Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36370
Title: ความสัมพันธ์ของการให้ความหมายต่อสถานการณ์กับโรคเครียดภายหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (PTSD) เรื้อรังในกลุ่มเด็กผู้ประสบภัยสึนามิ ในเขต อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา
Other Titles: Appraisals of trauma associated with chronic posttraumatic stress disorder (PTSD) in child tsunami survivors in Takuapa District, Phang-nga Province
Authors: เวทินี สตะเวทิน
Advisors: ณัทธร พิทยรัตน์เสถียร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Nuttorn.P@Chula.ac.th
Subjects: ความผิดปกติทางจิตหลังภัยพิบัติ -- เด็ก -- ไทย -- ตะกั่วป่า (พังงา)
ความเครียด (จิตวิทยา) -- เด็ก -- ไทย -- ตะกั่วป่า (พังงา)
จิตบำบัดเด็ก -- ไทย -- ตะกั่วป่า (พังงา)
Post-traumatic stress disorder -- Children -- Thailand -- Takuapa (Phangnga)
Stress (Psychology) -- Children -- Thailand -- Takuapa (Phangnga)
Child psychotherapy -- Thailand -- Takuapa (Phangnga)
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการให้ความหมายต่อสถานการณ์กับโรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (PTSD) เรื้อรังในกลุ่มเด็กผู้ประสบภัยสึนามิในเขต อ. ตะกั่วป่า จ. พังงา ในนักเรียนจาก 6 โรงเรียนใน อ. ตะกั่วป่า จ.พังงา หลังจากเหตุการณ์ผ่านไปแล้ว 4 ปี ในรูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive study) โดยศึกษาที่ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross-sectional) โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กนักเรียนที่ประสบภัยสึนามิ จาก 6 โรงเรียนในเขตอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค PTSD จากการติดตามผลของจิตแพทย์ระหว่าง 1-2 ปี หลังจากเกิดเหตุการณ์ โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยกลุ่มตัวอย่างสมัครใจตอบแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและประวัติการเผชิญเหตุการณ์ แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะของอาการ PTSD ในกลุ่มเด็ก (CRIES-8 Thai version) แบบสอบถามเกี่ยวกับการให้ความหมายต่อเหตุการณ์สะเทือนขวัญ ในระยะ 7 วันที่ผ่านมาด้วยตนเอง ในกรณีที่เด็กไม่สามารถอ่านและทำความเข้าใจกับแบบสอบถามได้ผู้วิจัยจะเป็นผู้สัมภาษณ์ตามข้อคำถามในแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ Pearson’s Chi-Square, Pearson Correlation และ Hierarchical multiple regression analysis โดยใช้ SPSS 13 มีนักเรียนสมัครใจเข้าร่วมการวิจัยจำนวน 86 คน เป็น เพศหญิงร้อยละ 67.4 อายุ 6-17 ปี เฉลี่ยอายุของเด็ก 13 ปี ผลจากการศึกษาพบว่าเพศเป็นปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับโรค PTSD เรื้อรัง และการได้รับผลกระทบทางจิตใจจากคลื่นยักษ์ เป็นปัจจัยด้านการประสบเหตุการณ์ เพียงปัจจัยเดียวที่มีความสัมพันธ์โรค PTSD เรื้อรัง ส่วนปัจจัยด้านการให้ความหมายต่อสถานการณ์สะเทือนขวัญมีความสัมพันธ์กับโรค PTSD เรื้อรังในทุกประเด็น ปัจจัยด้านการให้ความหมายต่อเหตุการณ์สะเทือนขวัญสามารถพยากรณ์การเกิดโรค PTSD เรื้อรังได้ร้อยละ 60 ซึ่งมากกว่าปัจจัยส่วนบุคคลที่สามารถพยากรณ์ได้เพียงร้อยละ 15 ซึ่งจะเห็นว่าหลังจากเหตุการณ์สึนามิผ่านไป 3 ปี 8 เดือน ปัจจัยทางด้านความคิดมีความสัมพันธ์อย่างมากกับการเกิดโรค PTSD เรื้อรัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่เป็นผลของเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบถึงตัวเด็ก การบำบัดโดย Cognitive Behavioral Therapy (CBT) ที่เน้นการเปลี่ยนความคิดของผู้ที่ประสบความรุนแรง ให้สามารถแก้ไขความคิด ความเชื่อ และอารมณ์ของผู้ป่วยจึงน่าจะเป็นแนวทางการบำบัดทางหนึ่งที่มีประสิทธิภาพ
Other Abstract: To study the appraisals of the trauma associated with chronic Posttraumatic Stress Disorder (PTSD) in child tsunami survivors in Takuapa District, Phang-nga Province four years after the event. It was conducted in the form of a descriptive cross-sectional study of a sample of child tsunami survivors from six schools in Takuapa District, Phang-nga Province who were diagnosed as having PTSD symptoms according to the follow-up by psychiatrists 1-2 years after the event. Positive sampling was used whereby participants themselves voluntarily answered the questionnaires on personal data and the history of their experience, the questionnaire on PTSD among children by using the Child’s Revised Impact of Event Scale (CRIES-8 Thai version), the questionnaire on trauma appraisals during the past seven days. In the case that participants could not read and understand the questionnaires themselves, the researcher conducted interviews based on the questions in the questionnaires. Statistical tools for data analyses included Pearson Chi-Square, Pearson Correlation, and Hierarchical Multiple Regression Analysis. For software, SPSS 13 was used. Eighty-six students, 67.4 % of whom are female, aged 6 – 17, participated in the study. The average age was 13. The gender was personal factors associated with chronic PTSD and psychological impact from the tsunami was the only experience-related factor associated with chronic PTSD. The trauma appraisals, on the other hand, were associated with chronic PTSD on every issue and could predict 60% of the occurrence of chronic PTSD when compared to the only 15% of personal factors. The study showed that, three years and eight months after the tsunami, the cognitive factor was closely associated with chronic PTSD, especially when the consequences had direct impact on children. Thus, the Cognitive Behavioral Therapy (CBT) with emphasis on changing the mindset, belief, and emotions of those experiencing the trauma should be an effective therapeutic approach.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36370
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.786
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.786
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wedinee_Sa.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.