Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36290
Title: | ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นการคิดแบบฮิวริสติกส์ที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถในการตั้งและแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 |
Other Titles: | Effects of organizing mathematics learning activities emphasizing heuristics thinking on mathematical creativity and problem posing and solving ability of seventh grade students |
Authors: | นวลทิพย์ นวพันธุ์ |
Advisors: | จิณดิษฐ์ ละออปักษิณ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Jinnadit.L@Chula.ac.th |
Subjects: | การรู้คิด กิจกรรมการเรียนการสอน คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน ความคิดสร้างสรรค์ Cognition Activity programs in education Mathematics -- Study and teaching Creative thinking |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นการคิดแบบฮิวริสติกส์ 2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นการคิดแบบฮิวริสติกส์ กับกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ 3) ศึกษาความสามารถในการตั้งและแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นการคิดแบบฮิวริสติกส์ 4) เปรียบเทียบความสามารถในการตั้งและแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยเน้นการคิดแบบฮิวริสติกส์ กับกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนวัดป่าประดู่ จำนวน 100 คน เป็นนักเรียนกลุ่มทดลอง จำนวน 50 คน และนักเรียนกลุ่มควบคุม จำนวน 50 คน โดยนักเรียนกลุ่มทดลองได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นการคิดแบบฮิวริสติกส์ และนักเรียนกลุ่มควบคุมได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นการคิดแบบฮิวริสติกส์ และแบบทดสอบวัดความสามารถในการตั้งและแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย เลขคณิต ค่าเฉลี่ยเลขคณิตร้อยละเปรียบเทียบกับเกณฑ์ 60% ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นการคิดแบบฮิวริสติกส์มีความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ สูงกว่า 60% ของคะแนนจากแบบทดสอบทั้งฉบับ 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นการคิดแบบฮิวริสติกส์ มีความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์สูงกว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นการคิดแบบฮิวริสติกส์ มีความสามารถในการตั้งและแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สูงกว่า 60% ของคะแนนจากแบบทดสอบทั้งฉบับ 4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นการคิดแบบฮิวริสติกส์ มีความสามารถในการตั้งและแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | The purposes of this research were 1) to study mathematical creativity of seventh grade students which were taught by organizing mathematics learning activities emphasizing heuristics thinking 2) to compare mathematical creativity of seventh grade students between groups which were taught by organizing mathematics learning activities emphasizing heuristics thinking and group which were taught by organizing conventional mathematics learning activities 3) to study mathematics problem posing and solving ability of seventh grade students which were taught by organizing mathematics learning activities emphasizing heuristics thinking. 4) to compare mathematics problem posing and solving ability of seventh grade students between group which were taught by organizing mathematics learning activities emphasizing heuristics thinking and group which were taught by organizing conventional mathematics learning activities. The populations of this research were seventh grade students in Rayong Education service area office 1, Office of The Basic Education Commission, Ministry of Education. The subjects were 100 seventh grade students in academic year 2009 in Watpapradoo School. They were divided into two groups, one experimental group with 50 students and one controlled group with 50 students. Students in experimental group were organized mathematics learning activities emphasizing heuristics thinking and those in control group were organized conventional mathematics learning activities. The research instruments were the mathematical creativity test and the mathematics problem posing and solving ability test. The experimental materials were lesson plans for organized mathematics learning activities emphasizing heuristics thinking and the conventional lesson plans. The data were analyzed by means of arithmetic mean, means of percentage, standard deviation, and t-test. The results of the study revealed that: 1) Mathematical creativities of students who were organized mathematics learning activities emphasizing heuristics thinking were higher than 60% of the total scores. 2) Mathematical creativities of these students were higher than those of students who were organized conventional mathematics learning activities at the .05 level of significance. 3) Mathematical problem posing and solving abilities of students who were organized mathematics learning activities emphasizing heuristics thinking were higher than 60% of the total scores. 4) Mathematical problem posing and solving abilities of these students were higher than those of students who were organized conventional mathematics learning activities at the .05 level of significance. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การศึกษาคณิตศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36290 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.630 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.630 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
nuantip_na.pdf | 7.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.