Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36163
Title: แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิผลกิจกรรมทางเศรษฐกิจของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
Other Titles: Learning enhancement guidelines to increase the effectiveness of economic activities of saving for production groups
Authors: ณัฏฐ์ หลักชัยกุล
Advisors: จรูญศรี มาดิลกโกวิท
เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
fuangarun.p@chula.ac.th
Subjects: เศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
Economics -- Study and teaching
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และสภาพการเรียนรู้การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ 2) วิเคราะห์ประสิทธิผลกิจกรรมทางเศรษฐกิจ 3) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิผลกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และ 4) นำเสนอแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิผลกิจกรรมทางเศรษฐกิจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตจำนวน 426 กลุ่มใน 20 จังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และกรณีศึกษากลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จำนวน 4 กลุ่มในจังหวัดชัยภูมิ กาฬสินธุ์ นครราชสีมา และอุบลราชธานี เก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตโดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตมีเงินฝากสัจจะสะสมลดน้อยลง เพราะจำนวนสมาชิกฝากเงินไม่เพิ่มขึ้น และมีจำนวนเงินให้กู้ยืมลดลง และไม่เพียงพอกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นมาก สวัสดิการด้านฌาปนกิจสงเคราะห์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ศูนย์สาธิตการตลาด ยุ้งฉาง และธนาคารข้าวมีจำนวนลดน้อยลง การเรียนรู้การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่มีลักษณะแบบไม่เป็นทางการ เป็นการเรียนรู้ในวิถีชีวิตที่เกิดขึ้นภายในชุมชน ส่งผลให้เกิดการพัฒนาศักยภาพผู้นำ แต่ขาดกระบวนการเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิผลกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เช่น การจัดทำระบบบัญชี และทักษะการบริหารจัดการ ในภาพรวมกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตมีประสิทธิผลกิจกรรมทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 40.6 มีประสิทธิผลอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 17.1 และมีประสิทธิผลต่ำ ร้อยละ 10.8 หากพิจารณาตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ พบว่า กิจกรรมการออมเพื่อการผลิต และการจัดสวัสดิการมีประสิทธิผลสูงที่สุด ส่วนการส่งเสริมอาชีพมีประสิทธิผลต่ำที่สุด ในภาพรวมปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิผลอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยด้านบรรยากาศ และสภาพแวดล้อมส่งผลต่อการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาได้แก่ ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ และระเบียบข้อบังคับกลุ่ม ส่วนปัจจัยด้านการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกส่งผลต่อการเรียนรู้น้อยที่สุด แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิผลกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ส่งเสริมการมีสัจจะ อบรมอาชีพ และจัดสวัสดิการให้ครอบคลุมการเกิด แก่ เจ็บ และตาย จัดการเรียนรู้เนื้อหากิจกรรมทางเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับความต้องการ และวิถีชีวิต เป็นผู้เอื้ออำนวยการเรียนรู้ และส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ภายในกลุ่ม ให้ความสำคัญกับสภาพวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และภูมิปัญญาชาวบ้าน
Other Abstract: The objectives of this research are for: 1) studying the status and learning status of the economic activities implementation; 2) analyzing the effectiveness of economic activities; 3) analyzing the factors which affect the learning for increasing the effectiveness of economic activities; and 4) proposing the learning enhancement guidelines for increasing the effectiveness of economic activities. The samplings are 426 Saving for Production Groups (SPGs) in 20 provinces of Northeastern area, and 4 case studies of SPGs in Chaiyaphum, Kalasin, Nakhonratchasima and Ubonratchathani. The data is collected from SPGs by using questionnaires, interview and group discussion. The data analyses are done by Descriptive Statistics and Content Analysis. The research results found that SPGs had the lessened Trusted Saving caused by no addition of saving members and the lessened loans to serve the needs which increased in numbers; the welfare of cremation help was increased; the Marketing Demonstration Centres, rice storages, and rice banks were lessened in numbers. Most of the economic activities implementation learning was informal. The learning was in the ways of life and occurred in their communities. These affected the leader potential development, but lack of learning process for increasing the effectiveness of economic activities such as accounting system and management skills. Overall, 40.6 % of SPGs could implement effectiveness of economic activities in the average level; 17.1 % of them in high level and 10.8 % of them in low level. To be considered by economic activities, they were found that Saving for Production Activities and Security Provision were highest. The effectiveness of Occupation Promotion was the lowest. Overall, factors which affected the learning for increasing the effectiveness were in average level. The atmosphere and environment factors affected the learning were highest. Followed by the factors in management and group regulations which were in the little lower levels. The supporting factors from the external organizations were the least effectiveness to the learning. The learning enhancement guidelines for increasing the effectiveness of economic activities were: the enhancement of trust, occupation training, and security provision which should cover the birth, elderly, illness and death. The learning provision, in content about economic activities, should be related to the needs and ways of life, promote the learning organizers and enhance learning process. The culture, local history and wisdom should be considered to be significant with groups.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: พัฒนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36163
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1573
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1573
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nat_lu.pdf5.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.