Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36539
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปิ่นรัชฎ์ กาญจนัษฐิติ-
dc.contributor.authorวสุ โปษยะนันทน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)-
dc.coverage.spatialสระแก้ว-
dc.date.accessioned2013-11-02T08:11:30Z-
dc.date.available2013-11-02T08:11:30Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36539-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์เล่มนี้เป็นการวิจัยเกี่ยวกับวิธีการอนุรักษ์โบราณสถานประเภทหินที่เรียกว่า “อนัสติโล ซิส” โดยการวิจัยมีเป้าหมายที่จะหาแนวทางในการดำเนินการที่เหมาะสมกับสังคมในปัจจุบัน เพื่อ แก้ปัญหาที่กำลังประสบอยู่จากการปฏิบัติงานของกรมศิลปากร เพื่อกำหนดแนวคิดที่นำมาใช้ในการ อนุรักษ์ เพื่อประเมินผลการบูรณะ ศึกษาสภาพปัญหาและเก็บข้อมูลจากการบูรณะที่ปราสาทประธานซึ่ง จะใช้เป็นโมเดลทดสอบสมมติฐาน และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์นำมาสรุปเป็นข้อเสนอแนะสำหรับการ บูรณะในโครงการ ซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์สำหรับการบูรณะปราสาทหินแหล่งอื่นๆ ต่อไปด้วย ขอบเขตของการวิจัยจึงอยู่ภายใต้กรอบของการอนุรักษ์โบราณสถานด้วยวิธีอนัสติโลซิส เน้นพื้นที่ ศึกษาที่การดำเนินการบูรณะที่ปราสาทสด๊กก๊อกธม ในเรื่องแนวความคิดของการอนุรักษ์มีสมมติฐานที่จะ ค้นพบความสมดุลระหว่างการรักษา ความแท้ และ การสื่อความหมาย คุณค่าของโบราณสถานที่จะ ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่มรดกวัฒนธรรม วิธีการวิจัยได้เริ่มต้นจาก การทบทวน สารสนเทศงานวิจัยที่ เกี่ยวข้อง งานศึกษาในช่วงก่อนหน้านี้ของผู้วิจัยเกี่ยวกับอนัสติโลซิส รวบรวมข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้อง ทั้งหมด รวมทั้งแนวคิดของ ดร.สัญชัย หมายมั่น ผู้เป็นสัญลักษณ์ของการอนุรักษ์ปราสาทหินในประเทศ ไทย ขั้นตอนต่อมาคือการศึกษาในพื้นที่ปราสาทสด๊กก๊อกธม โดยการสำรวจและวิเคราะห์การดำเนินการ บูรณะที่ได้ดำเนินการมาทั้งในแง่การบริหารจัดการและด้านเทคนิควิธีการ นำมาสู่กรณีของการบูรณะ ปราสาทประธาน ซึ่งผู้วิจัยต้องการนำเสนอและวิเคราะห์แนวคิดในการบูรณะบนพื้นฐานของประเด็นความ แท้ และการสื่อความหมาย และขั้นตอนสุดท้ายได้แก่ การสรุปเป็นข้อเสนอแนะสำหรับการบูรณะปราสาท สด๊กก๊อกธมและโบราณสถานอื่นๆ ผลการวิจัยสรุปได้ว่าในการดำเนินการที่ปราสาทประธาน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของโบราณสถาน ได้ทดลองนำแนวคิดด้านการสื่อความหมายมาผสานหาสมดุลกับความแท้ ตามทิศทางของแนวคิดการ อนุรักษ์ที่ได้เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน และกำหนดขั้นตอนวิธีการทำงานเพิ่มเติมขึ้นเพื่อจะได้แก้ปัญหา ต่างๆที่เกิดขึ้นในอดีตถือว่าได้บรรลุตามเป้าหมาย สามารถสื่อสารให้ผู้มาเยี่ยมชมได้เข้าใจถึงคุณค่าและ ความหมายของโบราณสถานได้เป็นอย่างดี เป็นพัฒนาการของแนวทางที่นำมาใช้เป็นตัวกำหนดในการ ออกแบบอนุรักษ์ อย่างไรก็ตามในรายละเอียดยังคงมีปัญหาที่จะต้องแก้ไขอยู่ ซึ่งได้สรุปไว้เป็นข้อเสนอแนะ ต่อกรมศิลปากรสำหรับการปรับแก้ไขและใช้กับแหล่งโบราณสถานประเภทหินอื่นๆ ที่มีปัจจัยแวดล้อมใน ลักษณะเดียวกันต่อไป ทั้งทางด้านการบริหารจัดการ แนวความคิดในการอนุรักษ์ และในแต่ละขั้นตอนของ การทำงานen_US
dc.description.abstractalternativeThis thesis is the result from research on a method for conservation of stone monuments called “Anastylosis”, which aimed to find appropriate means to solve problems that the Fine Arts Department has encountered, particularly the restoration of Sdok Kok Thom Temple; and to determine concepts to be applied to conservation based on theories, concepts on anastylosis and conservation of stone sanctuaries, in order to study the problems and collect information and data from the restoration of the main sanctuary, a model for experimentation of hypothesis from which the results were analyzed and concluded to provide recommendations for restoration of future phases of the project, which may also be useful for restoration of other stone monuments. As for concepts of conservation, the hypothesis was set to find a balance between conservation of authenticity and interpretation. The research method began by revising relevant information and researches, collecting all relevant documents. The next step was the study of Sdok Kok Thom site by survey and analysis of past restoration works, both in terms of management and techniques, before proceeding to the case study on restoration of the main sanctuary. The final step was the conclusion and proposal of recommendations for restoration of Sdok Kok Thom Temple and other monuments. The results were concluded that the practice on the main sanctuary, which had experimented on the integration of interpretation into authenticity to find balance, and determining additional methods and working procedures, has achieved its aim that the monument is being comprehensible to the visitors who perceive the values and meaning of the monument satisfactorily, which is a development of concepts used for determining conservation design. Nevertheless, in detail, there still are certain problems to be solved that the researcher has concluded as recommendations to the Fine Arts Department, which could be adapted and also applied to other stone monuments.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.244-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectปราสาทหิน -- การอนุรักษ์และการบำรุงรักษาen_US
dc.subjectสถาปัตยกรรม -- การอนุรักษ์และการบำรุงรักษาen_US
dc.subjectศิลปกรรมขอม -- ไทยen_US
dc.subjectปราสาทหิน -- ไทย -- สระแก้วen_US
dc.subjectปราสาทสด๊กก๊อกธมen_US
dc.subjectสระแก้ว -- โบราณสถานen_US
dc.subjectSdok kok Thom Templeen_US
dc.subjectArt, Khmer -- Thailand -- Sa Kaeoen_US
dc.subjectArchitecture -- conservation and restorationen_US
dc.titleอนัสติโลซิสเพื่อการบูรณะปราสาทสด๊กก๊อกธมen_US
dc.title.alternativeAn anastylosis for the restoration of sdok kok thom templeen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPinraj.K@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.244-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
vasu_po.pdf29.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.