Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37789
Title: อิทธิพลของการสื่อสารการตลาด ที่มีต่อทัศนคติ และการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยในการศึกษาต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
Other Titles: Effect of marketing communication on attitude and university selection decision making of high school student
Authors: พฤษภ์ พรมวงษ์
Advisors: ธาตรี ใต้ฟ้าพูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: aj.tatri@hotmail.com
Subjects: การสื่อสารทางการตลาด
พฤติกรรมผู้บริโภค
สถาบันอุดมศึกษา -- การตลาด
สถาบันอุดมศึกษา -- การรับนักศึกษา -- การตลาด
Communication in marketing
Consumer behavior
Universities and colleges -- Marketing
Universities and colleges -- Admission -- Marketing
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความสัมพันธ์และลักษณะการเปิดรับข้อมูลข่าวสารและทัศนคติเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยผ่านการสื่อสารการตลาดประเภทต่างๆ ตลอดจนปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยในการศึกษาต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Research) จากวิธีการสื่อสารการตลาดของกลุ่มมหาวิทยาลัยตัวอย่างจำนวน 4 แห่ง ร่วมกับการวิจัยเชิงปริมาณแบบสำรวจ (Survey Research)จากการตอบแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 400 คน และนำมาวิเคราะห์ค่าสถิติ t-test ร่วมกับการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ ANOVA ค่าสหสัมพันธ์แบบ Pearson และค่าการถดถอยแบบ Linear Regression ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายส่วนใหญ่มีระดับการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยผ่านการสื่อสารการตลาดในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีการเปิดรับผ่านการโฆษณามากที่สุด รองลงมาคือ การเสริมแรงจูงใจ การสื่อสารผ่านสื่อบุคคล และการใช้สื่อทางตรง ตามลำดับ โดยการสื่อสารการตลาดที่มีการเปิดรับน้อยที่สุด ได้แก่ กิจกรรมพิเศษ และการประชาสัมพันธ์ 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างกันมีการการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยผ่านการสื่อสารการตลาดในภาพรวมที่ไม่แตกต่างกัน 3. การเปิดรับข้อมูลข่าวสารผ่านการสื่อสารการตลาด ทัศนคติเกี่ยวกับมหาวิทยาลัย และการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยในการศึกษาต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีความสัมพันธ์กันโดยการเปิดรับกับทัศนคติจะมีความสัมพันธ์กันในระดับสูง การเปิดรับกับการตัดสินใจจะมีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำ และทัศนคติกับการตัดสินใจจะมีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำ 4. การสื่อสารการตลาดทุกประเภท ไม่มีอิทธิพลโดยตรงต่อ การตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยในการศึกษาต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
Other Abstract: This research aims to study the relation of media exposure and attitudes towards the universities through many types of marketing communications as well as the factors that effect decision making in university selection of high school students. The research methodology is qualitative documentary research from the marketing communications of 4 universities and quantitative survey research from 400-high school-respondents. Data is analyzed by t-test, ANOVA, Pearson’s product moment correlation coefficient and linear regression analysis. The findings are as following: 1) Most of high school students has average media exposure through the universities’ marketing communication. The media that they acknowledge the most is advertising. Next are the sales promotion, personal selling (communication through personal media) and direct marketing respectively. The marketing communication that is the less acknowledged are the events marketing and public relations. 2) There is no difference in media exposure from marketing communication of the universities among high school students. 3) There are the significant relations among media exposure of marketing communication from the universities, the attitudes towards universities and decision making in university selection of high school students. media exposure is relative to the attitudes in high level. On the other hand, media exposure is relative to decision making in low level. The attitudes are relative to decision making in low level as well. 4) Every type of marketing communication has no direct influence effect on decision making in media exposure of high school students.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37789
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1202
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1202
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phruet_pr.pdf23.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.