Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36635
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชาญชัย บุญหล้า-
dc.contributor.advisorปิยะรัตน์ โตสุโขวงศ์-
dc.contributor.advisorปาจรีย์ ลิลิตการตกุล-
dc.contributor.authorพูนสิน พวงไพโรจน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทย์ศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-11-11T08:44:24Z-
dc.date.available2013-11-11T08:44:24Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36635-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en_US
dc.description.abstractภาวะที่มีปริมาณของซิเทรตในปัสสาวะต่ำ (hypocitrauria) และโพแทสเซียมในปัสสาวะต่ำ (hypokaliuria) เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคนิ่วไต นอกจากนี้พบว่าผู้ป่วยนิ่วไตจะมีภาวะเครียดจากออกซิเดชั่น (oxidative stress) เพิ่มขึ้น จากการศึกษาเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากมะนาว เป็นสูตรมะนาวผง (lime powder regimen, LPR) พบว่า LPR สามารถเพิ่มระดับของซิเทรต และโพแทสเซียมในปัสสาวะสูงขึ้น และลดการเกิด oxidative stress ในผู้ป่วยโรคนิ่วไต ผู้วิจัยเห็นว่า LPR มีคุณสมบัติสามารถนำมาใช้รักษาผู้ป่วยโรคนิ่วไตได้ การศึกษาวิจัยนี้วิเคราะห์องค์ประกอบทางโภชนาการ และสารโลหะหนักใน LPR ด้วยเครื่อง ICP-OES วิเคราะห์ความเป็นพิษของ LPR ต่อเซลล์บุท่อไต (human kidney, HK-2 cells) และหนูถีบจักร ศึกษาผลของ LPR ต่อการการเปลี่ยนแปลงของซิเทรตในเลือดและปัสสาวะ ความเป็นด่าง โพแทสเซียม และสารต้านอนุมูลอิสระในปัสสาวะในอาสาสมัคร (n=13) ผลวิเคราะห์องค์ประกอบทางโภชนาการของ LPR พบว่า มีปริมาณโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และพลังงานทั้งหมด 3.30, 65.56, 0.94 กรัมต่อ 100 กรัม และ 283.9 กิโลแคลอรี่ต่อ 100 กรัม ตามลำดับ และองค์ประกอบสารโลหะหนักของ LPR ได้แก่ อาร์ซินิก แคดเมียม ตะกั่ว โครเมียม โคบอลต์ และนิกเกล อยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่ามาตราฐานอ้างอิงที่กำหนดไว้ (WHO/FDA) จากผลของ LPR ต่ออัตราการมีชีวิตของ HK-2 cells โดยวิธี MTT assay ที่ความเข้มข้นน้อยกว่า 100 mg% ของ LPR ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญต่อการลดลงของ HK-2 cells จากการทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันของ LPR ในหนูถีบจักร พบว่าค่า LD50 น้อยว่า 10 กรัมต่อกิโลกรัม บ่งชี้ให้เห็นว่า LPR มีความเป็นพิษต่ำมาก และจากผลการศึกษาในอาสาสมัคร LPR สามารถเพิ่มปริมาณของซิเทรตในเลือดและปัสสาวะ ปริมาณโพแทสเซียม ความเป็นด่าง และสารต้านอนุมูลอิสระในปัสสาวะ และไม่พบความผิดปกติใดๆ ในอาสาสมัคร สรุปจากการศึกษาผลต่างๆ ของ LPR ไม่พบสารโลหะหนักเกินค่ามาตรฐานที่กำหนด จากการศึกษาในระดับเซลล์ และสัตว์ทดลองไม่พบความเป็นพิษ และจากการศึกษาในอาสาสมัคร LPR สามารถลดการเกิดภาวะ hypocitrauria hypokaliuria และ oxidative stress แสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติความเป็นยาที่เหมาะสมต่อการนำมาใช้รักษาผู้ป่วยโรคนิ่วไต อีกทั้งยังไม่มีผลข้างเคียงต่อร่างกาย ดังนั้นจากการศึกษาคุณสมบัติของ LPR ในครั้งนี้ สามารถนำไปพัฒนาและศึกษาต่อใน clinical trial phase 2 เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคนิ่วไตต่อไปen_US
dc.description.abstractalternativeLow urinary excretions of citrate (hypocitrauria) and potassium (hypokaliuria) are major risk factors for kidney stone formation in Thai patients. Increased oxidative stress is also frequently found in these patients. Our preliminary study demonstrated that the in-house limeade-based product, called lime powder regimen (LPR) was capable of increasing urinary citrate and potassium, as well as reducing oxidative stress in kidney stone patients, and we proposed that LPR could be an option for kidney stone treatment. In this study, nutritional and toxic metal (by ICP-OES) contents in LPR were determined. Toxic potential of LPR was evaluated in human kidney (HK-2) cells and mice. Citraturic, kaliuric, alkalinizing and antioxidative responses of LPR in healthy volunteers (n=13) were investigated. Total protein, carbohydrate, fat and energy of LPR were 3.30 g, 65.56 g, 0.94 g and 283.90 kcal per 100 g of LPR, respectively. Contents of arsenic, cadmium, lead, chromium, cobalt and nickel in LPR were below the maximum permissible limits given by WHO/FDA. MTT assay showed that LPR at concentration of <100 mg% did not significantly alter viability of HK-2 cells. Acute toxicity of LPR tested in mice revealed an LD50 of >10 g/kg, indicating very low toxic potential. In 13 healthy volunteers, LPR was capable of boosting plasma citrate and urinary citrate, potassium, pH and total antioxidant status with no side effect and complaint. Conclusively, toxic metals in LPR were not exceeding the permissible limit. There was no significant toxic effect of LPR observed in cell culture and animal models. In trialed healthy individuals, LPR provided a medicinal quality in reducing hypocitraturia, hypokaliuria and oxidative stress, which might be beneficial for kidney stone treatment. In addition, no acute/serious adverse events were observed. Therefore, LPR is a safe and promising regimen for further testing its therapeutic efficacy in kidney stone patients, phase 2 clinical trial.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1233-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectนิ่วไตen_US
dc.subjectภาวะเครียดออกซิเดชันen_US
dc.subjectซิเทรตen_US
dc.subjectกรดมะนาวen_US
dc.subjectKidneys -- Calculien_US
dc.subjectOxidative stressen_US
dc.subjectCitratesen_US
dc.subjectCitric aciden_US
dc.titleผลทางยาของสูตรมะนาวผงต่อเซลล์บุท่อไตที่ถูกกระตุ้นด้วยผลึกนิ่ว และผลของสูตรมะนาวผงต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับซิเทรต และภาวะต้านอนุมูลอิสระในอาสาสมัครสุขภาพดีen_US
dc.title.alternativeMedicinal effect of lime powder regimen in HK-2 cells exposed to lithogenic crystals and its citraturic and antioxidative responses in healthy volunteersen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineชีวเคมีทางการแพทย์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorChanchai.B@Chula.ac.th-
dc.email.advisorPiyarat.T@Chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1233-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
poonsin_po.pdf3.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.