Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35234
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประหยัด หงษ์ทองคำ
dc.contributor.authorพิศณุ วิทยาภรณ์
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2013-08-14T09:46:32Z
dc.date.available2013-08-14T09:46:32Z
dc.date.issued2539
dc.identifier.isbn9746339273
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35234
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ลักษณะส่วนบุคคลและการเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งของกรรมการองค์การบริหารส่วนตำบล 2) ลักษณะข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบล 3) ความคิดเห็นของกรรมการองค์การบริหารส่วนตำบลต่อการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบองค์การบริหารส่วนตำบล ว่าจะมีความสัมพันธ์กับบทบาทและหน้าที่ในการทำงาน และการนำนโยบายไปปฏิบัติตามหลักการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างได้แก่ กรรมการองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดนครปฐม จำนวน 284 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ร้อยละ (percentages) ไคสแควร์ (chi-square) และแกมม่า (gamma) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ลักษณะส่วนบุคคลของกรรมการองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม พบว่าเพศชายมีจำนวนมากที่สุด มีอายุต่ำกว่า 40 ปี มากที่สุด การศึกษาอยู่ในระดับต่ำว่า ป.6 มากที่สุดอาชีพทำการเกษตรมากที่สุด รายได้ระหว่าง 80,001-160,000 บาท มากที่สุดและตำแหน่งในองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้ทรงคุณวุฒิมากที่สุด 2. ลักษณะข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบล พบว่าองค์การบริหารส่วนตำบลส่วนใหญ่มีประชากรต่ำกว่า 11,857 คน ขนาดพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลส่วนใหญ่มีพื้นที่ต่ำกว่า 30 ตารางกิโลเมตร งบประมาณพัฒนาส่วนใหญ่มีจำนวนเงินต่ำกว่า 1,000,000 บาท กรรมการองค์การบริหารส่วนตำบลส่วนใหญ่มีความเป็นอิสระในการบริหารงานมาก และการจัดสรรงบประมาณโดยวิธีใช้เสียงส่วนมากเป็นหลักมากที่สุด 3. ความคิดเห็นของกรรมการองค์การบริหารส่วนตำบล ต่อการกระจายอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลพบว่ากรรมการองค์การบริหารส่วนตำบลส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยต่อการกระจายอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบล 4. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นของกรรมการองค์การบริหารส่วนตำบล ต่อการกระจายอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลจากผลการวิจัยพบว่า เพศ อายุ อาชีพ ตำแหน่งในองค์การบริหารส่วนตำบล และขนาดจำนวนประชากรในแต่ละองค์การบริหารส่วนตำบลมีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นของกรรมการองค์การบริหารส่วนตำบลต่อการกระจายอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบล
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research is to study 1) the personal characteristics and the performances of members of the Tumbon council organization committees, 2) the basic characteristics of the Tumbon council organization committees, 3) the opinion of the Tumbon council organization committees on decentralization of local administration as to its effect on work performance and policy planning. The population group is the Tumbon council organization committees of Changwat Nakorn Pathom (284 persons). Results of this research 1. Interms of personal characteristics of the members of the Tombon council organization committees, they are mostly males, under 40 years of age, below the sixth grade of education, farmers and elected members of Tumbon council organization. 2. As for basic characteristics of the Tumbon council organization, they are small, mostly with fewer than 9 villages, 11,857 are mainly peoples and 30 sq.km. of area. The 1995 development budget recieved less than Bht. 1,000,000, most Tumbon council organization committees are autonomus in their management and used the voting process for the allocation of budget. 3. Regarding the opinion of members of the Tumbon council organization Committees on decentralization of local administration, they mainly disagree to the decentralization of the Tumbon council organization. 4. This research also finds that sex, age occupation, position, in organization have relationship with the opinion of members of Tumbon council organization committees towards decentralization.
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleความคิดเห็นของกรรมการองค์การบริหารส่วนตำบล ต่อการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่นen_US
dc.title.alternativeThe opinion of tumbon council organization committees towards decentralization of local administrationen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameรัฐศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการปกครองen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phisanu_vi_front.pdf4.74 MBAdobe PDFView/Open
Phisanu_vi_ch1.pdf6.53 MBAdobe PDFView/Open
Phisanu_vi_ch2.pdf13.98 MBAdobe PDFView/Open
Phisanu_vi_ch3.pdf4.73 MBAdobe PDFView/Open
Phisanu_vi_ch4.pdf18.39 MBAdobe PDFView/Open
Phisanu_vi_ch5.pdf3.47 MBAdobe PDFView/Open
Phisanu_vi_back.pdf7.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.