Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3754
Title: ลักษณะความเป็นอมตะของเพลงสุนทราภรณ์
Other Titles: The immortality of Suntharaporn songs
Authors: พิชญ์สินี บำรุงนคร, 2520-
Advisors: กิตติ กันภัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Kitti.G@chula.ac.th
Subjects: วงดนตรีสุนทราภรณ์
เพลงไทยสากล
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าใจถึงคุณลักษณะความเป็นอมตะของเพลงสุนทราภรณ์ และค้นหาปัจจัยที่มีส่วนสร้าง หรือสนับสนุนความเป็นอมตะของเพลงสุนทราภรณ์ ผู้วิจัยใช้เครื่องมือการวิเคราะห์เนื้อหา การสัมภาษณ์กลุ่ม และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก เพื่อทำความเข้าใจคุณลักษณะความเป็นอมตะของเพลงสุนทราภรณ์ การสัมภาษณ์กลุ่ม และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก เพื่อชี้ให้เห็นถึงปัจจัยที่มีส่วนสร้าง หรือสนับสนุนความเป็นอมตะของเพลงสุนทราภรณ์ ผู้วิจัยวิเคราะห์เนื้อหาเพลงสุนทราภรณ์ และข้อมูลจากผู้ฟังเพลงสุนทราภรณ์ บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์เพลงสุนทราภรณ์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านดนตรี และขับร้อง และผู้ดำเนินรายการเพลงสุนทราภรณ์ทางสื่อวิทยุ ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะความเป็นอมตะของเพลงสุนทราภรณ์เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของเพลงซึ่งประกอบด้วยความสอดคล้องระหว่างเนื้อร้องกับทำนอง ความหมายของเพลงซึ่งมีสาระ และรูปแบบการประพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับฉันทลักษณ์ การใช้โวหาร ทำนองและจังหวะที่สื่อความหมายของบทเพลงอย่างสอดคล้องกับอารมณ์ในทำนองและจังหวะประเภทนั้นๆ รวมทั้งการมีพื้นฐานจากดนตรีที่ได้รับความนิยม นอกจากนั้นยังเกี่ยวข้องกับการที่เพลงสุนทราภรณ์มีความลงตัวของสุนทรียภาพ หรือความงามซึ่งประกอบด้วยความไพเราะ ลักษณะซึ่งทำให้ผู้ฟังติดหูได้ง่าย และลักษณะผลงานเพลงในระดับยอดเยี่ยมเป็นสำคัญ ปัจจัยสำคัญที่มีส่วนสร้างหรือสนับสนุนความเป็นอมตะของเพลงสุนทราภรณ์คือนักร้องซึ่งมีลักษณะลีลาการขับร้องละเมียดละไม ลักษณะของน้ำเสียงที่เข้ากับอารมณ์เพลง การใช้ท่วงท่าบนเวทีที่เรียบร้อย และการฝึกซ้อม นักดนตรีซึ่งมีความรู้เฉพาะ พรสวรรค์ และประสบการณ์ทางดนตรีรวมทั้งความสามารถในการทำงานร่วมกับศิลปินท่านอื่นในวงสุนทราภรณ์ ผู้ประพันธ์เนื้อร้องซึ่งมีความรู้ทางภาษาไทย ประสบการณ์ทางการประพันธ์เนื้อร้องและความคุ้นเคยกับตัวโน้ต ผู้สร้างทำนองซึ่งมีความรู้ทางการสร้างทำนอง ความคิดและจินตนาการรวมทั้งความสามารถในการทำงานกับผู้เรียบเรียงเสียงประสาน ผู้เรียบเรียงเสียงประสานซึ่งมีความรู้ทางการเรียบเรียงเสียงประสาน ความคิดและจินตนาการรวมทั้งความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้สร้างทำนอง ครูเพลงซึ่งมีความเชี่ยวชาญทางดนตรีและการขับร้องรวมทั้งความสามารถในการทำงานร่วมกับนักร้องและนักดนตรี สื่อที่เป็นช่องทางการสื่อสาร และการผลิตซ้ำ ผลของการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ความเป็นอมตะมีลักษณะเป็นผลงานทรงคุณค่าที่ศิลปินทิ้งไว้ให้ผู้อื่นจดจำ เพื่อให้ผลงานคงอยู่ต่อไป และเกี่ยวข้องกับมิติเวลา กล่าวคือ ผู้อื่นจดจำได้นาน และผลงานต้องได้รับการยอมรับจากคนอย่างน้อย 2-3 รุ่น
Other Abstract: The objective of this research was to understand the characteristics of Suntharaporn songs and to determine the factors which contributed to making Suntharaporn songs immortal. The data collection instruments were as follows: content analysis, focus group, and in-depth interview. The researcher used these instruments to understand the characteristics of Suntharaporn songs and the last two instruments to indicate the factors which contributed to making Suntharaporn songs immortal. The researcher analysed the content of the songs, and the data from the audience, the people who were involved in creating the songs, expert musicians, expert singers and radio producers. The results of the analysis show the characteristics of Suntharaporn songs. The content of the songs must consist of the relevance between the lyrics and the melody and be meaningful. It must relate to prosody, and literary style. The melody and the rhythm assign meaning to the songs and must be relevant to the emotions found in those kinds of melodies and rhythms. The content must be based on popular music. Moreover, the aesthetics which comprises melodiousness, being familiar to the perception of the audience, as well as excellence is important. The main factors which determine its immortality are the media, and reproduction. The singers must sing beautifully and can express the emotions of the songs, the correct use of polite gestures on stage and their amount of practice. The musicians must specialise in music. They must have the gift, and experience in music, including an ability to work with other artists in Suntharaporn band. The lyric writers must be good in Thai, possess experience in writing lyrics and be accustomed to the notes. The composers and the arrangers must specialise in writing and arranging music and have thought, imagination and an ability to work together. The music trainers should specialise in music and be able to work with the singers and the musicians. The research findings imply that the immortality involves the valuable work which artists leave for audiences. Furthermore, it concerns time. The work must last long and be memorable for at least 2-3 generations of audiences.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3754
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.323
ISBN: 9741303483
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2000.323
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pitsinee.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.