Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35238
Title: | ความต้องการพึ่งพาบุตรและการได้พึ่งพาบุตรของผู้สูงอายุไทย |
Other Titles: | Required and actual support from children of the Thai elderly |
Authors: | เพียรใจ โรจนสินวิไล |
Advisors: | เสาวลักษณ์ เปี่ยมปิติ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | ผู้สูงอายุ -- ไทย |
Issue Date: | 2534 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักสองประการคือ 1) เพื่อศึกษาถึงความต้องการพึ่งพาบุตรและปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการพึ่งพาบุตรของผู้สูงอายุไทย อันได้แก่ อายุ เพศ สถานภาพสมรส จำนวนบุตรที่มีชีวิต สุขภาพ การทำงานเชิงเศรษฐกิจ และอาชีพของผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาถึงการได้พึ่งพาบุตรและปัจจัยดังกล่าวข้างต้นอันมีผลต่อการได้พึ่งพาบุตรของผู้สูงอายุไทย สำหรับขอบเขตของคำว่า “การพึ่งพาบุตร” ในการศึกษาครั้งนี้ ศึกษาเฉพาะด้านเศรษฐกิจ โดยเน้นที่ตัวแปร 3 ตัว คือ 1. การได้รับการดูแลส่งเสียจากบุตร 2. แหล่งรายได้ที่สำคัญที่สุด 3. กำลังสำคัญในการหาเลี้ยงครอบครัวและด้านการดูแลเมื่อเจ็บป่วย มีตัวแปร 2 ตัวคือ 1. ผู้ดูแลยามเจ็บป่วย 2. ผู้จ่ายค่ารักษาพยาบาล ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุไทยต้องการพึ่งพาบุตรด้านเศรษฐกิจมากกว่าด้านการดูแลเมื่อเจ็บป่วย และพบว่าความต้องการและการได้พึ่งพาบุตรของผู้สูงอายุแตกต่างกันไปตามลักษณะทางประชากรและเศรษฐกิจของผู้สูงอายุเอง กล่าวคือ ผู้สูงอายุที่อายุมากต้องการและได้พึ่งพาบุตรมากกว่ากลุ่มที่มีอายุน้อย ทั้งด้านเศรษฐกิจและการดูแลเมื่อเจ็บป่วย ในทำนองเดียวกันกลุ่มผู้สูงอายุหญิงต้องการและได้พึ่งพาบุตรมากกว่าผู้สูงอายุชาย กลุ่มสถานภาพหม้าย หย่า แยกกันอยู่ ต้องการและได้พึ่งพาบุตรมากกว่ากลุ่ม สถานภาพกำลังสมรส และกลุ่มที่ไม่ได้ทำงานต้องการและได้พึ่งพาบุตรมากกว่ากลุ่มที่ทำงาน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ สำหรับตัวแปรภาวะสุขภาพและกลุ่มอาชีพ พบว่าผู้สูงอายุกลุ่มสุขภาพไม่ดีต้องการและได้พึ่งพาบุตรมากกว่ากลุ่มสุขภาพดี กลุ่มอาชีพในภาคเกษตรกรรมต้องการและได้พึ่งพาบุตรมากกว่ากลุ่มนอกภาคเกษตรกรรม ซึ่งความแตกต่างดังกล่าวพบเฉพาะด้านเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้สูงอายุที่มีบุตรมากต้องการและได้บุตรเป็นผู้ดูแลเมื่อเจ็บป่วยมากกว่ากลุ่มที่มีบุตรน้อย และได้พึ่งพาบุตรด้านเศรษฐกิจมากกว่ากลุ่มที่มีบุตรน้อยด้วย |
Other Abstract: | This study has two main purposes : 1) to investigate socio-economic and demographic factors as current age, sex, marital status, number of living children, health status, working status and occupation those affecting required support from children of the Thai elderly. 2) to investigate the factors affecting the actual support from children of the Thai elderly. The term “support from children” in this research covers only about economic support and caring support. It was found that the Thai elderly required economic support more than caring support. Besides, the finding show that socio-economic and demographic factors : current age, sex, marital status and working status of the elderly affected the elderly’s required and actual supportfrom their children. The elderly with higher age has higher required and actual both economic and caring support from children than the elderly with lower age. The female elderly has higher required and actual support than the male elderly. Divorced and separated elderly has higher required and actual support from children than married elderly. The elderly who don’t work has higher required and actual support from children than working ones which corresponded to the hypothesis. Concerning health status and occupation, it was found that the elderly with poor health has higher required and actual support from children than the ones with good health. The elderly working in agriculture has higher required and actual support from children than those working in the other parts but the differences was found only in economic support. Moreover, the elderly having many children required and received higher caring support when ill and received higher economic support than those having less children. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534 |
Degree Name: | สังคมวิทยามหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35238 |
ISBN: | 9745797391 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pianjai_ro_front.pdf | 8.77 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pianjai_ro_ch1.pdf | 27.42 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pianjai_ro_ch2.pdf | 14.69 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pianjai_ro_ch3.pdf | 48.74 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pianjai_ro_ch4.pdf | 7.77 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pianjai_ro_back.pdf | 22.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.