Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37629
Title: องค์ประกอบคาร์บอนในบรรยากาศทั่วไปในเมืองกรุงเทพมหานครบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: Carbon compositions in the Bangkok urban background ambient air at Chulalongkorn University
Authors: ศิวรินทร์ ดวงแก้ว
Advisors: วงศ์พันธ์ ลิมปเสนีย์
พรรณวดี สุวัฒิกะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร
Advisor's Email: Wongpun.L@chula.ac.th
Panwadee.S@Chula.ac.th
Subjects: ฝุ่น -- ไทย -- กรุงเทพฯ
มลพิษทางอากาศ -- ไทย -- กรุงเทพฯ
คาร์บอน
Dust -- Thailand -- Bangkok
Air -- Pollution -- Thailand -- Bangkok
Carbon
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ตรวจวัดองค์ประกอบคาร์บอนในฝุ่นละอองในบรรยากาศ หาความสัมพันธ์และความแตกต่างขององค์ประกอบเพื่อใช้บ่งชี้แหล่งกำเนิดของ PM₁₀ PM₂.₅ และ BC ในบรรยากาศกรุงเทพมหานคร โดยใช้เครื่องเก็บตัวอย่างฝุ่นแยกขนาด Dichotomous sampler ตั้งเครื่องมือที่ดาดฟ้าตึก 5 ชั้น ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เก็บตัวอย่างฝุ่น เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ทุกๆ 6 วัน ทั้งในฤดูแล้งและฤดูฝน ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2554-กรกฎาคม 2555 วิเคราะห์ OC และ EC ด้วยวิธีความร้อนและแสง (thermal-optical methods) ตรวจวัด BC ด้วยเครื่อง micro Aethalometer อย่างต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง ทุกๆ 6 วันในฤดูฝนและฤดูแล้ง ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2555–มกราคม 2556 ผลการศึกษาพบว่า ในฤดูแล้งความเข้มข้นของ PM₁₀ และ PM₂.₅ มีค่าเฉลี่ย 80 มคก./ลบ.ม. และ 48 มคก./ลบ.ม. ตามลำดับ สัดส่วนความเข้มข้น PM₂.₅/PM₁₀ มีค่าเฉลี่ย 0.60 ในฤดูฝนความเข้มข้นของ PM₁₀ และ PM₂.₅ มีค่าเฉลี่ย 45 มคก./ลบ.ม. และ 23 มคก./ลบ.ม. ตามลำดับ สัดส่วนความเข้มข้น PM₂.₅/PM₁₀ มีค่าเฉลี่ย 0.51 ความเข้มข้น PM₁₀ และ PM₂.₅ ในฤดูฝนมีค่าต่ำกว่าฤดูแล้งประมาณ 40-50% ความเข้มข้นของ BC เฉลี่ยรายชั่วโมงในฤดูฝน และฤดูแล้งอยู่ในช่วง 1.91 ถึง 5.50 มคก./ลบ.ม. มีค่าเฉลี่ยในฤดูฝน 2.65 มคก./ลบ.ม. และค่าเฉลี่ยในฤดูแล้ง 3.64 มคก./ลบ.ม. ในฤดูแล้งความเข้มข้นของแบล็กคาร์บอนเฉลี่ยมีค่าสูงกว่าฤดูฝน 35% ในระหว่างวันความเข้มข้นของแบล็กคาร์บอนของทั้งสองฤดูเฉลี่ยรายชั่วโมงสูงสุดอยู่ในช่วง 5.00–9.00 น. และ 17.00-22.00 น. เนื่องจากการจราจรเร่งด่วนในช่วงเช้าและเย็น สัดส่วนของคาร์บอนทั้งหมดส่วนใหญ่อยู่ในฝุ่นขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอนซึ่งในฤดูแล้งในฝุ่น PM2.5 พบคาร์บอนทั้งหมดประมาณ 36% ในฤดูฝนในฝุ่น PM₂.₅ พบคาร์บอนทั้งหมดประมาณ 25% ในฤดูแล้งสัดส่วนระหว่าง OC/EC ใน PM₁₀ และ PM₂.₅ มีค่าเฉลี่ย 4.63 และ 4.53 ตามลำดับ สัดส่วนความเข้มข้นระหว่าง Char-EC/Soot-EC ใน PM₁₀ และ PM₂.₅ มีค่าเฉลี่ย 1.42 และ 1.70 ตามลำดับ ความเข้มข้นของคาร์บอนทั้ง 8 ประเภท (OC1 OC2 OC3 OC4 EC1 EC2 EC3 และ OP) ที่พบเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ EC1 และ OP บ่งชี้ถึงแหล่งกำเนิดส่วนใหญ่มาจากการเผาไหม้จากเชื้อเพลิงชีวมวล ส่วนในฤดูฝนสัดส่วนความเข้มข้นระหว่าง OC/EC ใน PM₁₀ และ PM₂.₅ มีค่าเฉลี่ย 1.77 และ1.56 สัดส่วนความเข้มข้นระหว่าง Char-EC/Soot-EC ใน PM₁₀ และ PM₂.₅ มีค่าเฉลี่ย 0.52 และ 0.49 ตามลำดับ ความเข้มข้นของคาร์บอนทั้ง 8 ประเภท ที่พบเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ EC1 และ EC2 บ่งชี้ถึงแหล่งกำเนิดส่วนใหญ่มาจากไอเสียยานพาหนะ
Other Abstract: To measure carbon compositions of aerosols, find relationship among the different constituents which can be used to identify the emission sources of PM₁₀, PM₂.₅ and BC in the ambient air of Bangkok. PM₁₀ and PM₂.₅ were collected with a Dichotomous air sampler located on the roof of a five-storey building at Chulalongkorn University. The samples were collected for 24 hours every 6 days in both dry and wet seasons from December 2011 to July 2012. OC and EC were analyzed with thermal-optical method. Concentrations of BC were measured with a micro Aethalometer continuously and 24 hours every 6 days in both wet and dry seasons from May 2012 to January 2013. The results showed that in dry season, average PM₁₀and PM₂.5 concentrations were 80 µg/m³ and 48 ug/m³, respectively. The average ratio of PM₂.₅ to PM₁₀ concentrations was 0.60. In wet season, PM₁₀ and PM₂.₅ concentrations were less than dry season at 45 ug/m³ and 23 µg/m³, respectively. The average ratio of PM₂.₅ to PM₁₀ concentrations was 0.51. PM₁₀ and PM₂.₅ concentrations in wet season were 40-50% less than in dry season. BC concentrations in both wet and dry seasons ranged from 1.91 to 5.50 µg/m³, with means in wet season of 2.65 µg/m³ and dry season of 3.64 µg/m³. A diurnal variation was observed showing highest values around 5–9 a.m. and 5-10 p.m. which corresponded to peak traffic in the morning and afternoon. The ratio of Total Carbon (TC) was mostly contained in PM₂.₅. In dry season, TC accouted for about 36% of PM₂.₅ and in wet season, TC accouted for about 25% of PM₂.₅. In dry season the average ratio of OC to EC concentration in PM₁₀ and PM₂.₅ were 4.63 and 4.53. The average ratio of Char-EC to Soot-EC concentration in PM₁₀ and PM₂.₅ were 1.42 and 1.70. Major fractions of eight carbon fractions (OC1, OC2, OC3, OC4, EC1, EC2, EC3 and Optically-detected pyrolyzed carbon (OP)) were EC1 and OP that are enriched in biomass burning. In wet season the average ratio of OC to EC concentration in PM10 and PM₂.₅ were 1.77 and 1.56. The average ratio of Char-EC to Soot-EC concentration in PM10 and PM₂.₅ were 0.52 and 0.49. Major fractions of eight carbon fractions were EC1 and EC2 that are enriched in motor-vehicle exhaust.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37629
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1179
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1179
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sivarin_du.pdf3.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.