Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36166
Title: | การจัดการโรงอาหารเพื่อการสวัสดิการ กรณีศึกษาโรงอาหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Other Titles: | Management for Welfare Canteen : Case Study Chulalongkorn University |
Authors: | นุชจรีย์ สมบัตินา |
Advisors: | ไตรวัฒน์ วิรยศิริ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | vtraiwat@chula.ac.th |
Subjects: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -- บริการอาหาร สถาบันอุดมศึกษา -- สิ่งอำนวยความสะดวก -- การวางแผน ศูนย์อาหาร -- การจัดการ บริการอาหาร -- การจัดการ Chulalongkorn University -- Food service College facilities -- Planning Food courts -- Management Food service management |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย ปัจจุบันจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถือได้ว่าเป็นสถาบันการศึกษาขนาดใหญ่ตั้งอยู่ใจกลางย่านธุรกิจ มีจำนวนนิสิต คณาจารย์ และบุคลากรเป็นจำนวนมาก โรงอาหารในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงเป็นโรงอาหารที่ต้องรองรับผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน จึงถือได้ว่าเป็นสถานที่หนึ่งที่มีความสำคัญ หากไม่ได้รับการจัดการที่ดีก็จะส่งผลเสียต่อสุขภาพของนิสิต คณาจารย์ และบุคลากรในระยะยาว การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและรูปแบบการจัดการโรงอาหารภายในจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย เพื่อเสนอแนะแนวทางการจัดการโรงอาหารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยใช้วิธีการ สังเกตการณ์ สำรวจ สัมภาษณ์ และสืบค้นจากข้อมูลเอกสาร จากกรณีศึกษาทั้ง 9 แห่ง ได้แก่ โรงอาหารรวมอาคารมหิตลาธิเบศร โรงอาหารรวมอาคารจุลจักรพงษ์ โรงอาหารรวมอาคารพินิตประชานารถ โรงอาหารรวมสำนักงานมหาวิทยาลัย โรงอาหารรวมอาคารจุฬาพัฒน์ 9 โรงอาหารหอพักนิสิต โรงอาหารคณะทันตแพทยศาสตร์ โรงอาหารคณะรัฐศาสตร์ โรงอาหารคณะวิศวกรรมศาสตร์ จากการศึกษาพบว่าโรงอาหารกรณีศึกษามีลักษณะทางกายภาพของโรงอาหารที่เป็นโรงอาหารเฉพาะสูง 1-2 ชั้น และโรงอาหารที่ตั้งอยู่ใต้อาคารมีทั้งแบบเปิดโล่งและมีผนังกั้น ส่วนงานระบบประกอบอาคาร ได้แก่ ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ระบบสุขาภิบาล และระบบระบายอากาศ การจัดการโรงอาหารปัจจุบันพบว่ามี 2 รูปแบบคือ รูปแบบที่ 1 ส่วนงานบริหารและจัดการ ดำเนินการโดยหน่วยงานภายในงานปฎิบัติการเป็นแบบผสมทั้งหน่วยงานภายในและจัดจ้างบริษัทภายนอก รูปแบบที่ 2 ให้บริษัทภายนอกเพียงรายเดียวเช่าพื้นที่และบริหารจัดการทั้งหมด การศึกษานี้ทำให้เข้าใจว่าปัจจุบันโรงอาหารที่มีการดำเนินการในรูปแบบที่ 1 พบปัญหามากกว่าในแบบที่ 2 ทั้งนี้พบว่าด้วยนโยบายของมหาวิทยาลัยในการดำเนินการด้านการบำรุงรักษาและงานบริการในโรงอาหารเช่น งานทำความสะอาด งานกำจัดขยะ เป็นภาระของร้านค้าทั้งการจัดการ และค่าใช้จ่าย ซึ่งร้านค้าแต่ละที่ก็มีการจำหน่ายอาหารได้มากน้อยไม่เท่ากัน ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนในการจัดการแบบที่ 2 พบว่าเป็นการดำเนินการภายใต้บริษัทภายนอกเพียงเจ้าเดียวในการจัดการ ควบคุม ดูแล ทั้งหมดทำให้ง่ายต่อการดำเนินการให้เป็นไปตามคุณภาพที่คณะต้องการ แต่ทั้งนี้ราคาอาหารก็สูงกว่าโรงอาหารที่มีการจัดการแบบที่ 1 เนื่องจากต้นทุน ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการดังกล่าวสูงกว่าในแบบที่ 1 ดังนั้นจึงขอเสนอแนะ สำหรับการจัดการในแบบที่ 1 หากมหาวิทยาลัยต้องการให้โรงอาหารมีคุณภาพและ ประสิทธิภาพในการให้บริการที่ดีขึ้น โดยยังคงนโยบายให้ร้านค้าจำหน่ายอาหารในราคาประหยัด ทางมหาวิทยาลัยควรมีการพิจารณาในเรื่องของนโยบายในการดูแลโรงอาหารทั้งส่วนงานบำรุงรักษา และงานบริการ ควรเป็นภาระหน้าที่ของมหาวิทยาลัย ในการรับผิดชอบการดำเนินการจัดหา และด้านต้นทุน ค่าใช้จ่าย เพื่อให้สามารถกำหนดคุณภาพที่ต้องการให้เป็นไปในมาตรฐานเดียวกันได้ และทางมหาวิทยาลัยควรมีการควบคุม ติดตามการดำเนินงานอย่างเคร่งครัด เพื่อให้โรงอาหารสามารถตอบสนองการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น |
Other Abstract: | The first institution for higher education in Thailand, chulalongkorn University (CU) is a large university located in a central bsuiness area with a great number of students, faculty members and personnel. As a result, the canteens on the CU campus must function as food service provders for a substantal number of consumers each day. They are important to the univrsity as, if not well managed, it could have a detrimental effect on the health of the students, faculty members and personnel as a whole. The purpose of this research is to study the current conditions of the canteens and their form of management in order to make recommendations for improvement. This was done through the methods of observaton, survey, interview and a documentary data search of 9 CU canteens: the Mahittalathibet Building's common canteen, the Chulachakrabongse Building's common canteen, the Pinitprachanart Building's common canteen, the University Offce's common canteen, Chula Phat 9's common canteen, the Students' Dormitory canteen, the Faculty of Dentistry's canteen, the Faculty of Political Science's canteen, and the Faculty of Engineerng's canteen. The findings show that the physical aspects of the cantens in the case study are of two types: in the form of a 1-2 storey building and an open area with partitioned dividers. As for the buildings' infrastructure systems, they consist of lighting, sanitaton and air-ventilation systems. The canteens' management takes two forms: the first involves internal units operating together with external outsourced companies while the second is a single external outsourced company leasing the whole area and supplying their own management . The study reveals that the first method has more problems than the second because of the inability of different stalls with unequal revenues to operate efficiently under the university's policy concerning the canteen's maintenance and services such as obligations regarding overall management and expenses of cleaning and waste disposal. It is easier for a single external company to manage, control, and supervise in accordance with the requirments of the faculty: however, food prices are higher than under the first method ude to higher costs and expenses of operation. If the university wants to have quality canteens with more efficient services while maintaining the policy of having the stalls that sell food at a low price, it should consider adopting a policy of overseeing canteen operaton covering both maintenance work and service work. In addition, the university should have strict control over the canteens and ensure they operate according to standards and function with more efficiency and better quality. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สถาปัตยกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36166 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1120 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.1120 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
nuchjaree_so.pdf | 7.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.