Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35758
Title: | การศึกษาของเล่นพื้นบ้าน เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางศิลปะสำหรับเด็กอายุ 6-12 ปี |
Other Titles: | A study of folk toys for enhancing art development of children 6-12 years old |
Authors: | สีวลี ศิลป์วรศาสตร์ |
Advisors: | อำไพ ตีรณสาร อินทิรา พรมพันธุ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล intira.p@chula.ac.th |
Subjects: | ของเล่น ของเล่น -- ไทย ของเล่นเพื่อการศึกษา ศิลปะกับเด็ก พัฒนาการของเด็ก Toys Toys -- Thailand Educational toys Arts and children Child development |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาของเล่นพื้นบ้าน เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางศิลปะสำหรับเด็กอายุ 6-12 ปี โดยใช้เทคนิคการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างเลือกโดยวิธีแบบเจาะจง ได้แก่ 1) ของเล่นพื้นบ้านไทยจำนวน 365 ชิ้น จาก 4 ภูมิภาค ภาคละ 4 จังหวัด จังหวัดละ 1 แห่ง 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านของเล่นพื้นบ้านไทย จำนวน 16 คน 3) ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการทางศิลปะเด็ก จำนวน 5 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกของเล่นพื้นบ้าน และแบบวิเคราะห์ข้อมูลของเล่นพื้นบ้าน ผลการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ 1) ผลการวิจัยพบว่ามีการค้นพบของเล่นพื้นบ้านในภาคเหนือมากที่สุด สำหรับข้อมูลจำเพาะเกี่ยวกับของเล่นพื้นบ้าน พบว่าของเล่นพื้นบ้านมีลักษณะทางกายภาพคือ ส่วนใหญ่ มีรูปร่าง-รูปทรงเป็นรูปเรขาคณิต จำลองแบบมาจากธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม ลอยตัว มีมิติ ไม่ตกแต่งสี และใช้สีธรรมชาติของวัสดุ พื้นผิวมีความเรียบและแข็ง สืบเนื่องมาจากคุณลักษณะของวัสดุที่ใช้ในการประดิษฐ์ โดยวัสดุหลักที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นไม้ไผ่ ไม้เนื้ออ่อน กะลามะพร้าว และส่วนต่างๆของลำต้นกล้วย วัสดุประกอบพืชพรรณที่มีเฉพาะในท้องถิ่น เช่น ดอกไม้ เมล็ดพืช เป็นต้น และมีการใช้วัสดุสังเคราะห์เป็นส่วนน้อย ของเล่นพื้นบ้านส่วนใหญ่จะมีลวดลายตามธรรมชาติที่เกิดจากเนื้อของวัสดุ ของเล่นพื้นบ้านส่วนใหญ่ไม่มีการจำกัดจำนวนผู้เล่น โดยขึ้นอยู่กับวิธีการเล่นเป็นหลัก และประดิษฐ์ขึ้นเองโดยผู้ใหญ่ทำให้เด็กเล่น ในด้านกลวิธีการเล่น สามารถจำแนกวิธีการเล่นออกเป็น 18 ประเภท โดยพบว่าเป็นของเล่นประเภททำให้เกิดเสียงเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ของเล่นพื้นบ้านส่วนใหญ่ยังแฝงไว้ด้วยวัฒนธรรม คติความเชื่อ ภูมิปัญญา และความหมายที่แฝงในเรื่องของการสัมผัสใกล้ชิดธรรมชาติ รองลงมาคือเรื่องของวิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งย่อมแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น 2) ของเล่นพื้นบ้าน สามารถส่งเสริมพัฒนาการทางศิลปะสำหรับเด็กอายุ 6-12 ปี ตามกรอบการพัฒนาทางศิลปะ 7 ด้าน ได้แก่ พัฒนาการทางด้านร่างกาย พัฒนาการทางด้านอารมณ์ พัฒนาการทางด้านสังคม พัฒนาการทางด้านสติปัญญา พัฒนาการทางด้านการสร้างสรรค์ พัฒนาการทางด้านการรับรู้ และพัฒนาการทางด้านสุนทรียภาพได้ โดยผลการวิจัยพบว่า ของเล่นพื้นบ้านสามารถส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์ได้มากที่สุด รองลงมาคือ ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย ด้านสังคม และด้านการสร้างสรรค์ เป็นจำนวนใกล้เคียงกัน สำหรับพัฒนาการทางด้านสติปัญญา ด้านการรับรู้ และด้านสุนทรียภาพ มีสัดส่วนค่อนข้างน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับด้านอื่นๆ ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยครั้งนี้ สถาบันการศึกษา สามารถจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการทางศิลปะเด็ก สามารถจัดกิจกรรมโดยใช้ของเล่นพื้นบ้านเป็นสื่อการเรียนรู้ได้ และสามารถเลือกใช้ของเล่นพื้นบ้านในแต่ละชิ้น เพื่อนำมาเป็นสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับการเสริมสร้างพัฒนาการทางศิลปะในแต่ละด้านได้ พร้อมทั้งการเสริมสร้างองค์ความรู้ในด้านของวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นได้เช่นกัน |
Other Abstract: | The purpose of this research was to study Thai folk toys for Enhancing art development of children 6-12 years old. This study used the integrated research technique and samples selected by the following specification methods : 1) 365 Thai folk toys from four regions in four provinces. 2) Selected by 16 Thai folk toy Specialists. The research data was collected by using The folk toys data form and The folk toys analysis form. The study was divided into two parts. 1) The folk toy specification revealed most of the folk toys were discovered in the northern of the country, the most shape was founded in a round-relief geometric shape which was decorated by the replication of the natural environment and using natural materials and colors on the smooth solid surface. Due to the characteristics of the materials used in the invention. The structure materials mainly made from wood, bamboo, coconut shell, parts of the banana stem and local vegetation such as flowers, seeds, etc. The synthetic materials were relatively low-used. Most of the patterns were the natural texture of the materials. Many children can play The folk toys at the same time which depends on the playing methods. These folk toys were created for children by their adults, the strategies of the playing can be classified into 18 categories which the major category were founded in sound toys. In addition, the traditional toys mainly bring the cultural beliefs, the traditional knowledge and the touch of natures to the children, also bring the traditional lifestyles which were different in each district. 2) Folk toys can enhance a children’s art development of 6-12 years old. The framework is based on seven developments; Physical development, Emotional development, Social development, Cognitive Development, Creativity development, Perceptional development, and Aesthetics Development. The result reveled the Folk toys can higher enhance in emotional development, lower in the development of physical, the development of social, and the development of creative. For the cognitive development, the perception development, and the aesthetics development were the lowest development. The Recommendation from this study was using the Thai folk toys in children educational institutions by choosing the Thai folk toys from each area for learning in materials which were appropriate to enhance the children’s art development. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ศิลปศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35758 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.614 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.614 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
seewalee_si.pdf | 7.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.