Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37519
Title: Influences of chemicals in surrogate gasohol on glass fiber reinforced nylon 6 composites
Other Titles: อิทธิพลของสารเคมีในตัวแทนน้ำมันแก๊สโซฮอล์ต่อวัสดุประกอบแต่งไนลอน 6 เสริมแรงด้วยเส้นใยแก้ว
Authors: Siriporn Kaensri
Advisors: Varun Taepaisitphongse
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Engineering
Advisor's Email: varun.t@chula.ac.th
Subjects: Gasohol
Fibrous composites
Chemicals
แกสโซฮอล
วัสดุเชิงประกอบเสริมเส้นใย
สารเคมี
Issue Date: 2010
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: In this study, the influence of chemicals in surrogate gasohol on physical, thermal and mechanical properties of glass fiber reinforced nylon 6 (PA6) composites were investigated. Test specimens of neat PA6 and PA6 compound with 15%wt and 30%wt glass fiber were prepared by compression and injection molding machines. These specimens were immersed in isooctane, toluene, aggressive ethanol, and ethanol at room temperature for 16 weeks. The chemicals were changed every 6 weeks. Mass and dimensional stability, heat distortion temperature (HDT), glass transition temperature (Tg), tensile, flexural, compressive and Izod impact properties were investigated. The results showed that the glass fiber provided dimensional stability by restricting the movement of polymer chains. The glass fiber could improve the tensile strength, tensile modulus, flexural strength, flexural modulus, compressive strength and Izod impact strength of PA6/GF composites due to good interfacial bonding between PA6 and GF and stress could transfer to glass fiber. Ethanol and aggressive ethanol significantly affected the physical, thermal, and mechanical properties of neat PA6 and PA6/GF composites more than isooctane and toluene because they could be absorbed into PA6 matrix easier. The thermal and mechanical properties except Izod impact strength of specimens decreased with increased amount of chemicals absorbed. But the effects were reduced in the PA6/GF composites because the fiber glass could reduce the movement of polymer chains. Overall, the effects of gasohol on properties of PA6 were mainly from alcohol component than gasoline component. Therefore, PA6 and PA6/GF composites should be used with gasohol with low ethanol volume content.
Other Abstract: ศึกษาอิทธิพลของสารเคมีในตัวแทนน้ำมันแก๊สโซฮอล์ต่อสมบัติเชิงกายภาพ สมบัติเชิงความร้อน และสมบัติเชิงกลของวัสดุประกอบแต่งไนลอน 6 เสริมแรงด้วยเส้นใยแก้ว ชิ้นงานทดสอบของวัสดุไนลอน 6 และไนลอน 6 เสริมแรงด้วยเส้นใยแก้วในปริมาณ 15% และ 30% โดยน้ำหนักถูกขึ้นรูปด้วยเครื่องอัดขึ้นรูปและเครื่องฉีดขึ้นรูป ชิ้นงานทดสอบถูกแช่ในไอโซออกเทน โทลูอีน แอ็กเกรสซีพเอทานอล และเอทานอล ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 16 สัปดาห์ โดยที่สารเคมีถูกเปลี่ยนทุก 6 สัปดาห์ การเปลี่ยนแปลงด้านน้ำหนักและขนาด อุณหภูมิที่ทำให้วัสดุโก่งตัวภายใต้แรงดัดโค้ง อุณหภูมิแปรสภาพแก้ว สมบัติด้านรับแรงดึง ด้านการบิดงอ ด้านการกดอัด และด้านการกระแทกของชิ้นงานทดสอบถูกวัดผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า เส้นใยแก้วเสริมแรงสามารถปรับปรุงความเสถียรด้านมวลและขนาดของชิ้นงานได้ ด้วยการจำกัดการเคลื่อนไหวของเส้นสายโซ่ของพิลอเมอร์ เส้นใยแก้วเสริมแรงช่วยปรับปรุงความแข็งแรงการรับแรงดึง โมดูลัสการรับแรงดึง ความแข็งแรงการรับแรงดัดโค้ง โมดูลัสการรับแรงดัดโค้ง ความแข็งแรงการรับแรงกด และความแข็งแรงการรับแรงกระแทกแบบไอซอดของวัสดุประกอบแต่งไนลอน 6 เสริมแรงด้วยเส้นใยแก้วได้ เพราะการเชื่อมพันธะอย่างดีตรงพื้นผิวระหว่างไนลอน 6 และเส้นใยแก้วเสริมแรง ซึ่งทำให้ความเค้นสามารถถูกถ่ายโอนไปยังเส้นใยแก้วเสริมแรงได้ เอทานอลและแอ็กเกรสซีพเอทานอลมีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อสมบัติเชิงกายภาพ เชิงความร้อน และเชิงกลของวัสดุไนลอน 6 และวัสดุประกอบแต่งไนลอน 6 เสริมแรงด้วยเส้นใยแก้วมากกว่าไอโซออกเทนและโทลูอีน เพราะเอทานอลและแอ็กเกรสซีพเอทานอลสามารถถูกดูดซับเข้าไปในไนลอน 6 ได้ง่ายกว่า สมบัติเชิงความร้อนและเชิงกลของชิ้นงานทดสอบ ยกเว้นค่าความทนแรงกระแทกแบบไอซอดมีค่าลดลงตามปริมาณสารเคมีที่ถูกดูดซับเข้าไปในชิ้นงาน แต่วัสดุประกอบแต่งไนลอน 6 เสริมแรงด้วยเส้นใยแก้วได้รับผลกระทบน้อยกว่า เพราะเส้นใยแก้วช่วยลดการเคลื่อนไหวของสายโซ่พอลิเมอร์ โดยรวมผลกระทบของแก๊สโซฮอล์ ต่อสมบัติของไนลอน 6 มาจากองค์ประกอบที่เป็นแอลกอฮอล์ ดังนั้นวัสดุประกอบแต่งไนลอน 6 เสริมแรงด้วยเส้นใยแก้วควรถูกใช้กับแก๊สโซฮอล์ที่มีเอทานอลเป็นส่วนผสมในปริมาตรต่ำ
Description: Thesis (M.Eng.)--Chulalongkorn University, 2010
Degree Name: Master of Engineering
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Chemical Engineering
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37519
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.49
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.49
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
siriporn_ka.pdf4.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.