Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/359
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพัฒนาวดี ชูโต, 2498--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันประชากรศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-06-16T11:43:33Z-
dc.date.available2006-06-16T11:43:33Z-
dc.date.issued2540-
dc.identifier.isbn9746352482-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/359-
dc.description.abstractนับจากที่มีการเสนอแนวคิดเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้ทั่วโลกต่างให้ความใส่ใจในการจัดการเกี่ยวกับประชากรกับสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ให้สมดุลมากยิ่งขึ้น เพื่อสนับสนุนแนวคิดดังกล่าวนี้ สถาบันประชากรศาสตร์ และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้ดำเนินการโครงการประชากรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาประเทศไทยที่ยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงสถานะต่าง ๆ ทางประชากรกับสิ่งแวดล้อม อันจะนำไปสู่การวิเคราะห์ความเชื่อมโยงระหว่างประชากรกับสิ่งแวดล้อมในลักษณะองค์รวมและในระดับสูง และเพื่อศึกษาว่าประชาชนมีความตระหนัก ความรู้ ทัศนคติ และมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมในระดับใด นอกจากจะนำผลการวิจัยครั้งนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายด้านประชากรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนแล้ว ยังอาจเผยแพร่ผลการวิจัยครั้งนี้ต่อประชาชนทั่วไปเพื่อสร้างความตระหนักและความต้องการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศให้ยั่งยืนอีกด้วย การวิจัยครั้งนี้เก็บรวบรวมข้อมูลจากกรณีตัวอย่างที่เลือกแบบเจาะจงตามปัญหาประชากรและสิ่งแวดล้อมจำนวนทั้งสิ้น 1,608 ราย แยกเป็นกรณีตัวอย่างจากจังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม และนครราชสีมา ซึ่งเป็นตัวแทนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 708 ราย และเป็นกรณีตัวอย่างจากกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ และระยอง ซึ่งเป็นตัวแทนของภาคกลางจำนวน 900 ราย ผลการวิจัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือระบุว่าสถานะของประชากรในบางมิติ เช่น การศึกษา เศรษฐกิจ และชีวิตครอบครัวยอยู่ในระดับที่ควรพิจารณาแก้ไข สถานด้านสุขภาพมีแนวทางการพัฒนาที่น่าพอใจในระดับหนึ่ง ส่วนสถานะด้านสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติอยู่ในภาวะที่ต้องบำบัดและฟื้นฟูไม่ว่าจะเป็นเรื่องดิน น้ำ อากาศ และป่าไม้ สิ่งแวดล้อมที่สร้างขึ้นก็ยังอยู่ในภาวะขาดแคลนในหลาย ๆด้าน เช่น การคมนาคมและการสื่อสาร น้ำสะอาดสำหรับบริโภค และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสาธารณสุข เป็นต้น สำหรับความตระหนัก ความรู้ ทัศนคติ และมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมนั้น กลุ่มตัวอย่างของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีแนวโน้มที่จะรู้และตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมในบางประเด็น มีทัศนคติที่ค่อนข้างถูกต้องและน่าจะเป็นประโยชน์ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้บ้าง แต่ยังมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมน้อยมาก จึงควรรณรงค์ให้ประชาชนปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมให้มากขึ้น สำหรับภาคกลางพบว่ามีสถานะทางประชากรและสิ่งแวดล้อมในระดับเดียวกันกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แม้ว่าสถานะในบางมิติจะดีกว่าเล็กน้อย เช่น การศึกษา เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมที่จัดสร้างขึ้น แต่สถานะของสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติอยู่ในระดับที่ต่ำกว่ามาก โดยเฉพาะแหล่งน้ำและอากาศ อย่างไรก็ตาม สิ่งแวดล้อมมีผลกระทบต่อประชาชนในภาคกลางแตกต่างกันไปจากประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น แหล่งน้ำในภาคกลางโดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครเป็นแหล่งน้ำที่ใช้เพื่อการคมนาคมเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่แหล่งน้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นแหล่งน้ำที่ใช้เพื่อการบริโภคและการประกอบอาชีพเป็นสำคัญ กลุ่มตัวอย่างในภาคกลางมีความรู้และตระหนักถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมในระดับสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างในภาคตะวันนออกเฉียงเหนือเล็กน้อย มีทัศนคติบางประการถูกต้องเหมาะสม แต่ทัศนคติบางประการกลับน่าเป็นห่วงกว่าของประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนั้นยังละเลยและเพิกเฉยต่อการมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมมากกว่า สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่เคยย้ายถิ่นนั้น มีเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นที่คิดจะย้ายกลับภูมิลำเนาเดิม กระนั้นก็ดีผลการวิจัยครั้งนี้แสดงนัยว่านโยบายกระจายความเจริญสู่ชนบท นโยบายจัดสรรที่ดินทำกินให้แก่ราษฎร นโยบายประกันราคาพืชผล และนโยบายบำบัดและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของรัฐน่าจะมีส่วนช่วยสกัดกั้นผู้ที่ยังอยู่ในชนบทไม่ให้ย้ายถิ่น และจูงใจให้ผู้ย้ายออกจากชนบทส่วนหนึ่งย้ายกลับภูมิลำเนาเดิมของตนได้ ผลการวิจัยครั้งนี้ นอกจากจะเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายประชากรกับสิ่งแวดล้อมแล้วยังแสดงนัยว่าความหวังที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นยังไม่มืดมนเสียทีเดียว เพียงแต่รัฐจะต้องปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมและสร้างวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมโดยการปลุกจิตสำนึกของการมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของที่จะต้องพิทักษ์และรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ควบคู่ไปกับการมีมาตรการบางอย่าง เช่น การกำหนดราคาสินค้าให้สะท้อนคุณค่าที่แท้จริงของมูลค่าทางสิ่วแวดล้อมเพื่อให้ประชาชนใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและรู้คุณค่าen
dc.description.sponsorshipทุนกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA)en
dc.format.extent10553146 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectสิ่งแวดล้อมen
dc.subjectประชากรen
dc.titleโครงการประชากรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาประเทศไทยที่ยั่งยืน : ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : รายงานการวิจัยเบื้องต้นen
dc.title.alternativePopulation and the environment towards sustainable development in Thailand, Central and Northeastern Regionsen
dc.typeTechnical Reporten
dc.email.authorPattanawadee.X@chula.ac.th-
Appears in Collections:Pop - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patanawadee(deve).pdf8.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.