Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36217
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอวยพร เรืองตระกูล-
dc.contributor.authorพรรณทิพา บัวคำ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2013-10-16T09:00:34Z-
dc.date.available2013-10-16T09:00:34Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36217-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractวิเคราะห์ประสิทธิภาพการให้บริการทางการศึกษาของห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ วิเคราะห์ปัจจัยในการเพิ่มประสิทธิภาพของห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ โดยใช้โมเดลประสิทธิภาพขั้นต้น และโมเดลประสิทธิภาพขั้นปลายด้วยการวิเคราะห์วางกรอบข้อมูล ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ในโมเดลประสิทธิภาพขั้นต้น คือ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ จำนวน 24 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล คือ เจ้าหน้าที่ห้องสมุด โดยอัตราการตอบกลับของเจ้าหน้าที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ ทั้งหมด 24 แห่ง คิดเป็น ร้อยละ 100.00 เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือ แบบบันทึกข้อมูล ส่วนประชากรที่ใช้ในโมเดลประสิทธิภาพขั้นปลาย คือ นิสิต นักศึกษา ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ จำนวน 24 แห่ง กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิต นักศึกษา ของมหาวิทยาลัยของรัฐ ได้จากการสุ่มอย่างง่ายจำนวน 707 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์วางกรอบข้อมูล (Data Envelopment Analysis) โดยใช้โปรแกรม Frontier Analyst ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการให้บริการทางการศึกษาของห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐในโมเดลประสิทธิภาพขั้นต้น มีห้องสมุดที่มีประสิทธิภาพจำนวน 21 แห่ง (ค่าประสิทธิภาพ 100.00%) และด้อยประสิทธิภาพจำนวน 3 แห่ง (ค่าประสิทธิภาพระหว่าง 64.29%-82.31%) ส่วนผลการวิเคราะห์โมเดลประสิทธิภาพขั้นปลาย มีห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐที่มีประสิทธิภาพจำนวน 18 แห่ง (ค่าประสิทธิภาพ 100.00%) และด้อยประสิทธิภาพจำนวน 6 แห่ง (ค่าประสิทธิภาพระหว่าง 70.80% -95.18%) 2. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยในการเพิ่มประสิทธิภาพของห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐนำเสนอโดยใช้รูปแบบการเพิ่มผลผลิตในโมเดลประสิทธิภาพขั้นต้น พบว่า ผลผลิตที่ควรเพิ่มมากที่สุด ได้แก่ จำนวนสมาชิก รองลงมาเป็น จำนวนวารสารโสตทัศนวัสดุและทัศนูปกรณ์ที่เพิ่มเข้ามาใหม่ต่อปี และจำนวนการใช้บริการยืมคืนระหว่างห้องสมุดต่อเดือน สำหรับโมเดลประสิทธิภาพขั้นปลาย ผลผลิตที่ควรเพิ่มมากที่สุด คือ ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในด้านทรัพยากรสารสนเทศ รองลงมาคือ ความพึงพอใจด้านการสืบค้น และความพึงพอใจด้านสถานที่ และด้านผู้ให้บริการen_US
dc.description.abstractalternativeAnalyzes the efficiency of the education services of public universities’ libraries. Analyzes the factors enhancing the efficiency of public universities’ libraries by using basic and advance efficient models by the data envelopment analysis. For the basic efficient model, the population of the research was 24 public universities’ libraries and the informants were library officers. From the data record forms, the response rate of library officers of 24 public universities’ libraries was at 100.00%. For the advance efficient model, the population was students of public universities’ libraries and, with the simple random sampling method from 707 returned questionnaires, The Data Envelopment Analysis was conducted by the Frontier Analyst Program. The research results are summarized as follows. 1. With regard to the efficient analysis by the basic model of the data envelopment analysis, 21 public universities’ libraries were efficient (Efficient Level of 100%) and 3 public universities’ libraries were low efficient (Efficient Level between 64.29%- 82.31%). With regard to the efficient analysis by the advance model of the data envelopment analysis, 18 public universities’ libraries were efficient (Efficient Level at 100.00%) and 6 public universities’ libraries were low efficient (Efficient Level between 70.80%- 95.18%).2. From the analysis of factors enhancing the efficiency of public universities’ libraries by the production concept with the basic model, it was found that the factors which should enhance the most were the number of members, followed by the number of new journals and audio-visual materials per year, and the number of circulation services. With the advance model, the factors which should enhance the most were the customer satisfaction on information technology resources, followed by the retrieval satisfaction and the last one was the satisfaction on location and service providers, respectively.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.719-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา -- ไทยen_US
dc.subjectบริการสารสนเทศ -- การควบคุมคุณภาพen_US
dc.subjectAcademic libraries -- Thailanden_US
dc.subjectInformation services -- Quality controlen_US
dc.titleประสิทธิภาพการให้บริการห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ : การวิเคราะห์วางกรอบข้อมูลen_US
dc.title.alternativeThe efficiency of public universities' library services : a data envelopement analysisen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorrauyporn@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.719-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
parnthipa_bu.pdf4.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.