Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36630
Title: | การปรับปรุงกระบวนการทดสอบฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟเพื่อลดข้อบกพร่องประเภทการอ่าน/เขียนสัญญาณบกพร่องของหัวอ่าน/เขียน |
Other Titles: | Improvement of hard disk drive testing process to reduce poor on-track read/write signal defect of read/write head |
Authors: | ธีรนพ สุขอารมณ์ |
Advisors: | ปารเมศ ชุติมา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Parames.C@Chula.ac.th |
Subjects: | ฮาร์ดดิสก์ อุปกรณ์หน่วยเก็บ Hard disks (Computer science) Computer storage devices |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดข้อบกพร่องประเภทการอ่าน/เขียนสัญญาณบกพร่องของหัวอ่าน/เขียน ในระหว่างการตรวจสอบคุณภาพก่อนส่งผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้า โดยนำวิธีการปรับปรุงกระบวนการผลิตตามแนวทางซิกซ์ ซิกมา มาประยุกต์ใช้เพื่อศึกษาหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อจำนวนการกระตุกของสัญญาณภายหลังการอ่านสัญญาณกลับ และหาเงื่อนไขที่เหมาะสมของปัจจัยดังกล่าวในกระบวนการผลิตที่จะทำให้ผลกระทบทางด้านการกระตุกของสัญญาณภายหลังการอ่านสัญญาณกลับลดลง โดยมีเป้าหมายในการปรับปรุงให้ลดลงต่ำกว่า 300 DPPM ผลของงานวิจัยที่ทำการศึกษาพบว่า ในส่วนของปัจจัยนำเข้าแบบแปรผัน เมื่อกำหนดระดับความต่างของสัญญาณในระหว่างการทดสอบที่ 43 DAC ความถี่ในการเขียนสัญญาณที่ 4T (125 เมกะเฮิรตซ์) และอุณหภูมิในระหว่างการทดสอบที่ 32 องศาเซลเซียส พร้อมกับทางด้านปัจจัยแบบคุณลักษณะที่กำหนดให้มีการระบุตำแหน่งของร่องรอยความบกพร่องบนแผ่นเก็บข้อมูลก่อนการทดสอบอ่าน/เขียน จึงทำให้จำนวนการกระตุกของสัญญาณภายหลังการอ่านสัญญาณกลับ มีค่าลดลงตามเป้าหมาย และเมื่อนำผลิตภัณฑ์ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟภายหลังการปรับปรุงกระบวนการดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบคุณภาพภายหลังการผลิต พบว่าผลิตภัณฑ์มีค่า DPPM ก่อนการปรับปรุงจาก 633 DPPM ลดลงเหลือ 287 DPPM คิดเป็น 54.67% ที่ลดลง และคาดการณ์ว่ามูลค่าต้นทุนความสูญเสียรวมจะลดลงประมาณ 11,805,505 บาทต่อปี |
Other Abstract: | The objective of this research is to reduce the Poor On-Track Read/Write Signal Defect on Hard Disk Drive at Quality Inspectation by applying Six Sigma Approach to study factors that influence the number of Poping signal on Read-back Signal execution and identify optimum condition in order to reduce defective signals. The expectation of the target is to reduce DPPM to the value less than 300 DPPM. It was found that in terms of Quantitative (variable) Input Setting once the Threshold during the test was set at 43 DAC, Frequency at 4T (125 MHz) and defined the Temperature during the test at 32 degree Celsius. For those together with Qualitative Input Setting by having Defect Management on media applied prior the Read/Write Signal Testing, that will cause the defect signal (Poping) reduce significantly during Read-back Signal execution. After that the goods are brought to Final Quality Audit test (FQA). The improvement results in 54.67% defect reduction (from 633 DPPM to 287 DPPM) which can be converted into net saving of 11,805,505 baht per annum. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมอุตสาหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36630 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1536 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.1536 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
theeranop_su.pdf | 3.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.