Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36177
Title: | การกำหนดราคาไบโอดีเซลที่ผลิตจากน้ำมันปาล์ม |
Other Titles: | Price determination of biodiesel from palm oil |
Authors: | จิตตินันท์ อภิญญานนท์ |
Advisors: | จูน เจริญเสียง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | June.N@Chula.ac.th |
Subjects: | เชื้อเพลิงไบโอดีเซล น้ำมันปาล์ม Biodiesel fuels Palm oil |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกำหนดส่วนต่างระหว่างราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็วกับราคาขายปลีกไบโอดีเซลB5 ที่เหมาะสม โดยศึกษาถึงปัจจัยที่กำหนดปริมาณการใช้ไบโอดีเซลB5 และปัจจัยที่ส่งผลกับราคาน้ำมันปาล์มดิบในประเทศ ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตไบโอดีเซล โดยพบว่าราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วและจำนวนสถานีจำหน่ายไบโอดีเซลB5 มีผลต่อปริมาณการใช้ไบโอดีเซลB5 ในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญ และส่วนต่างราคาขายปลีกมีผลในทิศทางเดียวกันเช่นกันแม้ไม่มีนัยสำคัญก็ตาม นอกจากนี้ยังพบว่าราคาน้ำมันถั่วเหลืองและปริมาณการใช้ไบโอดีเซลB100 มีผลต่อราคาน้ำมันปาล์มดิบในประเทศในทิศทางเดียวกัน ในขณะที่ผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบมีผลต่อราคาน้ำมันปาล์มดิบ ในประเทศในทิศทางตรงข้ามอย่างมีนัยสำคัญ ถ้ากำหนดให้ส่วนต่างราคาขายปลีกเพิ่มขึ้นจะมีผลทำให้ปริมาณการใช้ไบโอดีเซลและราคาน้ำมันปาล์มดิบในประเทศสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อต้นทุนการผลิตไบโอดีเซลได้ในที่สุด ดังนั้นส่วนต่างราคาขายปลีกที่เหมาะสมต้องทำให้รัฐบาลและผู้ค้าน้ำมันสูญเสียเงินภาษี เงินส่งเข้ากองทุน และค่าการตลาดในการอุดหนุนไม่เกินกว่าผลประโยชน์ภายนอกที่จะได้รับจากการใช้ ไบโอดีเซลB5 แทนน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว เมื่อศึกษากรณีนโยบายราคาขายปลีกไบโอดีเซลB5ในเดือนธันวาคม 2550 พบว่าควรกำหนดราคาขายปลีกไบโอดีเซลB5 ให้ต่ำกว่าน้ำมันดีเซลหมุนเร็วไม่เกิน 0.60 บาท/ลิตร ส่วนในปี2551 ทั้งกรณีไม่มีการบังคับใช้ไบโอดีเซลB2 และกรณีมีการบังคับใช้ไบโอดีเซลB2 แทนน้ำมันดีเซลหมุนเร็วทั่วประเทศ พบว่ารัฐบาลควรกำหนดส่วนต่างราคาขายปลีกไม่เกิน 0.60 บาท/ลิตร และ 0.40 บาท/ลิตร ตามลำดับ แต่ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการเปรียบเทียบกับผลประโยชน์ภายนอกขั้นต่ำทางด้านสิ่งแวดล้อมเท่านั้น ซึ่งยังไม่ได้รวมผลประโยชน์ภายนอกด้านอื่นๆที่คำนวณเป็นตัวเงินได้ยาก ดังนั้นรัฐบาลอาจกำหนดส่วนต่างราคาขายปลีกให้มากกว่านี้ได้ ถ้าพิจารณาผลประโยชน์ภายนอกด้านอื่นร่วมด้วย แต่ต้องคำนึงถึงราคาน้ำมันปาล์มดิบในประเทศที่อาจจะสูงขึ้นได้ นอกจากนี้ ด้านผลผลิตปาล์มน้ำมัน เกษตรกรยังคงมีปัญหาในการปลูกปาล์ม เช่น ความผันผวนในราคารับซื้อผลปาล์ม การเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิต และการขาดปาล์มพันธุ์ดีที่มีอัตราน้ำมันสูง |
Other Abstract: | The main objective of this study is to determine the optimal gap between retail price of diesel and that of biodiesel B5. The study also investigates the determinants of the consumption of biodiesel B5 and the determinants of the domestic price of crude palm oil, which is the major input of the biodiesel production. It is found that diesel price, the number of biodiesel B5 gas stations have positive significant impacts while the retail price gap has a positive but insignificant impact on biodiesel B5 consumption. Besides, the crude palm oil price model indicates that soybean oil price and biodiesel B100 consumption have positive significant impacts but domestic crude palm oil production has a negative significant impact. When the government increases the retail price gap, biodiesel consumption and the crude palm oil price will go up. A rise in the crude palm oil price results in an increase in biodiesel cost. Afterwards, the government and oil companies have to subsidize the incremental cost of biodiesel in order to keep its price at the determined level. Therefore, the optimal gap should, at least, make external benefits from biodiesel outweigh the subsidy. This study finds that in December 2007, the optimal retail price gap should not exceed 0.60 baht / liter. In cases of year 2008 without and with the substitution of diesel by biodiesel B2, the optimal gaps should not exceed 0.60 baht / liter and 0.40 baht / liter respectively. However, the external impacts referred in this study include only environmental benefits. Practically, if the government intends to wider the retail price gap, it should consider other external impacts, especially the rise in domestic crude palm oil price. In addition, agricultural sector now encounters oil palm price fluctuations, rising costs and low crude palm oil extraction rate. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เศรษฐศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36177 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.69 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.69 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Econ - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jittinan_ap.pdf | 1.93 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.