Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36565
Title: การศึกษาความเป็นไปได้ของการส่งผ่านสัญญาณ 40 กิกะบิตต่อวินาทีบนโครงข่ายเชิงแสงแบบพาสซีฟโดยใช้การมอดูเลตสัญญาณแบบโอโอเค ดีพีเอสเค ดีคิวพีเอสเค และเอ็นคิวเอเอ็ม
Other Titles: Feasibility study of 40-Gbps signal transmission over passive optical network using OOK, DPSK, DQPSK and n-QAM modulation schemes
Authors: วราภรณ์ เกตุอุไร
Advisors: พสุ แก้วปลั่ง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Pasu.K@chula.ac.th
Subjects: โครงข่ายเชิงแสงแบบพาสซีฟ
ระบบสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารด้วยระบบดิจิตอล
โมดูเลชัน
ดิจิทัลโมดูเลชัน
Passive optical networks
Data transmission systems
Digital communications
Modulation (Electronics)
Digital modulation
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดของความผิดเพี้ยนของสัญญาณในการสื่อสัญญาณผ่านเส้นใยแสง เนื่องจากการลดทอนกำลังของสัญญาณ ดิสเพอร์ชัน PMDและผลของความไม่เป็นเชิงเส้นของเส้นใยแสง นอกจากนี้การวิเคราะห์ที่นำเสนอประกอบด้วย การคำนวณหาค่าระยะทางสูงสุดที่จะให้บริการได้สำหรับโครงข่ายเชิงแสงแบบพาสซีฟที่ได้รับผลกระทบจากความผิดเพี้ยนของสัญญาณจากปัจจัยข้างต้น โดยการตรวจสอบความถูกต้องของผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์ในเชิงคณิตศาสตร์ ทำโดยการจำลองทางคอมพิวเตอร์ของระบบการสื่อสัญญาณแสงที่มีการมอดูเลตสัญญาณแบบต่างๆ ที่กำหนดพารามิเตอร์เช่นเดียวกับการวิเคราะห์ในเชิงคณิตศาสตร์ เช่น ชนิดของเส้นใยแสง ความยาวคลื่น และระยะทาง โดยที่ค่า bit error rate (BER) ถูกใช้สำหรับประเมินความถูกต้องของผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณทางทฤษฎีเทียบกับผลลัพธ์ที่ได้จากการจำลองระบบ ผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์พบว่าค่าความผิดเพี้ยนของสัญญาณขึ้นอยู่กับ ค่าดิสเพอร์ชัน และค่าการลดทอนกำลังของสัญญาณ โดยมีผลกระทบของดิสเพอร์ชันเป็นผลกระทบหลักต่อความผิดเพี้ยนของสัญญาณเมื่อเทียบกับผลของการลดทอนกำลังของสัญญาณ, PMD และ ผลของความไม่เป็นเชิงเส้นของเส้นใยแสง วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอสมรรถนะในการส่งผ่านสัญญาณของระบบ PON ที่อัตราข้อมูล 40 กิกกะบิตต่อวินาที ที่มีการมอดูเลตสัญญาณแบบ NRZ-OOK, RZ-OOK, NRZ-DPSK, RZ-DPSK, NRZ-DQPSK, RZ-DQPSK และ QAM รวมไปถึงการแก้ไขปัญหาดิสเพอร์ชันโดยการติดตั้งหน่วยชดเชยดิสเพอร์ชันในระบบ (SC-DCU) ทำให้สามารถส่งผ่านสัญญาณได้เป็นระยะ 20 กิโลเมตรที่อัตราผิดพลาดบิตต่ำกว่า 10⁻³ (โดยยังไม่ผ่านการแก้ไขความผิดพลาดแบบล่วงหน้า: FEC ) โดยการศึกษาในวิทยานิพนธ์นี้ สามารถนำไปประยุกต์ในการหาความผิดเพี้ยนของการสื่อสัญญาณผ่านระบบการสื่อสัญญาณทางแสงผ่านโครงข่ายเชิงแสงแบบพาสซีฟ และนำเสนอแนวทางการออกแบบระบบโครงข่ายเชิงแสงแบบพาสซีฟที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
Other Abstract: This thesis provides the study on the anc alysis of signal distortion of optical modulation in optical transmission due to attenuation, dispersion, PMD and non-linerity effect. For the dispersion effect. Moreover, the mathematical analysis includes the estimation of the maximum signal transmission length resulted from attenuation, dispersion, PMD and non-linerity effect. To verify the accuracy of the mathematical analysis results, the computer simulations of optical signal transmission are performed under identical parameters used for the mathematical analysis, such as optical fiber types, wavelength, and transmission distance. The bit error rate (BER) is used to evaluate the accuracy of the results obtained from the mathematical calculation when comparing to those obtained from the computer simulations. According to the analysis results, the amount of signal distortion depends on dispersion and attenuation parameters, and it is obvious that dispersion effect dominantly affects the transmission length, comparing with attenuation, PMD and non-linearity effect. This thesis demonstrates the feasibility of 40-Gbps signal transmission over PON based on the NRZ-OOK, RZ-OOK, NRZ-DPSK, RZ-DPSK, NRZ-DQPSK, RZ-DQPSK and QAM modulation formats. And also, provides dispersion compensation method by employed a slope-compensated dispersion compensating unit (SC-DCU) inline. We can extend the reach up to 20 km with the BER smaller than 10⁻³ (without FEC). The results of the study in this thesis can be applied for the determination of the signal distortion in optical transmission systems, so that to perform a most effective PON system.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36565
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1591
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1591
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
varporn_kt.pdf8.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.