Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36450
Title: Development of emulgel containing Allium Ascalonicum extract for cosmetic applications
Other Titles: การพัฒนาอิมัลเจลที่ประกอบด้วยสารสกัดหอมแดงเพื่อการนำไปใช้ทางเครื่องสำอาง
Authors: Wirut Jitphongsaikul
Advisors: Walaisiri Muangsiri
Pornpen Werawatganone
Other author: Chulalongkorn University, Pharmaceutical Sciences
Advisor's Email: Walaisiri.M@Chula.ac.th
Pornpen.W@Chula.ac.th
Subjects: Onions -- Extracts
Shallot
Cosmetics
Emulsions
หอม -- สารสกัด
เครื่องสำอาง
อิมัลเจล
Issue Date: 2012
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: The current study majorly focused on anti-melanogenesis properties of Allium ascalonicum extracts (shallot) as a new active agent for cosmetic purposes. The shallot bulbs were ground and mixed with ethanol:water (60:40 v/v) to give fraction 1, the marc was further extracted with the same solvent to give fraction 2. Each fraction was separately collected and freeze-dried under a FTS system prior to hydrolysis. The lyophilized powder and its fraction were characterized using HPLC and TLC characterizations in which considered quercetin as a major compound. HPLC and TLC characterizations revealed that shallot ethanolic extract fraction 2 contained higher amount of quercetin because the solvent contained higher concentration of ethanol. The optimum condition to obtain higher concentration of quercetin is to hydrolyze shallot extracts with 0.5M HCl in 50% methanol for 75 minutes at 60 ˚C. Shallot ethanolic extracts were then evaluated for their anti-melanogenesis properties. Shallot ethanolic extract fraction 2 showed more potent in anti-tyrosinase activity with an IC50 value of 16 mg/mL. Moreover, shallot ethanolic extract fraction 2 also inhibited 25% of melanin production in B16 melanoma cells with a concentration range of 300-500 µg/mL. Both fractions were assayed for their cytotoxicities using presto blue method. The results indicated no toxicity of shallot extract to B16 melanoma cells at concentration of 6.25-500 µg/mL. The development of emulgel containing 5% shallot ethanolic extract fraction 2 was performed and evaluated for its stabilities. The emulgel passed 8 cycles of 30 minutes centrifugation at 6000 rpm with no separation. There was no color change, no separation, and no pH value change after subjected the emulgel to 6 cycles of heating-cooling cycle. The emulgel was stored at 30 ˚C, 75% RH and 40 ˚C, 75% RH for 3 months and determined the amount of quercetin. The result showed no significant change of quercetin from time zero to 3 months. Moreover, the emulgel showed no short term and long term irritation effect on 20 volunteers. Therefore, the emulgel containing Allium ascalonicum extract possesses satisfactory physical properties with good stabilities under accelerated conditions and without irritation effects.
Other Abstract: งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์การยับยั้งการก่อตัวของเม็ดสีจากสารสกัดหอมแดง เพื่อการนำไปใช้ทางเครื่องสำอาง หอมแดงถูกบดและสกัดใน เอธานอล:น้ำ (60:40 ปริมาตร/ปริมาตร) เพื่อให้ได้ ส่วนสกัดที่ 1 จากนั้นกากที่เหลือถูกสกัดด้วยตัวทำละลายเดียวกันเพื่อให้ได้ ส่วนสกัดที่ 2 น้ำคั้นที่ได้จากส่วนสกัดทั้งสองนั้นจะถูกแยกทำให้เป็นผงแห้งโดยการทำแห้งเยือกแข็ง ก่อนที่จะนำไปทำปฏิกิริยาด้วยการแยกสลายด้วยน้ำโดยใช้กรด จากนั้นทำการวิเคราะห์สารสำคัญของผงแห้งและส่วนสกัดที่ผ่านการทำปฏิกิริยาแยกสลายด้วยน้ำโดยวิธีโครมาโทกราฟีของเหลวที่สมรรถนะสูงแยกสารเคมีภายใต้ความดันของเหลว และ การแยกสารโดยโครมาโทกราฟีแบบแผ่นบาง โดยใช้ ควอเซติน เป็นสารสำคัญในการเทียบ ผลที่ได้คือ ปริมาณควอเซตินในหอมแดง ในส่วนสกัดที่ 2 มีมากกว่าใน ส่วนสกัดที่1 เนื่องจากกากถูกสกัดด้วยตัวทำละลายที่มีปริมาณสูงกว่า และยังพบอีกว่าวิธีที่ดีที่สุดในการสกัดหอมแดงเพื่อให้ได้ควอเซตินในปริมาณมากที่สุดคือ การทำปฎิกิริยาของผงแห้งด้วยกรดไฮโดรคลอริก(0.5 โมลาร์)ใน 50% เมธานอล ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 75 นาที จากนั้นทำการทดสอบฤทธิ์การยับยั้งการก่อตัวของเม็ดสีของสารสกัดหอมแดง ซึ่งผลปรากฏว่า สารสกัดหอมแดงส่วนสกัดที่ 2 มีฤทธิ์การยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสที่ดีกว่า ด้วยค่าความเข้มข้นของสารสกัดที่ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสได้ 50% เท่ากับ 16.22 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ยิ่งไปกว่านั้น สารสกัดหอมแดงส่วนสกัดที่ 2 ยังมีฤทธิ์การยับยั้งการก่อตัวของเม็ดสีในเซลล์ชนิดเมลาโนมาบี16 ได้ 25% ที่ความเข้มข้นประมาณ 300 ถึง 500 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร โดยสารสกัดหอมแดงได้ถูกนำไปศึกษาความพิษต่อเซลล์ชนิดเมลาโนมาบี16 โดยเทคนิคเพรสโตบลู ซึ่งค้นพบว่าสารสกัดหอมแดงที่ความเข้มข้น 6.25 ถึง 500 ไมโครกรัม/มิลลิลิตรไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ จากนั้นจึงทำการพัฒนาอิมัลเจลที่มีส่วนผสมของสารสกัดหอมแดงปริมาณ 5 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก และศึกษาความคงตัว อิมัลเจลมีความคงตัวเมื่อผ่านกระบวนการปั่นเหวี่ยงที่ 6000 รอบต่อนาที เป็นเวลา 30 นาที จำนวน 8 รอบ และภายใต้สภาวะร้อนสลับเย็น ที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส 2 วัน สลับกับอุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส 2 วัน คิดเป็น 1 รอบ เป็นจำนวน 6 รอบ จากนั้นอิมัลเจลถูกเก็บภายใต้สภาวะเร่งที่อุณหภูมิ 30 และ 40 องศาเซลเซียส ที่ความชื้นสัมพัทธ์ 75 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 3 เดือน เพื่อทดสอบความคงตัวและปริมาณควอเซติน ผลการทดลองพบว่า อิมัลเจลมีความคงตัว และยังพบว่าปริมาณสารสำคัญ ควอเซติน ไม่เปลี่ยนแปลงภายในเวลา 3 เดือน สูตรตำรับอิมัลเจลที่มีส่วนผสมของสารสกัดหอมแดงนั้น ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองบนอาสาสมัครจำนวน 20 คน ดังนั้นสูตรตำรับอิมัลเจลที่มีส่วนผสมของสารสกัดหอมแดง มีความคงตัวที่ดีภายใต้สภาวะเร่ง และไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวมนุษย์
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2012
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Pharmaceutical Technology
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36450
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.838
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.838
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wirut_ji.pdf2.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.