Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36011
Title: ความทนแรงอัดและความทนแรงดึงของวัสดุอุดฟันชั่วคราวชนิดซิงค์ออกไซด์แคลเซียมซัลเฟตที่พัฒนาใหม่
Other Titles: Compressive and diametral tensile strengths of a newly developed zinc oxide-calcium sulfate based temporary filling materials
Authors: ณัฐปภัสร์ วัฒนาศรมศิริ
Advisors: นิยม ธำรงค์อนันต์สกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
Advisor's Email: niyom.t@chula.ac.th
Subjects: ทันตวัสดุ
สังกะสีออกไซด์
แคลเซียมซัลเฟต
Calcium sulfate
Dental materials
Zinc oxide
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาวัสดุอุดฟันชั่วคราวประเภทซิงค์ออกไซด์แคลเซียมซัลเฟตให้มีความทนแรงอัดและ ความทนแรงดึงมากขึ้น วัสดุและวิธีการ สังเคราะห์โคพอลิเมอร์ของพอลิเมทิลเมทาคริเลตและพอลิสไตรีนด้วยกระบวนการพอลิ เมอไรเซชันแบบดิฟเฟอเรนเชียลไมโครอิมัลชัน โดยปรับเปลี่ยนอัตราส่วนในการสังเคราะห์ 4 อัตราส่วน นำมาเตรียมวัสดุอุดฟันชั่วคราวชนิดซิงค์ออกไซด์แคลเซียมซัลเฟตตามสูตรที่พัฒนาขึ้นใหม่ได้ เป็น 4 สูตรและใช้เควิตเป็นกลุ่มควบคุม เตรียมชิ้นตัวอย่างกลุ่มละ 30 ชิ้นไปทดสอบสมบัติความทนแรงอัด และเตรียมชิ้นตัวอย่างกลุ่มละ 10 ชิ้นเพื่อทดสอบสมบัติความทนแรงดึง หาค่าเฉลี่ยและวิเคราะห์ผลโดยใช้ สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการเปรียบเทียบเชิงซ้อน ผลการศึกษา วัสดุอุดฟันชั่วคราวทั้ง 4 สูตรที่เตรียมขึ้นใหม่มีค่าเฉลี่ยความทนแรงอัดเท่ากับ 10.693, 7.046, 5.124, 4.381 เมกะปาสคาล ขณะที่เควิตเท่ากับ 9.781 เมกะปาสคาล ค่าเฉลี่ยความทนแรงดึง เท่ากับ 4.038, 3.799, 3.016 และ 2.726 เมกะปาสคาลตามลำดับ ขณะที่เควิตมีค่า 3.614 เมกะปาสคาล วัสดุอุดฟันชั่วคราวที่เตรียมขึ้นใหม่ทุกสูตรมีความทนแรงอัดและแรงดึงต่างกัน โดยวัสดุอุดฟันชั่วคราวที่ เตรียมขึ้นจากการสังเคราะห์โคพอลิเมอร์ในอัตราส่วน 1 ต่อ 1สรุป วัสดุอุดฟันชั่วคราวที่เตรียมส่วนประกอบในส่วนพอลิเมอร์จากการสังเคราะห์โคพอลิเมอร์ของพอลิ เมทิลเมทาคริเลตและพอลิสไตรีนในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 มีค่าเฉลี่ยความทนแรงอัดและค่าเฉลี่ยความทนแรงดึง มากกว่าเควิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีความทนแรงอัดและความทนแรงดึงมากที่สุด ซึ่งมากกว่าเควิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)
Other Abstract: Objective To develop zinc oxide-calcium sulfate based temporary filling material with more compressive and diametral tensile strengths. Materials and methods Four formulas of temporary filling materials were prepared by altering the ratio of poly (methyl methacrylate) and polystyrene in the copolymerization process. Cavit was used as a control group. Thirty specimens from each group were tested to find the mean compressive strength and ten specimens from each group were tested to find the mean the diametral tensile strength. The data were statistically analyzed using one-way ANOVA and multiple comparison test. Results Mean compressive strengths of the newly developed temporary filling materials were 10.693, 7.046, 5.124 and 4.381 MPa. whereas Cavit was 9.781 MPa. Mean diametral tensile strengths were 4.038, 3.799, 3.016 and 2.726 MPa, whereas Cavit was 3.614 MPa. All groups of newly developed temporary filling material were significantly different between groups and temporary filling materials prepared with copolymer PMMA-PS (1:1) provided mean compressive and diametral tensile strengths more than did Cavit significantly (p <0.05). Conclusion The newly developed temporary filling materials from copolymer PMMA-PS (1:1) were significantly more compressive and diametral tensile strengths than Cavit.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ทันตกรรมประดิษฐ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36011
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1040
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1040
Type: Thesis
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
natpaphat_wa.pdf1.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.