Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36759
Title: การหมุนเวียนสร้างตะกอนเฟอริกไฮดรอกไซด์ผ่านระบบบำบัดน้ำเสียแบบไร้อากาศและเติมอากาศ
Other Titles: Regeneration of ferric hydroxide floc through anaerobic and aerobic wastewater treatment process
Authors: ภัทรา ธรรมาพิมล
Advisors: ศรัณย์ เตชะเสน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Sarun.T@Chula.ac.th
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด -- วิธีแบบไร้ออกซิเจน
น้ำ -- การทำให้บริสุทธิ์ -- การรวมตะกอน
Sewage -- Purification -- Anaerobic treatment
Water -- Purification -- Coagulation
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแนวทางการลดสารช่วยตกตะกอนเฟอริกคลอไรด์ที่นิยมใช้ร่วมกับระบบเอเอสทางชีวภาพ โดยการเพิ่มถังไร้อากาศเพื่อสลายตะกอนเฟอริกไฮดรอกไซด์ และสร้างขึ้นใหม่ในถังเติมอากาศ ผลการศึกษาพบว่า เมื่อนำน้ำทิ้งมาวิเคราะห์ด้วยวิธีจาร์เทสเพื่อหาปริมาณเฟอริกคลอไรด์ที่เหมาะสม โดยควบคุมพีเอชเท่ากับ 8 ความเข้มข้นของเฟอริกคลอไรด์ 200 มก./ล. มีประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดีและความขุ่นได้ร้อยละ 78 และ 98 ตามลำดับ เมื่อนำเฟอริกคลอไรด์เติมในถังเติมอากาศและควบคุมให้มีเหล็กในถังเติมอากาศ 200 มก./ล. พบว่า เฟอริกคลอไรด์ที่มีความเข้มข้น 50 มก./ล. หรือคิดเป็น 75 มก./วัน สามารถควบคุมให้ปริมาณเหล็กทั้งหมดในถังเติมอากาศมีค่าเฉลี่ย 260.76 มก./ล. เฟอรัสไอออนเฉลี่ย 6.14 มก./ล. และเฟอริกไอออนเฉลี่ย 254.62 มก./ล. เมื่อนำน้ำเสียและตะกอนจากถังตกตะกอนผ่านเข้าถังไร้อากาศโดยแปรผันขนาดถังไร้อากาศที่มีระยะเวลากักเก็บน้ำ 48 24 12 6 3 และ 1 ชั่วโมง พบว่า ถังไร้อากาศที่มีระยะเวลากักเก็บน้ำ 48 ชั่วโมง สามารถลดปริมาณเฟอริกคลอไรด์ลงได้จากเดิม 75 มก./วัน เป็น 22.5 มก./วัน และเพิ่มปริมาณขึ้นเป็น 45 และ 49.5 มก./วัน ในถังไร้อากาศที่มีระยะเวลากักเก็บน้ำ 24 และ 12 ชั่วโมง ตามลำดับ และไม่ต้องเติมเฟอริกคลอไรด์ในถังไร้อากาศที่มีระยะเวลากักเก็บน้ำ 6 3 และ 1 ชั่วโมง ตามลำดับ โดยถังไร้อากาศที่มีระยะเวลากักเก็บน้ำ 6 ชั่วโมง ถูกนำมาใช้เพื่อเวียนน้ำจากถังหมักตะกอนไร้อากาศกลับเข้าถังเติมอากาศ พบว่า มีปริมาณเหล็กทั้งหมดในถังเติมอากาศเฉลี่ย 379.12 มก./ล. เฟอรัสไอออนเฉลี่ย 0.29 มก./ล. และเฟอริกไอออนเฉลี่ย 378.83 มก./ล. และเมื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนรูปของเฟอริกไอออนเป็นเฟอรัสไอออนในถังไร้อากาศแบบแบตช์โดยเติมและไม่เติมเมอร์คิวริกคลอไรด์ พบว่าไม่แตกต่างกัน ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นนั้นจึงไม่น่าจะเป็นกระบวนการทางชีวภาพ
Other Abstract: This research studied a biological method to reuse ferric chloride, a common coagulant using with activated sludge process, by an addition of anaerobic tank to dissolve ferric hydroxide floc, which will be reformed in aeration tank. Results showed that by using jar test method, the appropriate pH was 8, and the best efficiency was found with ferric chloride concentration of 200 mg/L, achieving COD and turbidity removals of 78 and 98 percent, respectively. When ferric chloride was added into the aeration tank and total iron was controlled at 200 mg/L, the result found that ferric chloride concentration of 50 mg/L or 75 mg/day can control total iron in the aeration tank at 260.76 mg/L, which were 6.14 mg/L ferrous ion and 254.62 mg/L ferric ion. When wastewater influent and returned sludge were passed through a 48, 24, 12, 6, 3 and 1-hr retention time anaerobic tank prior to aeration tank, results showed that a 48-hr retention time anaerobic tank reduced ferric chloride addition from 75 to 22.5 mg/day and increased the dosages to 45 and 49.5 mg/day in 24 and 12-hr retention time anaerobic tank, respectively. While ferric chloride was not required in 6, 3 and 1-hr retention time anaerobic tank. Anaerobic tank of 6-hr retention time was selected and effluent from anaerobic digester was discharged into the aeration tank, results showed that total iron in the aeration tank was 379.12 mg/L, which were 0.29 mg/L ferrous ion and 378.83 mg/L ferric ion. Similar transformation of ferric ion to ferrous ion was found in batch reactors with and without HgCl2, indicating that this reaction should not be biological process.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.))--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36759
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.753
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.753
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pattra_th.pdf5.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.