Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35762
Title: | คุณภาพชีวิตของวัยรุ่นที่ป่วยเป็นโรคเอสแอลอี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ |
Other Titles: | Quality of life of adolescents with Systemic Lupus Erythematosus at King Chulalongkorn Memorial Hospital |
Authors: | ทรงศิริ คล้ายคลึง |
Advisors: | ณัทธร พิทยรัตน์เสถียร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | drnuttorn@yahoo.com |
Subjects: | เอสแอลอี เอสแอลอี -- ผู้ป่วย คุณภาพชีวิต Systemic lupus erythematosus Systemic lupus erythematosus -- Patients Quality of life |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของวัยรุ่นที่ป่วยเป็นโรคเอสแอลอี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ วิธีการศึกษา เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งโดยศึกษาในวัยรุ่นที่ป่วยเป็นโรคเอสแอลอี อายุตั้งแต่ 10-18 ปีบริบูรณ์ ที่มารับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 101 คน ทำการศึกษาระหว่างธันวาคม 2554 ถึงมีนาคม 2555 โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของวัยรุ่นโรคเอสแอลอี และบิดา–มารดา หรือผู้เลี้ยงดู และใช้แบบสอบถามคุณภาพชีวิตเด็กโรคเอสแอลอี (QoLMEAL, Quality of Life Measure for Adolescent with Lupus) ซึ่งพัฒนามาจากแบบสอบถามคุณภาพชีวิตเด็ก รุ่นที่ 4 (The Pediatric Quality of Life Inventory 4.0 PedsQL 4.0) เพื่อประเมินคุณภาพชีวิตของเด็กวัยรุ่น 8 ด้าน ได้แก่ ด้านสุขภาพทั่วไป, ด้านกิจวัตรประจำวัน, ด้านครอบครัว, ด้านการดูแลรักษาโรคเอสแอลอี, ด้านอารมณ์, ด้านสังคม, ด้านการเรียนและด้านการเงิน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติเชิงพรรณนา ค่าสถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน วิเคราะห์ t-test, One-way ANOVA, และ Scheffe ผลการวิจัยพบว่าวัยรุ่นที่ป่วยเป็นโรคเอสแอลอีจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 101 คน ส่วนใหญ่ มีคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 69.3 และเมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตพบว่า วัยรุ่นที่มีอายุน้อย เพิ่งเริ่มป่วยเป็นโรคเอสแอลอีหรือป่วยเป็นโรคเอสแอลอีมาน้อยกว่า 3 ปี และขณะนี้ไม่ได้เรียนหนังสือ มีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี ส่วนปัจจัยด้านครอบครัว พบว่า อายุมารดา, การศึกษาของบิดา/มารดา, และรายได้ของครอบครัว มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าวัยรุ่นที่ป่วยเป็นโรคเอสแอลอี ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง แต่ก็ยังพบวัยรุ่นที่มีคุณภาพชีวิตโดยรวมไม่ดีประมาณร้อยละ 23.8 ซึ่งมีประโยชน์สำหรับแพทย์ในการวางแผนการรักษาและดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม เพื่อให้เกิดผลสูงสุดในการรักษา และปัจจัยด้านอายุ การศึกษา และระยะเวลาการเจ็บป่วยของผู้ป่วยที่พบว่าสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตโดยรวมนั้น ควรได้รับการดูแลช่วยเหลือและเอาใจใส่เป็นพิเศษ |
Other Abstract: | The purpose of this research was to study the quality of life and factors related to quality of life of adolescents with Systemic Lupus Erythematosus at King Chulalongorn Memorial Hospital. A cross-sectional descriptive study. Adolescents with Systemic Lupus Erythematosus that 10-18 years old recived treatment at King Chulalongkorn Memorial Hospital. The subjects were 101 outpatients who recived treatment at King Chulalongkorn Memorial Hospital in December, 2554 arrive at March, 2555. By use data general questionnaire of Adolescent and a father - mother, or superintendent. And use Quality of Life Measure for Adolescent with Lupus for assess 8 quality of side lives. Statistical tests used percent frequency averages, standard deviation, and in-depth statistics, analysis of One-way ANOVA, assumes t-test and Scheffe. The result Adolescent that with Systemic Lupus Erythematosus majority be quality of life stay in the average think 69.3 percentages and when analyse the factor that have the relation and the quality of life. Adolescent is a little and just began as a disease or illness is disease less than 3 years and while this study has a quality of life. That most families factor found that, age of mother, study of the father/mother, and family income. Quality of life is associated with significant statistical. Summary of the results of this study demonstrate that adolescents with Systemic Lupus Erythematosus at King Chulalongorn Memorial Hospital. Most of the quality of life by included in intermediate, but still found the teenager with a poor quality of life overall approximately 23.8 percent, which is useful for medical treatment planning and patient care, including elements for maximum effect in maintaining the age factor and study and duration of illness of the patient found that relate to the overall quality of life. Should receive administrative assistance and special care. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สุขภาพจิต |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35762 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.618 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.618 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
songsiri_kl.pdf | 1.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.