชลบุรี | - |
dc.date.accessioned | 2006-06-16T08:30:21Z | - |
dc.date.available | 2006-06-16T08:30:21Z | - |
dc.date.issued | 2539 | - |
dc.identifier.isbn | 9746351729 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/351 | - |
dc.description.abstract | การศึกษาปัญหาสังคมและสาธารณสุขของคนงานก่อสร้างในเขตเทศบาลแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 2 ประการ คือ 1) เพื่อใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพในการเก็บข้อมูล อธิบายและให้ความหมายแก่ข้อมูลเกี่ยวกับคนงานก่อสร้างและ 2) เพื่อบรรยายและวิเคราะห์บริบททางสังคมและวัฒนธรรมของวิถีชีวิต สภาพการทำงานและปัญหาสาธารณสุขของคนงานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง วิธีวิจัยที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม ส่วนสถานที่ก่อสร้างที่ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลมีทั้งหมด 6 แห่ง สามารถสัมภาษณ์คนงานก่อสร้างได้ 21 ราย และจัดการสนทนากลุ่ม 4 กลุ่ม ผลการศึกษาสามารถสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้ ปัจจัยต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพทางการเกษตรได้ผลักดันให้ชาวชนบทโดยเฉพาะจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือตอนล่างหันเหชีวิตเข้าสู่อุตสาหกรรมก่อสร้าง คนงานยอมรับว่างานก่อสร้างเป็นงานหนักและไม่มีอิสระ แต่สามารถให้รายได้นำมาใช้จ่ายในครอบครัวและชำระหนี้สิน รวมทั้งเก็บออมได้บ้าง คนงานก่อสร้างส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในชุมชนก่อสร้างเป็นครอบครัว หากมีบุตรที่ยังเล็กบุตรจะอาศัยอยู่ด้วย ส่วนบุตรวัยเรียนจะอาศัยอยู่ที่บ้านเดิมกับญาติพี่น้อง คนงานก่อสร้างส่วนใหญ่ไม่มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับงานก่อสร้างจึงมักเริ่มต้นจากงานกรรมการและเรียนรู่งานจากการสังเกต รวมทั้งการสอนงานของเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้างาน การขาดความรู้และทักษะนี้นำไปสู่การขาดอำนาจต่อรองในเรื่องค่าจ้าง การขาดโอกาสหรือมีโอกาสจำกัดในการเลื่อนระดับการทำงาน นอกจากนี้คนงานยังไม่ได้รับความคุ้มครองในด้านสวัสดิภาพและขาดความรู้เรื่องสิทธิประโยชน์ที่พึงได้รับ ปัญหาสังคมที่คนงานก่อสร้างประสบได้แก่ ปัญหาความยกจนเรื้อรัง การขาดภาวะสมดุลในครอบครัว ปัญหาการเลี้ยงดูบุตรในที่ทำงานและที่พัก ปัญหาการปรับตัวทางสังคมและปัญหาพฤติกรรมเบี่ยงเบน ในส่วนของปัญหาสาธารณสุขนั้น พบว่ามีความสัมพันธ์ปับปัญหาสังคม เนื่องมาจากคนงานมีการศึกษาน้อยอีกทั้งมีอำนาจในการต่อรองน้อย ความสามารถในการดูแลตนเอง และความรู้ด้านสุขภาพมีจำกัด ปัญหาสุขภาพของคนงานก่อสร้างส่วนหนึ่งยังมีสาเหตุมาจากการอยู่อาศัยในที่พักซึ่งไม่ถูกสุขลักษณะ และการทำงานที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูง คนงานโดยส่วนใหญ่ไม่ได้รับเครื่องมือป้องกันภัยอย่างเพียงพอจากนายจ้างและยังขาดความรู้อย่างมากในในเรื่องมาตรการรักษาความปลอดภัยในการทำงาน และเจ้าของกิจการหรือผู้รับเหมาก็ขาดการเอาใจใส่หรือสนใจในสวัสดิภาพของคนงาน สำหรับประเด็นของการเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลยามเจ็บป่วย หากเป็นการเจ็บป่วยเนื่องมาจากการทำงานส่วนใหญ่เจ้าของกิจการเป็นผู้ออกค่ารักษาพยาบาล หากการเจ็บป่วยนั้นไม่เกี่ยวข้องกับการทำงาน คนงานก่อสร้างต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเอง อย่างไรก็ตาม คนงานก่อสร้างบางคนก็ได้รับสิทธิประโยชน์จากการประกันสังคมแต่สิทธิประโยชน์ไม่ได้ครอบคลุมถึงสมาชิกอื่น ๆ ในครอบครัว คนงานชายเป็นจำนวนมากมีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การนิยมดื่มสุราเป็นประจำ ซึ่งบ่อยครั้งนำไปสู่ปัญหาครอบครัว ปัญหาสังคมและปัญหาสุขภาพในระยะยาว นอกจากนี้ยังพบว่าคนงานก่อสร้างชายโสดและคนงานก่อสร้างที่สมรสแล้วแต่ภรรยาไม่ได้อยู่ด้วยนิยมไปเที่ยวหญิงบริการซึ่งอาจนำไปสู่โอกาสของการเป็นโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์ ผลการวิจัยดังกล่าวได้นำไปสู่ข้อเสนอแนะต่าง ๆ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนงานก่อสร้างดังนี้ 1. ควรมีการพัฒนาคนงานให้มีทักษะและฝีมือในการทำงานก่อสร้างให้มากยิ่งขึ้น โดยการจัดฝึกอบรมให้กับแรงงานใหม่สักระยะหนึ่งก่อนเริ่มทำงาน หรือการจัดฝึกอบรมในท้องถิ่นให้กับชาวชนบทระหว่างว่างจากงานเกษตร ซึ่งอาจดำเนินการโดยหน่วยงานของรัฐ เช่น กรมแรงงาน สถาบันการศึกษาต่าง ๆ พร้อมทั้งมีการออกประกาศนียบัตรรับรองหรือส่งเสริมให้บริษัทก่อสร้างจัดการฝึกอบรมให้กับคนงานก่อสร้างในสังกัด 2. เจ้าของกิจการก่อสร้างและหน่วยงานของรัฐควรจะได้มีการจัดสวัสดิการด้านดูและเด็กให้กับคนงาน และควรขยายการศึกษานอกระบบโรงเรียนให้เหมาะสมกับกลุ่มเด็กซึ่งเป็นบุตรคนงานก่อสร้าง 3.ควรมีการปรับปรุงสวัสดิการเกี่ยวกับที่พักคนงานในด้านต่าง ๆโดยการสร้างจิตสำนึกให้คนงานก่อสร้างรักษาความสะอาดบริเวณที่พักและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งกระตุ้นให้เจ้าของกิจการให้มีจิตสำนึกในการคำนึงถึงภาพความเป็นอยู่ของคนงานด้วย นอกจากนี้ทางรัฐอาจจะจัดตั้งคณะทำงานเพื่อรับผิดชอบในการกำหนดมาตรฐานของที่พักอาศัยแบะตรวจสอบว่าเป็นไปตามนั้นหรือไม่อย่างจริงจัง 4. ควรมีการให้มีความรู้กับคนงานในเรื่องของความปลดภัยในการทำงาน รวมทั้งส่งเสริมให้เจ้าของกิจการจัดเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ครบถ้วน โดยมีหน่วยงานของรัฐดูแลตรวจตราอย่างเข้มงวด 5. จัดให้มีการให้ความรู้ทางสาธารณสุขกับคนงาน รวมทั้งจัดรูปแบบการให้บริการสาธารณสุขสำหรับประชากรกลุ่มนี้เป็นพิเศษ 6.รัฐควรมีส่วนในการช่วยเหลือดูและคนงานให้มากยิ่งขึ้นในเรื่องต่าง ๆ เช่น การว่าจ้างงาน การใช้แรงงานหญิง และสวัสดิการต่าง ๆ | en |
dc.description.abstractalternative | The study "Social and Health Problems of Construction Workers in the Area of Laem Chabang Municipality, Chonburi Province: A Qualitative Approach" has two objectives: To utilize qualitative-research methods in data collection and interpretation; and to describe, as well as analyze the social context, culture, working conditions and health problems of construction workers. The data-collection methods used are observation, in-depth interviews and focus-group discussions. There are six construction sites visited: 21 workers are interviewed; and four focus-group discussions are held. The main findings can be summarized as follows: Failure in agricultural work pushes people from rural areas, especially from the northeastern and lower-northern regions, to work in the construction industry. Although it is hard and restrictive work, they admit that they can earn income to pay their daily expenses and their debts, and in some cases, can even save money, It is also found that most of the construction workers live with their sponses; in the case of children, small children stay with parents, and older children stay with relatives back home. This pattern is prevalent because older children must enroll in school, while small children need closer attention from their mothers. With respect to their occupational background, a majority of construction workers do not have a knowledge of and experience in a construction; they start working as unskilled laborers consequently. As they reveal, they learned how to work by observing, and being taught by, their coworkers, as well as by their supervisors. Their lack of knowledge and skills limits their bargaining power for higher wages and limits their career opportunities. Additionally, they are not properly protected by a system of welfare, and they have no knowledge of their rights. Social problems which they are facing include: Chronic poverty, family separation, lack of childcare in the workplace, unsafe housing (especially in regard to children), improper social adjustment, and deviant behaviors. In terms of health problem, results show that they are to social problems. Due to their low educational level and bargaining power, their ability to take care of their health are minimized. Construction workers' health problems partly are also effects of many factors: Unsanitary living places and a high risk of accidents while working. It is clear that most of them do not receive adequate safety equipment from their employers and they do not have sufficient knowledge concerning work-safety measures. The employers are not concerned with providing such measures. Regarding medical expenses, in the case of work-related sickness, mostly employers pay; otherwise, workers must be responsible for expenses. Some workers, however, gain social security benefits but they do not include paying for other family members. A majority of workers practice risky behaviours; for example, alcohol abuse. This often leads to family problems, as well as long-term social and health problems. In addition, unmarried workers, as well as workers who are married, but not living with their wives, frequent commercial sex workers. This type of activity can lead to contracting sexually transmitted diseases. Some recommendations can be made from these findings in order to enhance a higher quality of life among construction workers. 1. Construction workers' work skills should be developed before they start working, preferably as soon as their agricultural work has ended. The government can implement this program by providing certificates or encourage construction companies to arrange training for their employees. 2. Employers and the government should provide children services to construction workers. Their children should also be provided with proper non-formal educational systems. 3.Their housing quality should be improved through a variety of strategies: Creating workers' consciousness toward cleaning their living place and surroundings; promoting employers' consciousness to pay attention to employees' well-being and setting up committees to be responsible for establishing housing standards, as well as to make a determined effort to monitor compliance to these standards. 4. Workers should be provided knowledge related to work safety. The government should encourage preparation of adequate safety equipment, as well as conduct follow-up inspections on such equipment. 5. Knowledge of healthcare should be provided to workers, including special health services for this particular population. 6. The government must better support workers in various ways; for example, by controlling employment systems, regulate female labor and other measures. | en |
dc.description.sponsorship | ทุนสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en |
dc.format.extent | 32163546 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | คนงานก่อสร้าง--สุขภาพและอนามัย--ไทย (ภาคตะวันออก) | en |
dc.subject | คนงานก่อสร้าง--ไทย--ชลบุรี | en |
dc.subject | ปัญหาสังคม | en |
dc.subject | แรงงานสัมพันธ์ | en |
dc.subject | ความคาดหวัง (จิตวิทยา) | en |
dc.subject | อุตสาหกรรมการก่อสร้าง | en |
dc.title | ปัญหาสังคมและสาธารณสุขของคนงานก่อสร้างในเขตเทศบาลแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี : ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ | en |
dc.title.alternative | Social and health problems of construction workers in the area | en |
dc.type | Technical Report | en |
dc.email.author | Kua.W@chula.ac.th | - |
dc.email.author | Vipan.P@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Pop - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kua_constructionw.pdf | 11.7 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.