Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37403
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไตรรัตน์ จารุทัศน์-
dc.contributor.authorมนชยา ฟุ้งสิริรัตน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.coverage.spatialสิงห์บุรี-
dc.coverage.spatialปทุมธานี-
dc.date.accessioned2013-12-09T09:25:31Z-
dc.date.available2013-12-09T09:25:31Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37403-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractการศึกษากระบวนการปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัยและลักษณะที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุ ระหว่างจังหวัดสิงห์บุรีและจังหวัดปทุมธานี ถือเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่มีความสำคัญต่อสังคมไทยที่มีลักษณะการสมทบเงินของทางภาครัฐเพื่อการจัดเตรียมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อผู้สูงอายุ เนื่องจากประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างรวดเร็ว โดยที่รูปแบบการสมทบเงินหรือการบริจาคผ่านมูลนิธิเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก มีขั้นตอนหรือกระบวนการในการแจกจ่ายเงินไปในแต่ละภาคส่วนให้แก่ผู้สูงอายุเพื่อนำเงินไปปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัยให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งในงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงลักษณะทางสังคม เศรษฐกิจ ลักษณะสภาพแวดล้อมการอยู่อาศัยและวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุ รวมทั้งศึกษากระบวนการปรับปรุงซ่อมแซมบ้านและลักษณะที่อยู่อาศัยเพื่อผู้สูงอายุ เพื่อนำไปสู่การเสนอแนะแนวทางกระบวนการปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัยและลักษณะที่อยู่อาศัยที่แตกต่างระหว่างจังหวัดสิงห์บุรี และ จังหวัดปทุมธานี เพื่อนำข้อดีที่เกิดขึ้นมาเป็นตัวอย่างและแนวทางในการพัฒนาต่อไป ทางผู้วิจัยได้ทำการคัดเลือกพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการศึกษา คือ พื้นที่ในจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสิงห์บุรี โดยประชากรกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) จังหวัดละ 10 คน และ นักพัฒนาสังคมจังหวัดปทุมธานีและนายช่างฝ่ายโยธาจังหวัดปทุมธานี อีกทั้งสิ้น 10 คนและนักพัฒนาสังคมและฝ่ายช่างองค์การบริหารส่วนตำบลท่างาม จังหวัดสิงห์บุรี อีก 2 คน ผลการศึกษา พบว่า ลักษณะที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุในจังหวัดสิงห์บุรีมีการยกใต้ถุนสูงมาก เนื่องจากระดับน้ำท่วมสูงเป็นเวลานานและมีการปรับปรุงโดยใช้วัสดุพื้นถิ่น (ไม้ไผ่)ส่วนจังหวัดปทุมธานีมีบ้านชั้นเดียวและสองชั้นครึ่งปูนครึ่งไม้ ซึ่งนำไปสู่การใช้สอยพื้นที่และการทำกิจกรรมบริเวณที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุที่ต่างกัน นอกจากนี้กระบวนการปรับปรุงซ่อมแซมระหว่าง 2 จังหวัดที่เกิดขึ้น มีความแตกต่างกัน ทั้งในแง่รูปแบบการเลือกกลุ่มตัวอย่าง จังหวัดสิงห์บุรีมีการทำประชาคมของคนในหมู่บ้าน ในขณะที่ปทุมธานีเป็นการคัดเลือกจากทางสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดปทุมธานี และกระบวนการดำเนินงานของจังหวัดสิงห์บุรีเป็นรูปแบบการขับเคลื่อนโดยองค์การบริหารส่วนตำบล ในขณะที่ปทุมธานีมีกระบวนการดำเนินงานผ่านทางสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดปทุมธานี ซึ่งทั้งสองจังหวัดมีทั้งข้อเด่นและข้อด้อยที่เกิด ในการคำนึงถึงกระบวนการปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัยและลักษณะที่อยู่อาศัย ปัจจัยการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นตัวผลักดันให้เกิดการพัฒนารูปแบบตัวอย่างเพื่อให้เกิดการทำงานที่ร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ส่งผลให้ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์คือผู้ที่ประสบปัญหาจริง มีคุณภาพชีวิตหรือการยกระดับชีวิตที่ดีขึ้น โดยแนวทางกระบวนการปรับปรุงที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่จะเป็นการแนะนำขั้นตอนที่รวดเร็ว ไม่ให้เกิดความล่าช้าในกระบวนการ ซึ่งแนวทางที่เสนอไปจะสัมฤทธิ์ผลได้ก็ต่อเมื่อมีการนำไปสู่การปฏิบัติ จากการศึกษาพบว่าข้อจำกัดของหน่วยงานท้องถิ่นถือเป็นอุปสรรคในการจัดทำ โดยยังขาดความรู้ความเข้าใจแบบก่อสร้าง ดังนั้นแนวทางในการแก้ไข คือ การทำความเข้าใจต่อแบบก่อสร้าง และมีการบริหารจัดการงบประมาณให้เหมาะสม ซึ่งแนวทางการแก้ไขดังกล่าวจะทำให้พื้นที่ศึกษากลายเป็นพื้นที่ต้นแบบทางด้านผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ โดยการต่อยอดงานวิจัยฉบับนี้จะเป็นการติดตามผลกระบวนการดำเนินงานและประเมินความสำเร็จหรือข้อผิดพลาดของโครงการที่เกิดขึ้นจริงen_US
dc.description.abstractalternativeThis study provides a comparison of the processes of improvement of appropriate housing for seniors in Sing buri province and Prathum thani province in Thailand which is an important issue as Thailand has an increasing number of aged members of society. Accordingly, the government has provided funding, including from the Pa foundation, to the appropriate community facilities for the renovation of housing for the elderly. The purpose of this research was to investigate the characteristics of the environment, social circumstances, economic and cultural well-being in communities of the elderly in the two provinces. In addition, it aimed to examine ways to improve appropriate housing for the elderly in order to propose measures in guidelines for further development projects for the elderly in other areas. A sample of 20 seniors (age 60) in Sing buri province and Prathum thani province, 10 social development workers and civil engineers in Prathum thani province and a social development worker and a civil engineer in Tambon Tha Ngam, Sing Buri province were the participants in the study. The study results demonstrated that seniors living in Sing buri province tended to live in raised one storey dwellings because of the lengthy periods of flooding. These houses are made mostly of local materials such as bamboo. In Pathum Thani province homes were either single storey or two storey with the lower in cement and upper made of wood. The differences in homes in Sing buri and Prathum thani province show the different uses of space by the elderly occupants. The target groups were also selected differently: that from Sing buri province came from a village community while the group from Prathum thani province was selected by the Office of Social Development and Human Security. The study implementation was assisted by the local Sing buri Administration (Tambon) while in Prathum thani, the process was implemented through the Office of Social Development and Human Security. In terms of improvement of appropriate housing for elderly, the study found that the participation of the community is a factor that led to success between government and population. As a result, those who benefitted most in terms of quality of life were the elderly who have real problems. The recommendation for guidelines of the process is that steps should be short and avoids delays in implementation in renovation projects. The study found that local authorities were limited in that they lacked knowledge in construction technology. Therefore, it is recommended that an understanding of building and budget management are the solution. Finally, further research should monitor the implementation of housing improvement projects and evaluate their success in actual housing projects.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1086-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectผู้สูงอายุ -- ที่อยู่อาศัย -- ไทย -- สิงห์บุรีen_US
dc.subjectผู้สูงอายุ -- ที่อยู่อาศัย -- ไทย -- ปทุมธานีen_US
dc.subjectผู้สูงอายุ -- เคหะ -- ไทย -- สิงห์บุรีen_US
dc.subjectผู้สูงอายุ -- เคหะ -- ไทย -- ปทุมธานีen_US
dc.subjectOlder people -- Dwellings -- Thailand -- Sing Burien_US
dc.subjectOlder people -- Dwellings -- Thailand -- Pathum Thanien_US
dc.subjectOlder people -- Housing -- Thailand -- Sing Burien_US
dc.subjectOlder people -- Housing -- Thailand -- Pathum Thanien_US
dc.titleเปรียบเทียบกระบวนการปรับปรุงและลักษณะที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุ ระหว่างจังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดปทุมธานีen_US
dc.title.alternativeComparison of the process of improvement of housing for the elderly in Sing buri province and Prathum thani provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorTrirat.j@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.1086-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
monchaya_fu.pdf5.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.