Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3613
Title: | Effects of astaxanthin and vitamin a supplementation on growth, survival and low salinity tolerance of Penaeus monodon larvae |
Other Titles: | ผลของการเสริมแอสทาแซนทินและวิตามินเอที่มีต่อการเติบโต การรอด และความทนต่อความเค็มต่ำของกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon วัยอ่อน |
Authors: | Rungjit Yoddee |
Advisors: | Somkiat Piyatiratitivorakul Piamsak Menasveta |
Advisor's Email: | piamsak@sc.chula.ac.th, Piamsak.M@Chula.ac.th |
Subjects: | Vitamin A Penaeus monodon--Growth Astanxanthin |
Issue Date: | 2004 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | Penaeus monodon larvae (zoea, mysis, and postlarvae) were fed 9 different diets consisting three levels of astaxanthin (0, 200, and 500 ppm) and three levels of vitamin A (0, 20,000, and 40,000 IU/kg) combinations. The experiment was 3x3 factorials in completely randomized design with three replicates. The diets were formulated from raw natural materials with mean protein and lipid levels of 50 and 11%, respectively. The results showed that, there was a significant interaction between astaxanthin and vitamin A on survival and growth of zoea, mysis, and postlarval P. monodon. The interaction also found on 50%cumulative mortality of the postlarvae after a low salinity stress test. At 0 ppm astaxanthin, zoea shrimp fed diet without additional astaxanthin and vitamin A was significantly higher survival and specific growth rate than shrimp fed the other diets (P<0.05). At 200 ppm astaxanthin, zoea shrimp fed diet with additional 20,000 IU/kg vitamin A hadhigher significant survival rate than shrimp fed the other vitamin A levels (P<0.05). However, it was not difference significantly of specific growth rate of all treatments. At 500 ppm astaxanthin, the survival rate and specific growth rate of zoea shrimp fed diet with additional only 500 ppm astaxanthin were higher than shrimp fed the other diets. Survival rate of mysis shrimp fed diet without astaxanthin and vitamin A was higher than the shrimp fed other diets. At 200 ppm astaxanthin, the results showed that survival rate of mysis shrimp fed diet containing 200 ppm astaxanthin with additional 20,000 IU/kg vitamin A had higher than the other groups. At 500 ppm astaxanthin, shrimp fed diet only 500 ppm astaxanthin was the highest survival rate than shrimp fed the other diets (P<0.05). However, specific growth rates were no significant difference in all diets. At 0 ppm astaxanthin, postlarval shrimp received diet with additional 20,000 IU/kg vitamin A was significant higher survival rate than shrimp fed the other diets. However, the highest specific growth rate and CM[subscript 50] were found on shrimp fed diet with no additional astaxanthin and vitamin A. At 200 ppm astaxanthin, postlarvae fed diet with additional 20,000 IU/kg vitamin A gave the better survival rate and specific growth rate than larvae fed the other diets. However, shrimp fed diet without additional astaxanthin and vitamin A had higher CM[subscript 50] than the other diets. At 500 ppm astaxanthin, the results showed that shrimp fed diet with only 500 ppm astaxanthin had the best survival rate, specific growth rate, and CM[subscript 50]. The astaxanthin and vitamin A content of shrimp after acquiring different astaxanthin and vitamin A levels, the results indicated that amount of astaxanthin and vitamin A accumulation positively related to astaxanthin and vitamin A in the diets. |
Other Abstract: | เลี้ยงกุ้งกุลาดำวัยอ่อน 3 ระยะ (ซูเอี้ย ไมซิส และโพสลาร์วา) ด้วยอาหารทดลอง 9 สูตร มีแอสทาแซนทิน 3 ระดับ (0 200 และ 500 ส่วนในล้านส่วน) และวิตามิน เอ 3 ระดับ (0 20,000 และ 40,000 ไอยูต่อกิโลกรัม) วางแผนการทดลองแบบ CRD 3x3 factorials design ทำการทดลอง 3 ซ้ำ อาหารทดลองทุกสูตรมีระดับโปรตีนและไขมันใกล้เคียงกันคือ 50 และ 11 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ พบว่าอาหารเสริมแอสทาแซนทินและวิตามินเอทุกระดับมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันต่อการเติบโต การอดและความทนต่อความเครียดในรูปการตายสะสม (CM[subscript 50]) ของกุ้งวัยอ่อนระยะซูเอี้ย ไมซิส และโพสลาร์วา ระยะซูเอี้ย ที่ระดับแอสทาแซนทิน 0 ส่วนในล้านส่วน กุ้งวัยอ่อนที่ได้รับอาหารที่ไม่มีการเสริมวิตามินเอ มีอัตรรอดและอัตราการเติบโตจำเพาะสูงกว่ากุ้งวัยอ่อนที่ได้รับการเสริมวิตามินเอที่ระดับต่างๆ อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับแอสทาแซนทิน 200 ส่วนในล้านส่วน พบว่ากุ้งวัยอ่อนที่ได้รับอาหารเสริมแอสทาแซนทิน 200 ส่วนในล้านส่นร่วมกับวิตามินเอ20,000 ไอยูต่อกิโลกรัม มีอัตรารอดสูงกว่ากุ้งวัยอ่อนที่ได้รับอาหารสูตรอื่นอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) อย่างไรก็ตามไม่มีความแตกต่างของอัตราการเติบโตจำเพาะในกุ้งที่ได้รับอาหารสูตรต่างๆ ที่ระดับแอสทาแซนทิน 500 ส่วนในล้านส่วน กุ้งวัยอ่อนที่ได้รับอาหารเสริมแอสทาแซนทิน 500 ส่วนในล้านส่วนเพียงอย่างเดียว มีอัตรารอดและอัตราการเติบโตจำเพาะสูงสุด ระยะไมซิส ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของอัตราการเติบโตจำเพาะของกุ้งวัยอ่อนที่ได้รับแอสทาแซนทินร่วมกับวิตามินเอในทุกระดับ ที่ระดับแอสทาแซนทิน 0 ส่วนในล้านส่วน กุ้งวัยอ่อนที่ไม่ได้รับการเสริมแอสทาแซนทินและวิตามินเอ มีอัตรารอดสูงสุด ที่ระดับแอสทาแซนทิน 200 ส่วนในล้านส่วน อัตรารอดของกุ้งวัยอ่อนที่ได้รับแอสทาแซนทิน 200 ส่วนในล้านส่วนร่วมกับวิตามินเอ 20,000 ไอยูต่อกิโลกรัมมีค่าสูงกว่ากุ้งวัยอ่อนที่ได้การเสริมวิตามินเอระดับอื่นอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับแอสทาแซนทิน 500 ส่วนในล้านส่วน พบว่าการเสริมแอสทาแซนทินเพียงอย่างเดียวในระดับนี้ ส่งผลให้กุ้งวัยอ่อนมีอัตรารอดสูงกว่าการเสริมร่วมกับวิตามินเออย่างมีนัยสำคัญ ระยะโพสลาร์วา ที่ระดับแอสทาแซนทิน 0 ส่วนในล้านส่วน กุ้งวัยอ่อนที่ได้รับแอสทาแซนทินร่วมกับวิตามินเอ 20,000 ไอยูต่อกิโลกรัมมีอัตรารอดสูงสุด ในขณะที่อัตราการเติบโตจำเพาะและ CM[subscript 50] สูงสุด พบในกุ้งวัยอ่อนที่ไม่มีการเสริมแอสทาแซนทินร่วมกับวิตามินเอ ที่ระดับแอสทาแซนทิน 200 ส่วนในล้านส่วน กุ้งวัยอ่อนที่ได้รับแอสทาแซนทินร่วมกับวิตามินเอ 20,000 ไอยูต่อกิโลกรัม มีอัตรารอดและอัตราการเติบโตจำเพาะสูงกว่ากุ้งวัยอ่อนที่ได้รับการเสริมวิตามินเอระดับอื่นอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม ค่า CM[subscript 50] สูงสุด (21.84 +-7.39 นาที) พบในกุ้งวัยอ่อนที่ไม่ได้รับการเสริมแอสทาแซนทินและวิตามินเอ ที่ระดับแอสทาแซนทิน 500 ส่วนในล้านส่วน กุ้งวัยอ่อนที่ไม่มีการเสริมแอสทาแซนทินร่วมกับวิตามินเอมีค่าอัตรารอด อัตราการเติบโตจำเพาะ และค่า CM[subscript 50] สูงสุด ปริมาณแอสทาแซนทินและวิตามินเอที่สะสมในกุ้งระยะโพสลาร์วา 15 พบว่าการสะสมของสารเหล่านี้มีความสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณของสารที่กุ้งได้รับจากอาหาร |
Description: | Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2004 |
Degree Name: | Master of Science |
Degree Level: | Master's Degree |
Degree Discipline: | Biotechnology |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3613 |
ISBN: | 9741762119 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Rungjt.pdf | 907.36 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.