Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36260
Title: การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก
Other Titles: An analysis of factors effecting the educational quality assurance management of small-sized schools
Authors: มยุรีย์ แพร่หลาย
Email: Wannee.K@Chula.ac.th
Advisors: ชญาพิมพ์ อุสาโห
วรรณี แกมเกตุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Chayapim.U@chula.ac.th
Subjects: ประกันคุณภาพ
ประกันคุณภาพการศึกษา
โรงเรียน -- การบริหาร
การบริหารการศึกษา
Quality assurance
School management and organization
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลและพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) ศึกษาปัจจัยสนับสนุนและปัจจัยอุปสรรคของการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กที่ประสบความสำเร็จในการประกันคุณภาพ 4) เสนอแนวทางการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก ประชากร คือ โรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13,915 โรงเรียน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ได้จำนวน 390 โรงเรียน โรงเรียนกรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จในการประกันคุณภาพ 2 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลคือผู้อำนวยการโรงเรียนและครู จำนวน 1,170 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความโด่ง และความเบ้ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยโปรแกรมลิสเรล และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยด้านนโยบายการบริหารและการปฏิบัติ ปัจจัยด้านลักษณะของสภาพแวดล้อมและปัจจัยด้านลักษณะของโรงเรียน เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ต่อการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก 2) รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์เท่ากับ 54.944 องศาอิสระเท่ากับ 83 ค่าความน่าจะเป็น (p) เท่ากับ .993 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI = 0.996) ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว(AGFI=0.988)ค่าดัชนีกำลังสองของส่วนที่เหลือ(RMR=0.00372) 3) ปัจจัยสนับสนุนการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กที่ประสบความสำเร็จในการประกันคุณภาพด้านนโยบายการบริหารและการปฏิบัติ คือการนิเทศติดตามอย่างต่อเนื่อง และการใช้ภาวะผู้นำของผู้บริหารเพื่อสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร ปัจจัยอุปสรรคด้านนโยบายการบริหารและการปฏิบัติ คือระบบสารสนเทศที่ไม่เป็นปัจจุบันและการขาดแคลนบุคลากรและเทคโนโลยีที่ทันสมัย 4) แนวทางการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กตามกระบวนการ PDCA นั้น ผู้บริหารต้องกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติที่ชัดเจนเกี่ยวกับ การจัดหา การแบ่งงานและมอบหมายงานให้บุคลากร การจัดทำระบบสารสนเทศให้เป็นปัจจุบัน สนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย นิเทศติดตามอย่างต่อเนื่องโดยการใช้ภาวะผู้นำของผู้บริหารในการใช้กลยุทธ์ให้เกิดผลสำเร็จในการปฏิบัติงาน ตลอดจนส่งเสริมการทำงานเป็นทีม
Other Abstract: The purpose of this research were: 1) to study factors affecting and to develop a causal-relationship model of the educational quality assurance management of small-sized schools. 2) to examine the goodness of fit of the causal-relationship model of the educational quality assurance management of small-sized schools. 3) to study supporting factors and barriers in the management of educational quality assurance of successful small-sized schools. 4) to suggest guidelines on educational quality assurance management of small-sized schools. Population were 13,915 small-sized schools under the Office of the Basic Educational Commission. 390 small-sized schools were identified using a Multi-Stage Stratified Random Sampling, with 2 successful schools as case studies. Included in the study were 1,170 administrators and teachers. Equipments used in the study were a questionnaires and indept interviews. Data were analyzed by descriptive statistics-mean, standard deviation, kurtosis, skewness, and Pearson’s product moment correlation coefficient. Analysis and examination of developed factors and empirical data were done by a LISREL program and content analysis. The research findings were as follows: 1) Factors related to managerial policies and practices, factors related to environmental characteristics, and factors related to school characteristics have statistically significant total effects on educational quality assurance management of small-sized schools. 2) The causal-relationship model of the educational quality assurance management of small-sized schools was valid and fit to the empirical data. The model indicated that the Chi-square goodness of the test was 54.944, df = 83, p = 0.933, GFI = 0.996, AGFI = 0.988 and RMR = 0.00372 3) The factors supporting the management of educational quality assurance of small-sized school were continuous monitoring and leadership of administrators to motivating the personnel, while the barriers were outdated information system and the shortage of personal and up-to-date technology. 4) In implementing the educational quality assurance management using PDCA process in small-sized schools, the administrators should set clear policies and practice guidelines for recruiting and assigning tasks to personnel, for updating the information system, for providing financial support to develop modern technology, for continuously monitoring the personnel, for implementing management strategies, and for promoting teamwork.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36260
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.739
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.739
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
mayuree_ph.pdf2.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.