Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36059
Title: ผลของการฝึกท่ารำพุมเซ่ร่วมกับท่าต่อสู้เคียรูกิในกีฬาเทควันโดที่มีต่อสมรรถภาพทางกาย เพื่อสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
Other Titles: The effects of poomsae with kyoruki training in taekwondo upon health-related physical fitness of lower secondary school students
Authors: ประเสริฐศักดิ์ วินันท์สุชาติ
Advisors: เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Aimutcha.W@chula.ac.th
Subjects: เทควันโด
สมรรถภาพทางกาย
การออกกำลังกาย
นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
Tae kwon do
Physical fitness
Exercise
Junior high school students
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลของการฝึกท่ารำพุมเซ่ร่วมกับท่าต่อสู้เคียรูกิในกีฬาเทควันโดที่มีต่อสมรรถภาพทางกาย เพื่อสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้การฝึก 8 สัปดาห์ๆ ละ 3 วันๆ ละ 1 ชม. ทดสอบสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ 5 รายการ ดังนี้ค่าดัชนีมวลกายการทดสอบความอดทนของกล้ามเนื้อท้อง โดยการทดสอบ ลุก-นั่ง 60 วินาที ทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนและกล้ามเนื้อส่วนบนของร่างกาย โดยการทดสอบดันพื้น 30 วินาที การทดสอบความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อหลังและต้นขาด้านหลัง โดยการทดสอบนั่งงอตัวไปด้านหน้า การทดสอบความอดทนของระบบหายใจและระบบไหลเวียนโลหิต วิ่งระยะไกล ทดสอบก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ตามวิธีทางสถิติ โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ ถ้าพบความแตกต่าง จะใช้การทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีของแอล เอส ดี โดยทดสอบความนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังการฝึก 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการลุกนั่งสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) หลังการฝึก 4 สัปดาห์ และ 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการดันพื้นสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ก่อนการฝึก หลังการฝึก 4 สัปดาห์และ 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความอ่อนตัวและดันพื้นสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ก่อนการฝึกกับหลังการฝึก 4 สัปดาห์ ก่อนการฝึกกับหลังการฝึก 8 สัปดาห์และหลังการฝึก 4 สัปดาห์กับหลังการฝึก 8 สัปดาห์ ของกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการลุกนั่งและความอ่อนตัว แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) ก่อนการฝึกกับหลังการฝึก 8 สัปดาห์คะแนนเฉลี่ยของผลการทดสอบวิ่งระยะไกลของกลุ่มทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: To study the effects of poomsae with kyoruki training taekwondo upon health-related physical fitness of lower secondary school students. Subjects were trained three days per week for eight weeks before training, at the end of the fourth and eighth weeks. They were tested and evaluated with the health-related physical fitness tests in 5 item which consisted of bodymass index measurement, sit-up test for 60 seconds, push-up test for 30 seconds, sit and reach and distance run. The data were then analyzed in terms of mens, standard deviation, t-test, one-way analysis of varience with repeated measures, and LSD was also employed to determine the significant different at .05 level. The results were as follows: 1) They were tested and evaluated with the health-related physical fitness tests in the item of sit-up test result were significantly different than the mean scores of the control group at the .05 level. 2) After 4 and 8 weeks, the mean scores of the experimental group higher than control group in the item of push-up test result. 3) Before training, after 4 and 8 weeks, the means scores of the experimental group in the items of flexibility and strength test results were significantly highr than the means scores of the control group at ther .o5 level. 4) Before and after 4 week training, before and after 8 weeks training, and after 4 and 8 week training; the mean scores of the experimental group in the items of sit-up and sit and reach test results were significantly different at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขศึกษาและพลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36059
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1047
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1047
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
prasertsak_wi.pdf1.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.