Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36679
Title: การตรวจสอบตนเองด้วยความสมัครใจด้านศุลกากร
Other Titles: Voluntary audit customs perspective
Authors: บุญยกร พนมอุปการ
Advisors: เอื้ออารีย์ อึ้งจะนิล
กฤติกา ปั้นประเสริฐ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: No information provided
No information provided
Subjects: ศุลกากร
ภาษี
อากร
นิรโทษกรรม
กฎหมายศุลกากร
Taxation
Amnesty
Customs law
Customs administration
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากการศึกษาการใช้มาตรการการตรวจสอบตนเองด้วยความสมัครใจ (Voluntary Audit) ในปัจจุบันพบว่าวิธีการที่ใช้อยู่ยังไม่มีความเหมาะสมที่จะนำมาบังคับใช้ เนื่องจากการตรวจสอบตนเองด้วยความสมัครใจที่กรมศุลกากรนำมาใช้นั้นมีเนื้อหาสาระเป็นการนิรโทษกรรมทางภาษี (Tax Amnesty) ที่จะต้องมีกฎหมายกำหนดให้อำนาจและวิธีปฏิบัติที่ชัดเจน ตลอดการนำมาใช้จะต้องมีกรอบหรือขอบเขตที่เหมาะสม จึงจะก่อให้เกิดประโยชน์ตามความมุ่งหมายของการนิรโทษกรรมทางภาษีและสอดคล้องกับหลักการภาษีอากรที่ดี จึงต้องมีการปรับปรุงการใช้มาตรการการตรวจสอบตนเองด้วยความสมัครใจ (Voluntary Audit) โดยศึกษาเปรียบเทียบกับการนิรโทษกรรมทางภาษีอากรของกรมสรรพากร และมาตรการการตรวจสอบตนเองด้วยความสมัครใจ (Voluntary Audit) ในองค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) และประเทศแคนาดา ผลจากการศึกษาแสดงว่าการใช้มาตรการการตรวจสอบตนเองด้วยความสมัครใจ (Voluntary Audit) ของกรมศุลกากรจะต้องมีการปรับปรุงในเรื่องของการออกมาตรการดังกล่าวให้สอดคล้องกับหลักความชอบด้วยกฎหมายภาษีอากรโดยมีกฎหมายรองรับมาตรการอย่างชัดเจน และกำหนดขอบเขตของการใช้มาตรการอย่างจำกัดเท่าที่จำเป็น เพื่อให้สอดคล้องกับความมุ่งหมายของการนิรโทษกรรมทางภาษีอากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้า ตลอดจนสอดคล้องกับหลักการสากลด้วย
Other Abstract: According to the study of the Voluntary Audit Measures Application recently, the measures is not appropriate to be enforced as such. Since the Voluntary Audit Measure which the Customs Department employed has the nature of Tax Amnesty that must be empowered by Law providing the authority and clear, within throughout appropriate frameworks and scope of the application, for the purpose of the Tax Amnesty, to be fulfilled and conform with The Principles of Good Tax Administration. This study to reform the application of Voluntary Audit Measure, is done by comparing with The Tax Amnesty Measure of Revenue Department and the Voluntary Audit Measure of World Trade Organization (WTO) and that of Canada. The outcome of the study indicated clearly that the Application of the Customs Department Measure, on Voluntary Audit, need to be supported by law empowering to the issuance of the measures to comply with the principles of the taxation legitimate. The measures must be clear and based on law and the application of the measure must designate limited framework as necessary, to conform with the intention of the Tax Amnesty, and expedite to the commercial community along the line of the international principles.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กฎหมายการเงินและภาษีอากร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36679
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1550
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1550
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
bunyakon_ph.pdf1.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.