Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36463
Title: ประสิทธิผลของการปฏิบัติการพยาบาลต่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพของผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่ได้รับเครื่องช่วยหายใจ : การวิเคราะห์อภิมาน
Other Titles: The effectiveness of nursing interventions on health outcomes of adult patients with mechanical ventilators : a meta-analysis
Authors: สุนันญา พรมตวง
Advisors: ชนกพร จิตปัญญา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Chanokporn.J@Chula.ac.th
Subjects: การวิเคราะห์อภิมาน
ผู้ป่วย -- สุขภาพและอนามัย
การพยาบาล
เครื่องช่วยหายใจ
Meta-analysis
Patients -- Health and hygiene
Nursing
Respirators (Medical equipment)
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิเคราะห์อภิมานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่ออธิบายคุณลักษณะของงานวิจัยที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการพยาบาลของผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ 2) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าขนาดอิทธิพลของการปฏิบัติการพยาบาลต่อผลลัพธ์ทางสุขภาพของผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ 3) เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะของงานวิจัยที่มีผลต่อความแปรปรวนของค่าขนาดอิทธิพลของการปฏิบัติการพยาบาลต่อผลลัพธ์ทางสุขภาพของผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ โดยศึกษาจากวิทยานิพนธ์และรายงานการวิจัย ระหว่างปี พ.ศ. 2528-2553 จำนวน 30 เรื่อง เครื่องมือที่นำมาใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสรุปคุณลักษณะงานวิจัย และแบบประเมินคุณภาพงานวิจัย ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา หาความเที่ยง และนำข้อมูลไปคำนวณค่าขนาดอิทธิพลตามแนวทางของ Borenstein และคณะ (2009) ร่วมกับวิเคราะห์ตามวิธีการวิเคราะห์อภิมานของ Glass, McGaw, & Smith (1981) ได้ค่าขนาดอิทธิพล 155 ค่า ผลการสังเคราะห์สรุปได้ดังนี้ 1. งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์เกือบทั้งหมดเป็นวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต (96.67%) ในสาขาพยาบาลศาสตร์ (96.67%) ตีพิมพ์เผยแพร่มากที่สุดในระหว่างปี พ.ศ. 2546-2550 (46.66%) คุณภาพโดยรวมของงานวิจัยส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี (60.00%) รูปแบบการวิจัยทั้งหมดเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง และเลือก กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (100%) การปฏิบัติการพยาบาลที่นำมาศึกษามากที่สุด คือ ด้านพฤติกรรม (56.67%) โดยส่วนใหญ่เน้นการให้ข้อมูล ผลลัพธ์ทางสุขภาพที่นำมาศึกษามากที่สุด คือ ผลลัพธ์ทางสุขภาพด้านสรีรวิทยา (56.67%) 2. การปฏิบัติการพยาบาลด้านพฤติกรรม เรื่องการใช้รูปแบบการสื่อสาร ให้ค่าขนาดอิทธิพลเฉลี่ยสูงที่สุด (d = 7.30) ต่อผลลัพธ์ทางสุขภาพด้านจิตสังคม และการปฏิบัติการพยาบาลด้านพฤติกรรม เรื่องการทำสมาธิ ให้ค่าขนาดอิทธิพลเฉลี่ยต่ำที่สุด (d = -0.12) ต่อผลลัพธ์ทางสุขภาพด้านสรีรวิทยา 3. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับค่าขนาดอิทธิพล ได้แก่ ประเภทเครื่องมือ, การสร้างเครื่องมือ, การจัดกลุ่มตัวอย่างเข้าสู่การทดลอง, ลักษณะการเจ็บป่วย, ประเภทสถิติที่ใช้, ค่าความเที่ยง, จำนวนกลุ่มตัวอย่าง,ระยะเวลาที่ทำการทดลองต่อครั้ง (หน่วยเป็นนาที) และจำนวนครั้งของการเก็บข้อมูลหลังการทดลอง โดยตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัย 4 ตัวแปร ได้แก่ ประเภทเครื่องมือ ระยะเวลาที่ทำการทดลองต่อครั้ง (หน่วยเป็นนาที) ค่าความเที่ยง และการจัดกลุ่มตัวอย่างเข้าสู่การทดลอง มีประสิทธิภาพการทำนายพยากรณ์ค่าขนาดอิทธิพลได้ร้อยละ 37.9 (R² = 0.379)
Other Abstract: The purpose of this meta-analysis were 1) to study methodological and substantive characteristic of nursing interventions on health outcomes of patients with mechanical ventilators. 2) to compare the effect size of nursing interventions on health outcomes of patients with mechanical ventilators. 3) to determine the effect size influences of methodological and substantive characteristics. Thirty studies conducted in Thailand between 1985 and 2010 were recruited. The selected studies were analyzed for general, methodological, and substantive characteristics. The effect size for each study was calculated using method of Borenstein et al. (2009) and analyzed by using Glass, McGaw, and Smith (1981). This meta-analysis yielded 155 effect sizes. The results of this meta-analysis were as follows: 1. The majority of these studies were Master’ s theses in the field of nursing science (96.67%). Almost half of the studies (46.66%) were published between 2003 and 2007. Most of research studies were good (60.00%). All of research studies were quasi-experimental research. In addition, most of health outcomes investigated in the studies were physiological outcome. Most (56.67%) of the nursing interventions involved the behavioral intervention focusing on an information program. 2. The behavioral nursing intervention regarding the communication yielded the largest effect size (d = 7.30) on psychosocial health, while the behavioral nursing intervention regarding meditation revealed the small effect size (d = -0.12) on physiological health. 3. The variables that could co-predict the effect sizes were type of instrument, duration of each experiment (in seconds), reliability of instrument and the way sample were assigned to study which can predict 37.9% of variance in effect sizes (R² = 0.379).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36463
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1201
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1201
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sunanya_pr.pdf2.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.