Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37782
Title: โครงการวิจัยการเตรียมวัสดุลูกผสมแบบใหม่ของพอลิไดอะเซทติลีน และอนุภาคนาโนของสารอนินทรีย์สำหรับใช้ในเทคโนโลยีการตรวจวัด : รายงานการวิจัย
Other Titles: Preparation of novel hybrid materials of polydiacetylene and inorganic nanoparticles for sensing technology : Research Report
Authors: นิศานาถ ไตรผล
Email: nisanart.T@chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: อนุภาคนาโน
พอลิไดอะเซทติลีน
อุปกรณ์ตรวจจับ -- วัสดุ
Nanoparticles
Polydiacetylene
Detectors -- Materials
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้นำเสนอวิธีการเตรียมวัสดุลูกผสมชนิดใหม่ของพอลิไดแอเซทิลีนเวสิเคิลกับอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์สำหรับประยุกต์ในเทคโนโลยีการตรวจวัด โดยปรับเปลี่ยนปริมาณของซิงค์ออกไซด์เป็นร้อยละ 5 9 17 33 และ 50 โดยน้ำหนัก อนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ในวัสดุลูกผสมจะทำหน้าที่เป็นซับสเตรตให้โมเลกุลของไดแอเซทิลีนมอนอเมอร์ 10, 12-เพนตะโคซะไดอายน์โนอิกแอซิดยึดเกาะและจัดเรียงตัวอย่างเป็นระเบียบ เมื่อทำการฉายแสงยูวีเพื่อให้เกิดกระบวนการพอลิเมอร์ไรเซชันจะสามารถเตรียมวัสดุลูกผสมพอลิไดแอเซทิลีนเวสิเคิลกับอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ที่มีสีฟ้าได้ และเมื่อศึกษาพฤติกรรมการเปลี่ยนสีเมื่อได้รับการกระตุ้นจากอุณหภูมิ ความเป็นกรด-เบส ชนิดและความเข้มข้นของตัวทำละลายพบว่า วัสดุลูกผสมมีพฤติกรรมการเปลี่ยนสีที่แตกต่างไปจากพอลิไดแอเซทิลีนเวสิเคิลบริสุทธิ์อย่างมาก ในขณะที่พอลิไดแอเซทิลีนเวสิเคิลบริสุทธิ์เกิดการเปลี่ยนสีแบบผันกลับไม่ได้ที่อุณหภูมิ -80 องศาเซลเซียส วัสดุลูกผสมจะเกิดการเปลี่ยนสีเป็น 2 ระดับเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น คือ กระบวนการผันกลับได้ในช่วงอุณหภูมิห้องถึง 140 องศาเซลเซียส และเกิดกระบวนการผันกลับไม่ได้ที่อุณหภูมิ 145 องศาเซลเซียสขึ้นไป สำหรับการศึกษาพฤติกรรมการเปลี่ยนสีเมื่อได้รับการกระตุ้นจากความเป็นกรด-เบส พบว่า พอลิไดแอเซทิลีนเวสิเคิลบริสุทธิ์เปลี่ยนสีจากน้ำเงินเป็นแดงที่ค่าพีเอช 8 ในขณะที่วัสดุลูกผสมจะเกิดการเปลี่ยนสีจากสีฟ้าเป็นสีม่วงที่ค่าพีเอช 12.5 ขึ้นไป และเมื่อศึกษาการตอบสนองต่อตัวทำละลาย พบว่า การเติมแอลกอฮอล์ทำให้พอลิไดแอเซทิลีนเวสิเคิลบริสุทธิ์เปลี่ยนสีจากน้ำเงินเป็นแดงที่ความเข้มข้นของเอทานอลร้อยละ 45 และความเข้มข้นของไอโซโพรพานอลร้อยละ 35 โดยปริมาตร สำหรับวัสดุลูกผสมจะไม่สังเกตพบการเปลี่ยนสีเมื่อเติมแอลกอฮอล์ แต่สเปกตราการดูดกลืนแสงแสดงให้เห็นว่าความเข้มแถบการดูดกลืนแสงของเฟสสีฟ้ามีค่าลดลง ตามความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ที่เพิ่มขึ้น
Other Abstract: This research presents a method to prepare a new class of This research presents a method to prepare a new class of polydiacetylene/ZnO nanocomposites for sensing applications. The ZnO concentrations are varied from 5, 9, 17, 33 and 50 wt%. ZnO nanoparticles function as substrates for self-assembling of 10,12-pentacosadiynoic acid (PCDA) monomers in an ordered arrangement. After UV irradiation to induce polymerization, blue colored poly (10, 12-pentacosadiynoic acid) (PPCDA)/ZnO nanocomposites can be prepared. The colorimetric responses of the nanocomposites to temperature, pH, types and concentrations of solvents are rather different compared to those of the pure PPCDA vesicles. While the pure PPCDA vesicles exhibit irreversible color transition at -80°C, the nanocomposites show two steps reversible and irreversible color transition upon increasing of temperature. The reversible process ranges from room temperature to 140°C and the irreversible process occurs over 145°C. For colorimetric response to pH, it is found that pure PPCDA changes from blue to red at pH of 8 while the nanocomposites exhibit the color transition from blue to purple at pH higher than 12.5. Study of the response to solvents show that the addition of alcohols into pure PPCDA vesicles causes the transition from blue to red color at 45 vol% ethanol and 35 vol% isopropanol. For nanocomposites, a chromic transition from blue to red color is not observed but the absorption spectra exhibit the decreasing of blue phase intensity with increasing alcohol concentrations.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37782
Type: Technical Report
Appears in Collections:Sci - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nisanart_tr_2553.pdf10.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.