Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37537
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรนุช เศวตรัตนเสถียร-
dc.contributor.authorระวิภร พิมพขันธ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2013-12-17T07:54:06Z-
dc.date.available2013-12-17T07:54:06Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37537-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดบริการอ้างอิงเสมือนของห้องสมุดมหาวิทยาลัยในด้านวัตถุประสงค์ การจัดการ และการให้บริการ รวมถึงปัญหาในการจัดบริการอ้างอิงเสมือนของห้องสมุดมหาวิทยาลัย โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้รับผิดชอบหลักในการจัดบริการอ้างอิงเสมือนในห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่มีฐานะเป็นห้องสมุดกลางและมีการจัดบริการอ้างอิงเสมือน จำนวนทั้งหมด 64 แห่ง ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา จำนวน 45 ชุด (ร้อยละ 70.03) ผลการศึกษา พบว่า ห้องสมุดจำนวนมากที่สุดจัดบริการอ้างอิงเสมือนเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการติดต่อกับบุคลากรที่ให้บริการได้ทุกที่และทุกเวลา ในด้านการจัดการ พบว่า ห้องสมุดส่วนใหญ่ไม่กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการจัดบริการอ้างอิงเสมือน และไม่ใช้งบประมาณในการจัดบริการอ้างอิงเสมือน ทั้งนี้ ห้องสมุดจำนวนมากที่สุด มีบรรณารักษ์ฝ่าย / งานบริการ เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการจัดบริการและให้บริการ สำหรับการประชาสัมพันธ์บริการอ้างอิงเสมือนนั้น ห้องสมุดส่วนใหญ่มีการประชาสัมพันธ์บริการอ้างอิงเสมือน แต่ไม่ประเมินบริการอ้างอิงเสมือน สำหรับด้านการให้บริการ พบว่า ห้องสมุดจำนวนมากที่สุดให้บริการอ้างอิงเสมือนทั้งแบบเอกเทศและแบบความร่วมมือ รวมทั้งเปิดให้บริการทั้งเวลาทำการ และล่วงเวลา ทั้งนี้ ห้องสมุดจำนวนมากที่สุดให้บริการอ้างอิงเสมือนผ่านเทคโนโลยีเว็บ 2.0 โดยเฉพาะเครือข่ายสังคม ส่วนปัญหาในการจัดบริการอ้างอิงเสมือนนั้น พบว่า ปัญหาที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ห้องสมุดกำหนดนโยบายในการจัดบริการอ้างอิงเสมือนไม่ชัดเจนen_US
dc.description.abstractalternativeThis study was a survey research which was aimed to investigate the management of virtual reference service in university libraries, in terms of objectives, management, and service; as well as problems in managing virtual reference service. Sixty-four questionnaires were distributed to collect data from the staff members mainly responsible for managing virtual reference service in university libraries, which were the central libraries where virtual reference service was provided, and fourty-five questionnaires were returned (70.03%). The research findings are as follows: most libraries have managed virtual reference service in order to facilitate their patrons in contacting the staff members who provide the service from anywhere and at anytime. Respecting the issues of management, the majority of libraries do not specify the policy relevant to managing virtual reference service and they do not spend any budget on managing it. Additionally, service librarians are those mainly responsible for managing and providing virtual reference service in most libraries. In regard to virtual reference service promotion, the majority of libraries do promote the service. However, they do not evaluate the service. Concerning the issues of service, most libraries provide both solo and collaborative virtual reference services. They also provide the service both during working hours and overtime. Moreover, they provide the service via Web 2.0 technology, especially social network. In respect of the problems they encounter in managing virtual reference service, the problem receiving the highest mean score is that the library does not specify a clear policy on managing virtual reference service.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1136-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectบริการตอบคำถามแบบอิเล็กทรอนิกส์ (ห้องสมุด) -- ไทย -- การจัดการen_US
dc.subjectบริการตอบคำถาม -- ไทย -- การจัดการen_US
dc.subjectห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา -- บริการตอบคำถาม -- ไทย -- การจัดการen_US
dc.subjectElectronic reference services (Libraries) -- Thailand -- Managementen_US
dc.subjectReference services (Libraries) -- Thailand -- Managementen_US
dc.subjectAcademic libraries -- Reference services -- Thailand -- Managementen_US
dc.titleการจัดบริการอ้างอิงเสมือนในห้องสมุดมหาวิทยาลัยen_US
dc.title.alternativeManaging virtual reference service in university librariesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisororanuch.a@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.1136-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
rawiporn_pi.pdf2.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.