Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37786
Title: การรับรู้และการสื่อสารเพื่อการจัดการความหลากหลายทางวัฒนธรรมของบริษัทข้ามชาติในประเทศไทย
Other Titles: Perception and communication for cultural diversity management of multinational corporations in Thailand
Authors: โกเมศ สุพลภัค
Advisors: เมตตา วิวัฒนานุกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: mettaV@chula.ac.th
Subjects: การสื่อสารในองค์การ -- ไทย
ความหลากหลายในองค์กร -- ไทย
บริษัท -- แง่สังคมวิทยา
พฤติกรรมองค์การ
Communication in organizations -- Thailand
Diversity in the workplace -- Thailand
Corporations -- Sociological aspects
Organizational behavior
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่อง “การรับรู้และการจัดการความหลากหลายทางวัฒนธรรมของบริษัทข้ามชาติในประเทศไทย” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้ความหลากหลายทางวัฒนธรรมของบริษัทข้ามชาติในประเทศไทย และสำรวจรูปแบบและแนวทางการสื่อสารเพื่อการจัดการความหลากหลายทางวัฒนธรรมของบริษัทข้ามชาติในประเทศไทยจากมุมมองของบุคลากรในบริษัทข้ามชาติและผู้ทรงคุณวุฒิ รูปแบบการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยในเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารแผนกทรัพยากรบุคคล 15 คน และนักวิชาการ/ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการความหลากหลายทางวัฒนธรรม 9 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) บริษัทข้ามชาติในประเทศไทยมีการรับรู้ความหลากหลายทางวัฒนธรรมในมิติ “สัญชาติ” มากที่สุด (จำนวน 14 บริษัท) รองลงมา คือ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมในมิติ “เพศ” (จำนวน 10 บริษัท) “อายุ” (จำนวน 8 บริษัท) “ความพิการ” (จำนวน 3 บริษัท) “ภูมิหลังการศึกษา” (จำนวน 3 บริษัท) “ศาสนา” (จำนวน 1 บริษัท) และ “ภูมิหลังการทำงาน” (จำนวน 1 บริษัท) ตามลำดับ 2) ความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่รับรู้ มีทั้ง “ลักษณะที่สามารถจัดการได้” และ “ลักษณะที่ไม่สามารถจัดการได้” ดังนั้น องค์กรต้องรู้วัตถุประสงค์ในการจัดการ รู้ว่าจะจัดการความหลากหลายทางวัฒนธรรมไปเพื่ออะไร เมื่อพิจารณาความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่สามารถจัดการได้ พบว่า รูปแบบและแนวทางการสื่อสารเพื่อการจัดการความหลากหลายทางวัฒนธรรมของบริษัทข้ามชาติในประเทศไทยสามารถจำแนกออกเป็น 2 แนวทาง คือ 1) แนวทางด้านการจัดการองค์กร (Management Approach) โดยเน้นการสร้างความเท่าเทียมผ่าน กระบวนการรับสมัครงานและการคัดเลือก (จำนวน 9 บริษัท) การกำหนดโครงสร้างและบทบาทหน้าที่ (จำนวน 10 บริษัท) การกำหนดค่าตอบแทนและสวัสดิการ (จำนวน 13 บริษัท) การเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง (จำนวน 5 บริษัท) และ การจัดสถานที่และสภาพแวดล้อมการทำงาน (จำนวน 3 บริษัท) รวมไปถึงการจัดตั้งแผนก “Diversity Management” หรือ “Diversity and Minority Affair” 2) แนวทางด้านการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม (Intercultural Communication Approach) คือ การพัฒนาและเพิ่มพูนทักษะการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมที่จำเป็นในตัวบุคลากร ด้วยการเตรียมความพร้อมในการอยู่ร่วมและทำงานกับความหลากหลาย (จำนวน 14 บริษัท) ได้แก่ การฝึกอบรมทางวัฒนธรรม (จำนวน 11 บริษัท) การปฐมนิเทศ (จำนวน 6 บริษัท) และการเรียนภาษา (จำนวน 5 บริษัท) นอกจากนั้น ยังมีการประยุกต์ใช้กลวิธีอื่นๆ ในการจัดการความหลากหลาย ได้แก่ การจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์ (จำนวน 12 บริษัท) การสร้างวัฒนธรรมองค์กร การสื่อสารภายในองค์กรและการประชาสัมพันธ์ (จำนวน 10 บริษัท) การสร้างทีม (Team Building) (จำนวน 5 บริษัท) และ การใช้สื่อและช่องทางการสื่อสารให้เหมาะกับความหลากหลายแต่ละกลุ่มวัฒนธรรม (จำนวน 3 บริษัท) รวมไปถึงการจัดการความรู้
Other Abstract: The purposes of this thesis are to study perception of multinational corporations in Thailand on cultural diversity in the organization and to survey ways of communication to manage cultural diversity of multinational corporations in Thailand. This study is qualitative research using in-depth interview with 15 HR managers and 9 experts and scholars in organizational cultural – diversity management. The results are found as follow: 1) Multinational corporations in Thailand perceive cultural diversity the most in “nationality" dimension (14 companies). The other perceived dimensions are "gender" (10 companies), "age" (8 companies), "disability" (3 companies), "educational background" (3 companies), "religion" (1 company) and "work background" (1 company) respectively 2) Cultural diversity is perceived to be "manageable" and "unmanageable", so organizations need to know the purposes to manage it. Considering “manageable” cultural diversity, ways of communication to manage organizations’ cultural diversity are classified into two approaches: 1) the Management Approach which focuses on “equality creation” through the process of recruitment and selection (9 companies), formation of structure and functions (10 companies), remuneration and benefits (13 companies), work promotion (5 companies), location and work environment settlement (3 companies) including the establishment of “Diversity Management Office” or “Diversity and Minority Affair”. 2) the Intercultural Communication Approach is to develop and enhance intercultural communication skills needed to live and work with cultural diversity (14 companies) by providing cultural training (11 companies), orientation (6 companies) and language learning (5 companies). Besides, other communication strategies are also applied such as activities to strengthen relationships (12 companies), corporate culture, internal communication and public relations (10 companies), team building (5 companies) and the uses of media and communication channels suitable for different cultural groups (3 companies) including knowledge management.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37786
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1200
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1200
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Komet_su.pdf3.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.