Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36357
Title: พัฒนาการการสื่อสารและการปรับประยุกต์สื่อพื้นบ้านของศิลปินโปงลางสะออน
Other Titles: Development of communications and local media applications of Ponglangsaon musical band
Authors: ชญานิศา จิรสินธิปก
Advisors: พัชนี เชยจรรยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Patchanee.C@chula.ac.th
Subjects: โปงลางสะออน
การสื่อสาร
สื่อพื้นบ้าน
ศิลปะการแสดง
Ponglang Sa-On
Communication
Folk media
Performing arts
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาพัฒนาการการสื่อสาร การปรับประยุกต์สื่อพื้นบ้าน และทัศนคติต่ออัตลักษณ์ของศิลปินจากผู้ชม ภายใต้กรอบแนวคิดเรื่องสื่อพื้นบ้าน อุตสาหกรรม วัฒนธรรม อัตลักษณ์และทัศนคติ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วยการศึกษา ข้อมูลจากเอกสาร การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก (20 คน) ผลการวิจัยพบว่า สื่อมวลชนได้เข้ามามีบทบาทในการเป็นช่องทางในการนำเสนอสื่อพื้นบ้าน ดังกล่าว ตั้งแต่ พ.ศ. 2515 ในยุคครูเปลื้องเป็นต้นมา แต่เมื่อเข้าสู่ยุคโปงลางสะออนเป็นศิลปินในสังกัด บริษัทอาร์เอสฯ สื่อมวลชนนอกจากจะทำหน้าที่เป็นช่องทางในการเผยแพร่แล้ว ยังเป็นผู้ผลิตร่วมกับ ผู้ส่งสาร และเจ้าของวัฒนธรรมอย่างโปงลางสะออน นอกจากนี้สื่อมวลชนได้มีส่วนทำให้สื่อพื้นบ้านมีการปรับเนื้อหาด้านการแสดง ให้เหมาะสมกับข้อดีและข้อจำกัดของตัวสื่อ แต่ก็สามารถเข้าถึงผู้ชมทุกเพศทุกวัยได้ เป็นการขยายฐานของผู้ชมให้มากขึ้น โดยผู้วิจัยได้แบ่งเกณฑ์การศึกษาออกเป็น 3 ยุค ได้แก่ ยุคครูเปลื้อง ฉายรัศมี (พ.ศ. 2505-2553) ยุคโปงลางสะออนเมื่อยังเป็นศิลปินอิสระ (พ.ศ. 2542-2548) และยุคโปงลางสะออนเป็นศิลปินในสังกัดบริษัทอาร์เอสฯ (พ.ศ. 2548-2553) การปรับประยุกต์สื่อพื้นบ้านของโปงลางสะออนนั้น ได้มีกาประยุกต์การแสดงไปจากรูปแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นศิลปินในสังกัดบริษัทอาร์เอสฯ ได้ปรับรูปแบบทั้งในส่วนของเนื้อหา (Text) ที่แบ่งเป็นประเด็นที่สามารถปรับได้และไม่ควรปรับ ซึ่งโปงลางสะออนได้ปรับทั้งสองประเด็น ในด้านการบริหารจัดการ (Management) นั้น โปงลางสะออนใช้ต้นทุนทางความสามารถทั้งด้านนาฎศิลป์และสื่อมวลชนต่อรองกับนายทุนได้มากพอสมควร โดยเฉพาะในเรื่อง การนำเสนอการแสดงศิลปะพื้นบ้าน ทัศนคติต่ออัตลักษณ์โปงลางสะออนของแฟนคลับทั้งที่มีและไม่มีภูมิลำเนาในภาคอีสาน มีทัศนคติเชิงบวกต่ออัตลักษณ์โปงลางสะออนทุกด้าน ส่วนผู้ชมทั่วไปทั้งผู้ที่มีและไม่มีภูมิลำเนาในภาคอีสานแสดงทัศนคติเชิงบวกในด้านภาษา คาแร็กเตอร์และมุขตลก ในด้านการแต่งกายผู้ชมทั่วไปทั้ง 2 กลุ่ม แสดงทัศนคติที่เป็นกลาง ด้านการจัดบรรยากาศการแสดง ผู้ชมทั่วไปทั้ง 2 กลุ่ม แสดงทัศนคติเชิงลบ และในด้านดนตรีและการแสดงนั้น ผู้ชมทั่วไปที่มีภูมิลำเนาในภาคอีสาน แสดงทัศนคติเป็นกลาง ส่วนผู้ชมทั่วไปที่ไม่มีภูมิลำเนาในภาคอีสาน แสดงทัศนคติเชิงบวก
Other Abstract: Based on framework of local media, culture, industry, identity and attitude, this qualitative research aimed to study the development of communication, local media application and the of audience attitude towards Ponglang Sa-On’s identity. Data were obtained from documents, nonparticipant observation, focus group interview and in-depth interview (from 20 people). The results showed that mass media played a key role in public relations of Ponglang performance since Pluang Chayrassamee period (1972). Interestingly, mass media also acted as a producer in collaboration with a cultural owner when Ponglang Sa-On became an RS’ artist. In order to reach the audiences of all ages, mass media also contributed the local media alterations that appropriated the advantages and limitations of this traditional media. This research investigated the development of Ponglang performance in three periods, including Pluang Chayrassamee period (1961Since Ponglang Sa-On became an RS’s artist, its performance had been totally changed from an original version. In fact, the changing of Ponglang performance can be considered in two categories, the former can be changed, and the latter should not change. However, Ponglang Sa-On has been changed entirely. In term of management, Ponglang Sa-On used their potential and experience in mass media and local media, in particular folk art, negotiating with RS and other capitalists in culture industry. Insight into the audience attitude, we found that either the northeast residents or the others had positive attitudes towards all of Ponglang Sa-On’s identities. Generally, audience had positive attitude to language characters and gag used in Ponglang Sa-On’s performance. Furthermore, attitudes of audience to costume identity were average whereas attitude towards surrounding management identity was negative. For music and performance identity, audience who are not the northeast residents had positive attitudes. On the other hand, the northeast fans had average attitude towards an identity of music and performance.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36357
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.467
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.467
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chayanisa_ji.pdf6.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.