Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36152
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วัณณศรี สินธุภัค | - |
dc.contributor.advisor | จงกลนี วงศ์ปิยะบวร | - |
dc.contributor.author | จิตรลดา มีพันแสน | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2013-10-14T12:50:28Z | - |
dc.date.available | 2013-10-14T12:50:28Z | - |
dc.date.issued | 2551 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36152 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 | en_US |
dc.description.abstract | ความสำคัญและที่มาของการวิจัย: Interleukin-17 (IL-17) และ Interleukin-22 (IL-22) เป็น effector cytokines ของ T-helper 17 (Th-17) ทำให้เกิดกระบวนการอักเสบรวมถึงการแบ่งตัวที่ผิดปกติของ keratinocytes ในโรคสะเก็ดเงิน Methotrexate จัดเป็นยาตัวแรกที่ใช้ในการรักษาโรคสะเก็ดเงินที่มีความรุนแรงปานกลางขึ้นไป ซึ่งยา Methotrexate นั้นมีหลายกลไกในการกดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน แต่ยังไม่มีหลักฐานว่า Methotrexate สามารถลดการสร้าง Th-17 cytokines ได้ วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบระดับ serum IL-17 และ IL-22 ในผู้ป่วย Moderate to severe plaque type psoriasis ก่อนและหลังได้รับยา Methotrexate วิธีการศึกษา: ศึกษาในผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินที่มี Psoriasis area severity index (PASI) score มากกว่าหรือเท่ากับ 10 จำนวน 19 คน โดยให้ Methotrexate 15 mg ต่อสัปดาห์เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ เจาะเลือดเพื่อวัดระดับซีรั่ม IL-17 และ IL-22 โดยวิธี enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA, R&D Systems, Minneapolis, MN, USA) ก่อนและหลังการรักษา ผลการศึกษา: ผู้ป่วย 11 คนจาก 19 คน มีระดับ PASI score ลดลงมากกว่า 75% ระดับซีรั่ม IL-22 ในผู้ป่วยสะเก็ดเงิน [56.63±60.73 pg/ml] แตกต่างจากกลุ่มควบคุม [12.58±12.59 pg/ml] อย่างมีนัยสำคัญ ระดับซีรั่ม IL-22 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญหลังจากได้รับยา Methotrexate [z=3.5, P<0.001] พบความสอดคล้องกันระหว่างระดับ PASI score และระดับ IL-22 ในซีรั่ม [r=0.63, p=0.004] ระดับซีรั่ม IL-17 พบในผู้ป่วยเพียง 2 คน (10.53%) แต่ไม่พบไซโตไคน์ดังกล่าวในกลุ่มควบคุม และไม่พบความแตกต่างของระดับซีรั่ม IL-17 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ [p=0.142] และไม่สามารถตรวจพบ IL-17 ในซีรั่มผู้ป่วยหลังการรักษา สรุปผลการศึกษา: กลไกกดการทำงานของระบบ T helper-17 น่าจะเป็นกลไกสำคัญอีกกลไกหนึ่งของการทำงานของยา Methotrexate ในการรักษาโรคสะเก็ดเงิน IL-22 น่าจะเป็น biomarker ที่ดีตัวหนึ่งสำหรับประเมินการตอบสนองของโรคสะเก็ดเงินต่อการรักษาด้วยยา Methotrexate ในผู้ป่วยไทย | en_US |
dc.description.abstractalternative | Background: Interleukin-17 (IL-17) and Interleukin-22(IL-22) are effector molecules of T-helper 17 (Th-17) Lineage that responsible for pro-inflammation and keratinocytes proliferation in psoriasis. Methotrexate has been widely used as first-line treatment in moderate to severe psoriasis. Methotrexate has many mechanisms to inhibit inflammatory responses. But no evidence has shown that methotrexate is able to downregulate Th17 cytokines. Objective: To compare serum levels of IL-17 and IL-22 in patients with moderate to severe plaque type psoriasis before and after treatment with metrotrexate Methos: Nineteen patients with Psoriasis Area Severity index (PASI) score ≥ 10 were given methotrexate 15 mg per week up to 12 weeks. Clot blood for measurement of IL-17 and IL-22 by enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA: R&D Systems, Minneapolis, MN, USA) was taken before and after treatment. Results: Eleven of 19 patients [57.8%] achieved 75% PASI score reduction. IL-22 levels were significantly higher in psoriasis patients [56.63±60.73 pg/ml] than in controls [12.58±12.59 pg/ml]. Methotrexate significantly reduced IL-22 levels after therapy [Z=3.5, p<0.001]. A significant positive correlation between IL-22 and PASI was found [r=0.63, p=0.004]. Serum IL-17 level was detected in 2 patients (10.53%) but not in controls. No statistical difference in IL-17 levels between both groups [p=0.142]. No serum IL-17 level was found after treatment. Conclusion: Downregulate Th17 cytokines is one possible mechanisms of therapeutic efficacy of methotrexate in psoriasis. IL-22 is possible to be a good biomarker for assessment psoriasis clinical response to methotrexate in Thai populations. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.694 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | โรคสะเก็ดเงิน | en_US |
dc.subject | เมตโทรเทรกเซต | en_US |
dc.subject | Psoriasis | en_US |
dc.subject | Mathotrexate | en_US |
dc.title | ผลของยาเมตโทรเทรกเซตต่อระดับซีรั่มอินเตอร์ลิวคิน 17 และ อินเตอร์ลิวคิน 22 ในผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินชนิดพลาคที่มีความรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก | en_US |
dc.title.alternative | Effect of mathotrexate on the serum levels of Interleukin-17 and Interleukin-22 in patients with moderate to severe plaque-type psoriasis | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | อายุรศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Wannasri.S@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | fmedjup@md2.md.chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2008.694 | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
jitlada_me.pdf | 9.9 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.