Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36259
Title: การแยกสลายด้วยความร้อนของน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วบนตัวเร่งปฏิกิริยาเอฟซีซีใช้แล้ว
Other Titles: Pyrolysis of used lubricating oil on spent FCC catalyst
Authors: กุณฑณี ปิ่นเวหา
Advisors: ธราพงษ์ วิทิตศานต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: tharapong.v@chula.ac.th
Subjects: การแยกสลายด้วยความร้อน
น้ำมันหล่อลื่น
ตัวเร่งปฏิกิริยา
Pyrolysis
Lubricating oils
Catalysts
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้จะศึกษาถึงกระบวนการแตกตัวของน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วบนตัวเร่งปฏิกิริยาเอฟซีซีใช้แล้ว โดยทำการทดลองในเครื่องปฏิกรณ์ขนาด 250 มิลลิลิตร กระบวนการแตกตัวของน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วนี้จะทำการศึกษาที่สภาวะอุณหภูมิ 410-450 องศาเซลเซียส ระยะเวลาในการทําปฏิกิริยา 30-60 นาที ความดันไฮโดรเจนเริ่มต้น 1-5 บาร ปริมาณของตัวเร่งปฏิกิริยาเอฟซีซีใช้แล้ว 1-5 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ปริมาณสารตั้งต้นจำนวน 20 กรัม ใช้การทดลองแบบแฟกทอเรียลสองระดับศึกษาอิทธิพลของตัวแปรที่มีผลต่อร้อยละผลได้ของผลิตภัณฑ์น้ำมัน เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์น้ำมันและองค์ประกอบที่ดีที่สุด โดยนำผลิตภัณฑ์ที่ได้มาวิเคราะห์ปริมาณและองค์ประกอบของน้ำมันที่เกิดขึ้นด้วยเครื่อง Simulate Distillation Gas Chromatography (DGC) ภาวะที่เหมาะสมของการแตกตัวของน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วบนตัวเร่งปฏิกิริยาเอฟซีซีใช้แล้วคือที่อุณหภูมิ 410 องศาเซลเซียส ระยะเวลาในการทำปฏิกิริยา 46 นาที ความดันไฮโดรเจนเริ่มต้น 1 บาร์และตัวเร่งปฏิกิริยาร้อยละ 1.12 โดยน้ำหนัก ซึ่งในภาวะการทดลองข้างต้นจะได้ผลิตภัณฑ์น้ำมันร้อยละ 78.42 โดยน้ำหนัก แก๊สไฮโดรคาร์บอนร้อยละ 16.84 โดยน้ำหนัก กากของแข็งร้อยละ 4.74 โดยน้ำหนัก องค์ประกอบของผลิตภัณฑ์น้ำมันมีปริมาณแนฟทา ร้อยละ 33.26 โดยน้ำหนัก เคโรซีนร้อยละ 19.70 โดยน้ำหนัก ดีเซลร้อยละ 32.25 โดยน้ำหนัก โมเลกุลไฮโดรคาร์บอนสายโซ่ยาวร้อยละ 5.37 โดยน้ำหนัก และพบว่ามีหมู่ฟังก์ชั่นหลักเป็นพวกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน ซึ่งเมื่อเทียบกับหมู่ฟังก์ชันหลักในน้ำมันเบนซินออกเทน 95 แล้วพบว่ามีหมู่แอโรแมติกไฮโดรคาร์บอนที่คล้ายกัน
Other Abstract: The aim of this research was to study the pyrolysis of used lubricating oil on spent FCC catalyst in a batch microreactor of 250 ml. The experiment was carried out under various condition by the follow variables : reaction temperature of 410 - 450 oC, reaction time of 30 - 60 min, initial hydrogen pressure of 1 - 5 bars, amount of spent FCC catalyst ranging from 1 - 5 % by weight and weight of raw material was 20 g. The two level factorial experimental design was performed to investigate the effect of variables on oil yield to determine the optimum condition. The product oil was analyzed by Simulate Distillation Gas Chromatography (DGC). The optimum conditions of pyrolysis of used lubricating oil were reaction temperature of 430 OC, reaction time of 60 min, initial hydrogen pressured of 5 bars by using 4 percent by weight of spent FCC catalyst. The product was present in 72.94 percent by weight of oil yield, 23.86 percent by weight of gas yield, and 3.24 percent by weight of solid yield and composed of naphtha, kerosene, light gas oil, gas oil and long residue (33.08, 11.46, 16.65, 2.70 and 9.05 percent by weight respectively). It was found that the product consist of an aromatic hydrocarbon in main structure. Comparing the structure oil product with benzene (octane 95) was similar.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36259
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.738
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.738
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
koontanee_pi.pdf3.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.