Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36281
Title: แนวทางการพัฒนาที่ราชพัสดุซึ่งอยู่ในการครอบครองของกองทัพบก : กรณีศึกษากองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์
Other Titles: Design guidelines for the development of state properties under the occupation of the Royal Thai Army : a case study of the Second Cavalry Division, King's Guard
Authors: กอบบุญ จุละจาริตต์
Advisors: ระหัตร โรจนประดิษฐ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Rahuth.R@chula.ac.th
Subjects: ที่ราชพัสดุ
การใช้ที่ดิน -- ไทย -- กรุงเทพฯ
การพัฒนาที่ดิน
การพัฒนาชุมชน
State properties
Land use -- Thailand -- Bangkok
Community development
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่ราชพัสดุเป็นอสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่มีอยู่จำนวนมาก และตั้งอยู่ตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ โดยได้ถูกจัดสรรและแบ่งมอบให้หน่วยงานราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นๆ ที่ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ดูแล กรณีศึกษากองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ ซึ่งที่ตั้งเป็นที่ราชพัสดุที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของกองทัพบก เป็นหน่วยที่มีอำนาจการทำลาย ข่มขวัญและมีประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อมีการใช้อย่างเป็นปึกแผ่น จึงสมควรกำหนดที่ตั้งให้เหมาะสมตั้งแต่ในยามปกติ เพื่อให้สามารถเคลื่อนย้ายหน่วยเข้าปฏิบัติงานในฐานะกองหนุนของกองทัพบกได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพในเขตพื้นที่กองทัพภาคต่างๆ ซึ่งในปี 2532 กองทัพบกได้มีนโยบายในการย้ายที่ตั้งหน่วยทหารออกจากกรุงเทพมหานคร ตามคำสั่งที่ กห 0403/2664 ได้ระบุถึงความจำเป็น ผลกระทบและลำดับความเร่งด่วน รวมถึงการพิจารณาที่ตั้งใหม่ และการพิจารณาใช้ประโยชน์จากที่ตั้งเดิม โดยกล่าวว่าให้ใช้ที่ตั้งเดิมเป็นอาคารสำนักงานต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อกองทัพบก หรือประชาชนในกรุงเทพมหานคร และได้ข้อพิจารณาว่าสมควรให้คงหน่วยทหารบางหน่วยไว้ในกรุงเทพมหานคร เพื่อลดผลกระทบในเรื่องการรักษาความปลอดภัยและด้านการเมือง ซึ่งกองพันทหารม้าที่ 29 รักษาพระองค์ มีภารกิจหลักในเรื่องการสนับสนุนม้า เพื่อใช้ในงานพระราชพิธีต่างๆ ของพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ จึงเป็นหนึ่งในหน่วยที่ไม่ต้องเคลื่อนย้าย และมีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ศึกษา การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาที่ราชพัสดุที่อยู่ในครอบครองของกองทัพบก กรณีศึกษากองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ โดยศึกษาและวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพ เศรษฐกิจและสังคมของพื้นที่ศึกษา รวมถึงหลักเกณฑ์ในการใช้ที่ราชพัสดุ ข้อกำหนด กฎหมายตามผังการใช้ที่ดิน และข้อกำหนดในการใช้พื้นที่ภายในกองทัพบก อีกทั้งศึกษาถึงความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงในด้านที่เกี่ยวข้อง เพื่อทราบถึงปัญหา ข้อจำกัดและศักยภาพของพื้นที่ โดยกรณีศึกษาตั้งอยู่ในย่านสนามเป้า เขตพญาไท ซึ่งเป็นพื้นที่ติดต่อกับอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เป็นศูนย์กลางการคมนาคมและเป็นย่านธุรกิจที่มีความสำคัญของกรุงเทพมหานคร ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นที่ราชพัสดุที่อยู่ในการครอบครองของกองทัพบกมาตั้งแต่อดีต แต่ในปัจจุบันพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปตามวิวัฒนาการด้านต่างๆ ของเมือง โดยเฉพาะเมื่อมีโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนบีทีเอส ผ่านในบริเวณพื้นที่ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เมืองมีการพัฒนาตามศักยภาพที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งชุมชนโดยรอบพัฒนาไปในเชิงพาณิชยกรรม แต่ขาดที่ว่างสาธารณะ ซึ่งแนวทางการพัฒนาพื้นที่กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ กองทัพบก จึงควรคำนึงถึงสัดส่วนในการใช้พื้นที่ในการตั้งหน่วยทหารที่เล็กลงตามความจำเป็นของอัตราอาคาร และใช้พื้นที่ที่เหลือพัฒนาในเชิงพาณิชยกรรมและที่ว่างสาธารณะ โดยทำโครงการร่วมกับกรมธนารักษ์เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนและสภาพแวดล้อม รวมถึงการบริหารจัดการผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างกองทัพบกกับกรมธนารักษ์ ดังนั้นการศึกษานี้จึงศึกษาสภาพทางกายภาพ เศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้ทราบถึงปัญหาและนำไปวิเคราะห์ปัญหาและทราบถึงศักยภาพของพื้นที่กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ และสภาพพื้นที่โดยรอบ ตลอดจนความสัมพันธ์กับพื้นที่โดยรอบ โดยกำหนดโปรแกรมการพัฒนาและทำการออกแบบวางผังทางกายภาพเพื่อพัฒนาพื้นที่ ซึ่งคำนึงถึงองค์ประกอบด้านกายภาพของเมือง โดยการพัฒนาสัดส่วนการใช้ที่ดินที่เหมาะสมพัฒนาการสัญจรภายในกับภายนอกพื้นที่ การสร้างความสมดุลของที่ว่างสาธารณะกับเมือง ความต่อเนื่องของทางเท้าทางสัญจร ความชัดเจนขององค์ประกอบอาคารริมถนนสายหลัก รวมถึงด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยการวางแผนการใช้ประโยชน์อาคารให้มีความสัมพันธ์กับลำดับศักย์ของถนน นอกจากนี้แนวทางการพัฒนาพื้นที่กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์นี้ ยังใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนาพื้นที่ในอนาคต ตลอดจนสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการพัฒนาที่ราชพัสดุ ที่อยู่ในครอบครองของกองทัพบกในพื้นที่อื่นๆ ได้อย่างเหมาะสม
Other Abstract: The state property is the real estate in the kingdom of Thailand that is abundant throughout the capital city and other provincial areas. These state properties are distributed not only to government-related units but also state enterprises and other permitted units. The area of the 2nd Cavalry Division King’s Guard, the state property owned by the Royal Thai Army (RTA), is used as a case study in this research where the unit has met the highest competency in destruction, disruption an enemy, as well as the protection of the nation. According to its location in Central Business District (CBD), this area is suitable for military operation where reserved troops and forces can be posted on time in relation to the connection with other provincial army forces. Since 1991, the RTA had issued a policy to relocate the military unit apart from Bangkok in accordance with RTA order 0403/2664 that specified the removal necessity and impacts, the consideration of new military location, and the proper use of existing location. The RTA decided to renovate the existing location as the office building for the army and the citizen. Besides, the RTA considered the retention of some military units within the capital city of Bangkok for security and politic reasons. Thus, the 29th Cavalry Battalion King’s Guard, the main support unit of horses to be served to all royal family members within the kingdom for any occasion, still remained on its location without removal. This research project aims at proposing the development feasibility for the state property in the responsibility of the RTA by using the 2nd Cavalry Division King’s Guard as a case study. This project covers the study and analysis in physical characteristics, economic and social factors within the study boundary. In addition, state property procedures, specifications, state plan legislations, as well as state policies in the usage of the RTA area are also included in the study. Besides, this research studies the relationship and linkage of each related factor to unearth problematic issues, constraints and the effectiveness of the area. The research area of the 2nd Cavalry Division King’s Guard, situated in Sanam-Pao area - Phrayathai district, is connected to the Victory Monument: the largest transportation route and business hub in Bangkok. Because of the advent of mass transportation of Bangkok Transit System (BTS) or so called ‘Sky Train’ within the city, this area has been dramatically changed in association to the city development plan. Due to massive industrialized community, the area was generally lack of public spaces. Considering the development of the 2nd Cavalry Division King’s Guard area, the appropriate proportion in area utility should be considered in terms of downsizing military units and then developing the area for industrialize zone and public spaces.This can be done by coordinating with Treasury Department in promoting better economic and environmental community, as well as the management for mutual advantages between the RTA and the Treasury Department.Therefore, this analysis project pays much more attention to physical, economic and social aspects of the area in order to perceive and analyze any possible problem and the total potentiality of the 2nd Cavalry Division King’s Guard and its vicinity by means of assessing development guidelines and designing proper physical plan. The development emphasizes the physical characteristic of an urban area, the balance between the public space and the city space, the continuity of walkway, the obvious building elements, including the consideration of economic and social facets. Furthermore, this project also underlines the proper use of the building in relation to the physical characteristic, significance, and identity of the main road and the area. The development guidelines for the 2nd Cavalry Division King’s Guard can be utilized as a primary data for future development within the area. Additionally, this research project can be applied to other state property areas for the total result of the most suitable and efficient use of army areas.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การออกแบบชุมชนเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36281
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.141
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.141
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kobboon_ch.pdf27.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.