Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37222
Title: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความไม่ร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Other Titles: Factors associated with medication nonadherence in patients with parkinson's disease at King Chulalongkorn Memorial Hospital
Authors: โมเรศ ศรีบ้านไผ่
Advisors: สุธาทิพย์ พิชญไพบูลย์
รุ่งโรจน์ พิทยศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: Sutathip.P@Chula.ac.th
Roongroj.B@Chula.ac.th
Subjects: โรคพาร์กินสัน -- การรักษาด้วยยา
ผู้ป่วย -- ความร่วมมือในการรักษา
Parkinson's disease -- Chemotherapy
Patient compliance
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2553 ถึง สิงหาคม 2554 วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความไม่ร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยศึกษาในผู้ป่วยที่เข้ารับบริการที่คลินิกโรคพาร์กินสัน ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง พฤษภาคม 2554 จำนวน 183 ราย ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ป่วย การเก็บข้อมูลจากเวชระเบียน ร่วมกับประเมินความร่วมมือในการใช้ยาด้วย 8-Item Morisky Medication Adherence Scale (MMAS) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ย 65.1 ± 9.7 ปี เป็นเพศหญิง 53% พบการเกิด off time 50.3% และการเกิด dyskinesia 33.9% จำนวนรายการยาเฉลี่ย 6.5 ± 2.9 รายการ เป็นยาต้านพาร์กินสัน 2-4 รายการ ความถี่ในการบริหารยาต่อวันเฉลี่ย 3.9 ± 0.9 ครั้ง ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความร่วมมือในการใช้ยาระดับปานกลาง (44.3%) รูปแบบของความไม่ร่วมมือในการใช้ยาคือบางครั้งลืมรับประทานยา (56.8%) คะแนนภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์เชิงลบกับคะแนนความร่วมมือในการใช้ยา (p<0.01) คะแนนทัศนคติมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคะแนนความร่วมมือในการใช้ยา (p<0.01) คะแนนความร่วมมือในการใช้ยาเฉลี่ยระหว่างกลุ่มผู้ป่วยเพศชายจะต่ำกว่าเพศหญิง (p<0.05) ผู้ป่วยเพศชายมีการรับประทานยาผิดเวลามากกว่าเพศหญิง (p<0.05) ผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าจะมีคะแนนความร่วมมือในการใช้ยาเฉลี่ยต่ำกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะซึมเศร้า (p<0.05) ผู้ป่วยที่มี off time 51-75% ต่อวัน จะมีคะแนนความร่วมมือในการใช้ยาเฉลี่ยต่ำกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ไม่มี off time และมี off time ระดับต่างกัน (p<0.01) และเมื่อวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ พบว่าคะแนนทัศนคติต่อยา การเกิด off time 51-75% ต่อวัน และเพศชาย สามารถทำนายความไม่ร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยโรคพาร์กินสันได้ 22.3% (R² = 0.223) ปัจจัยด้านทัศนคติต่อยาจัดเป็นปัจจัยที่ส่งผลทางบวกต่อความร่วมมือในการใช้ยาซึ่งสามารถแก้ไขได้ ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยเพื่อเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยา จึงควรมุ่งเน้นที่การปรับเปลี่ยนทัศนคติให้เหมาะสมต่อการดูแลรักษาด้วยยาเป็นสำคัญ
Other Abstract: The objective of this descriptive study was to determine factors associated with medication nonadherence in patients with Parkinson’s disease at King Chulalongkorn Memorial hospital. One hundred and eighty-three patients were interviewed and collected data from outpatient chart with the use of 8-Item Morisky Medication Adherence Scale (MMAS) for nonadherence and other psychosocial-spiritual related factors at King Chulalongkorn Memorial hospital during November 2010 to August 2011. They were 65.1 ± 9.7 years on average, 53% were female. Off time and dyskinesia were presented in 50.3% and 33.9% of patients. Average daily medication taken was 6.5 ± 2.9 items which were 2-4 antiparkinsonian drugs and frequency was 3.9 ± 0.9 times/day. Most of them were in a middle level of medication adherence (44.3%). Pattern of nonadherence that was encountered most was “sometime forgetful to take drugs” (56.8%). Medication adherence scores were negatively correlated with depressive scores (p<0.01) and positively correlated with attitude scores (p<0.01). Average adherence scores in male was lower than in female (p<0.05), and mis-timed medication taking in male was more (p<0.05). Depressed patients had lower adherence scores than non-depressed (p<0.05). Patients with off time 51-75% of day had lower adherence scores than other off time groups (p<0.01). Using stepwise multiple regression to analyze the factors, found that attitude scores, off time 51-75% of day, and male status could predict medication nonadherence of 22.3% in patients with Parkinson’s disease (R² = 0.223). Attitude was a positive factor associated with adherence which can be manipulated. Therefore, in order to improve medication adherence, attitude change is important.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรมคลินิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37222
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.798
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.798
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
mores_sr.pdf4.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.