Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3798
Title: กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจในหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า
Other Titles: Persuasive communication strategies in Lord of Buddha's scripture
Authors: อัญชลี ถิรเนตร, 2517-
Advisors: ธนวดี บุญลือ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Tanawadee.B@chula.ac.th
Subjects: การโน้มน้าวใจ
การสื่อสาร
การเล่าเรื่อง
สัญศาสตร์
พระพุทธเจ้า -- คำสอน
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาถึงกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ ในหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า โดยนำทฤษฎีกระบวนทัศน์การเล่าเรื่อง และทฤษฎีสัญญะวิทยา มาใช้เป็นกรอบในการวิจัย โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากพระไตรปิฎก ผลการวิจัยพบว่า 1. การโน้มน้าวใจในหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า จะเริ่มด้วยการเล่าเรื่อง หรือเปรียบเทียบสิ่งใกล้ๆ ตัวผู้ฟังกับธรรมะที่จะสอน หรือสรุปประเด็นสำคัญไว้ในตอนต้นเรื่อง ซึ่งช่วยจูงใจผู้ฟังให้สนใจในเนื้อหา และมีวิธีการดำเนินเรื่องโดยการใช้หลักฐานอ้างอิงคำสอน ด้วยการอธิบายให้รายละเอียด การพรรณนาขยายความ การบอกเล่าจากประสบการณ์ตรง การยกตัวอย่างและการเปรียบเทียบกับสิ่งใกล้ตัว ทำให้เห็นภาพชัดเจน และมีความน่าเชื่อถือ 2. การยกตัวอย่างและการเปรียบเทียบ จะใช้เรื่องเล่าซึ่งเป็นเรื่องสั้นๆ ไม่ซับซ้อน เหตุการณ์ต่างๆ มีความสัมพันธ์กันตามหลักเหตุและผล สามารถติดตามและเห็นจริงได้ 3. การยกตัวอย่างเปรียบเทียบอุปมาอุปไมย ในการอธิบายหัวข้อธรรมะซึ่งเป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม โดยสิ่งที่นำมาเปรียบเป็นธรรมชาติที่อยู่รอบๆ ตัวมนุษย์ ซึ่งมนุษย์ส่วนใหญ่เคยมีประสบการณ์มาก่อน จึงสามารถสร้างมโนภาพตามตัวอย่างที่นำมาเปรียบเทียบ และเขัาใจในหลักธรรมะนั้นง่ายขึ้น 4. การอธิบายธรรมะที่เป็นนามธรรมโดยการใช้คำสั้นๆ ง่ายๆ และเป็นคำที่มีความหมายในตัวเองเป็นรูปธรรม ซึ่งมีความสัมพันธ์กับวัตถุจริง ทำให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้น
Other Abstract: To study the persuasive communication strategies in Lord of Buddha's scripture. The Buddha's scripture was analyze under the framework of narrative paradigm and semiotic theories. The results of the analysis are as follows: 1. The main persuasive teaching strategy in the Lord of Buddha's scripture initiated with either a story telling, an analogy between substances in the surrounding of his disciples with Dhamma. Usually, a summary of the main point right from the beginning was introduced. This helps to lure disciples interest right from the beginning to perceived the core of the preaching. Evidence is used as reference during the tenure of the preacing. Preaching by using detail description, experiences from the real situation and analogy with substances in the real surrounding help equip disciples with the ability to understand the preaching with credibility and clarity. 2. Another strategy is to cite an example of event by telling a short and incomplicated story, then build logically a link between causeand effect of that event. The strategy enables the disciples to relate the story with reality. 3. Metaphor and analogy is used to facilitate the explanation and to create comparable perception and imagination which help understanding subjective substances. 4. Abstraction in the Dhamma preaching was delivered in simple, precise meaningful and concrete words designating the preaching that the disciples can perceive by their senses
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3798
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.353
ISBN: 9741311974
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2000.353
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anchalee.pdf2.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.