Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35441
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอภิรัตน์ เพ็ชรศิริ-
dc.contributor.authorศิรัฐประภากรณ์ รัตนพานิช-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-08-17T08:03:40Z-
dc.date.available2013-08-17T08:03:40Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35441-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพในการพิมพ์เป็นสิ่งที่ได้รับการรับรองและคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แต่สิทธิเสรีภาพดังกล่าวย่อมมีขอบเขตและข้อจำกัดบางประการเพื่อมิให้การปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น รวมถึงไม่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของประเทศ การนำเสนอข่าวที่เป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และละเมิดหลักสิทธิมนุษยชนของสื่อมวลชนมีเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบันและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในอนาคตหากไม่มีการควบคุมการนำเสนอข่าวและตระหนักถึงการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ตกเป็นข่าวอย่างจริงจัง เนื่องจากการแข่งขันในทางธุรกิจด้านสื่อสารมวลชนมีสูงประกอบกับในปัจจุบันเทคโนโลยีมีความทันสมัยมากกว่าเดิม สื่อมวลชนจึงเน้นรูปแบบการนำเสนอที่เจาะลึกถึงข้อมูลและรายละเอียดของข่าว โดยเฉพาะการรายงานข่าวอาชญากรรม มีการเจาะลึกถึงรายละเอียดของข่าวมากเกินความจำเป็นโดยไม่คำนึงถึงความรู้สึกของสาธารณชนและผลกระทบต่อเยาวชนที่อาจลอกเลียนแบบโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ซึ่งภาพข่าวที่ไม่เหมาะสมนั้น รวมทั้งการถ่ายภาพผู้ต้องหาและเผยแพร่ภาพดังกล่าวเป็นผลให้ผู้ต้องหาซึ่งยังไม่มีคำพิพากษาของศาลว่ากระทำความผิด ทำให้ผู้ต้องหาตกเป็นจำเลยของสังคม อีกทั้งอาจมีผลกระทบกระเทือนต่อกระบวนการอำนวยความยุติธรรมแก่ผู้ต้องหาและผู้เสียหาย จึงเห็นสมควรมีการบัญญัติกฎหมายจำกัดสิทธิในการเผยแพร่ภาพของผู้ต้องหาและการทำซ้ำซึ่งเหตุการณ์อาชญากรรมอันเป็นการกระทบกระเทือนศักดิ์ศรีผู้เสียหายไว้เป็นการเฉพาะ โดยศึกษาเปรียบเทียบกับบทบัญญัติกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง รวมถึงควรมีองค์กรที่ทำหน้าที่ส่งเสริมให้ความรู้แก่สื่อมวลชนและประชาชนทั่วไปให้ตระหนักถึงสิทธิหน้าที่ของตน และมีหน้าที่ดำเนินการตามกฎหมายแก่สื่อมวลชนที่กระทำความผิด เพื่อให้กฎหมายที่บัญญัติขึ้นสามารถคุ้มครองผู้ที่ต้องได้รับความเสียหายได้อย่างแท้จริงen_US
dc.description.abstractalternativeThe rights and freedoms of the mass media to express and publish are guaranteed and protected under the constitution of Thailand. But such rights and freedoms have their extents and limitations in order to prevent the mass media from using their authorities to violate personal rights of other people, to cause any detriment or to affect the security of the country. If there are no rigid regulations of news presentation and serious realization on a protection of rights and freedoms of a person in the news, the news presentation violating human dignity and human rights will be increased and likely to multiply in the future due to high competition in media businesses and more advance technologies. Therefore, the mass media is now emphasizing a presentational form that penetrates secret information and details of scene, especially on crime news report. But the detail penetration is sometime over emphasized and without consideration of public’s sentiment and undesirable impacts on juveniles, who may imitate such indecent incidents. In addition, to publish photograph of alleged offenders would cause alleged offenders to be unfairly judged by the community even though some of them are still not judged by the court, and it may affect the fair administration of justice process for offenders and injured persons. Therefore, by comparing and studying relevant provisions of foreign laws, a specific law should be enacted to limit the medias’ right to publish offender’s images or to reproduce any criminal scenery which affects the dignity of injured persons. Particular organizations should be established to encourage and provide knowledge for the mass media and general people to realize their own rights and duties. They also have a duty to take a legal action to the mass media that do an offense so that the law can really protect the injured persons.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.21-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการศึกษาเปรียบเทียบen_US
dc.subjectสื่อมวลชนen_US
dc.subjectกฎหมายอาญาen_US
dc.subjectComparative educationen_US
dc.subjectMass media -- Criminal lawen_US
dc.subjectพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534-
dc.subjectพระราชบัญญัติคุ้มคราองเด็ก พ.ศ. 2546-
dc.subjectพระราชบัญญํติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550-
dc.subjectพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551-
dc.titleกฎหมายอาญาเกี่ยวกับสื่อมวลชนในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตen_US
dc.title.alternativeCriminal law relating to the mass media : present policies and future trendsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorApirat.P@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.21-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
siratprapakorn_ra.pdf12.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.