Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3847
Title: | ปรัชญาการสื่อสารในธรรมสารของพุทธทาสภิกขุ |
Other Titles: | Buddhadasa Bhikkhu's philosophy of communication |
Authors: | ปุณยนุช ชุติมา, 2518- |
Advisors: | ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Thiranan.A@chula.ac.th |
Subjects: | การสื่อสาร พุทธปรัชญา การวิเคราะห์เนื้อหา พุทธทาสภิกขุ, 2449-2536 |
Issue Date: | 2543 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยเอกสารหลักที่ศึกษา คือปาฐกถาและธรรมบรรยายของพุทธทาสภิกขุที่ตีพิมพ์เผยแพร่สู่สาธารณะ วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปรัชญาความคิดของพุทธทาสภิกขุและศึกษาแนวคิดหรือทฤษฎีเกี่ยวกับการสื่อสารของพุทธทาสภิกขุ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า พุทธทาสภิกขุเห็นว่าความจริงมีสองระดับคือ (1) ปรมัตถสัจจะ (ความจริงแท้) คือธรรมะซึ่งเป็นความจริงสากล มีลักษณะเป็นความว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน (2) สมมุตสัจจะ (ความจริงเชิงสมมุติ) เป็นความจริงที่ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน การสื่อสารคือระบบสัมพันธภาพของมนุษย์ แบ่งระดับของการสื่อสารได้เป็น (1) การสื่อสารในระดับของมนุษย์กับธรรมชาติและมนุษย์กับตนเอง เน้นบทบาทในการเป็นผู้รับสาร มีเป้าหมายส่วนบุคคลเพื่อสร้างความสมดุลให้แก่ระบบปฏิสัมพันธ์ภายในตัวมนุษย์แต่ละคน โดยที่ "ภาษาธรรม" อาจชีไปยังความหมายเชิงปรมัตถสัจจะได้ใกล้เคียงที่สุด การสื่อสารระดับนี้อยู่เหนือการประเมินค่าดีหรือชั่ว งามหรืออัปลักษณ์ (2) การสื่อสารในระดับของมนุษย์กับเพื่อนมนุษย์ และมนุษย์กับสังคม ใช้ "ภาษาคน" สื่อความหมายในเชิงสมมุติสัจจะ เพื่อบรรลุเป้าหมายทางศีลธรรมคือเพื่อสันติภาพในโลก ถือว่าความดีคือการสื่อสารเพื่อขจัดความเห็นแก่ตัว และความงามเป็นหนทางสู่ความดีโดยโน้มนำจิตใจมนุษย์ให้ลืมความยึดมั่นในตัวตน มนุษย์เป็นทั้งผู้รับสารและผู้ส่งสารในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคม เน้นบทบาทการเป็นผู้ส่งสารที่ดี เช่นการใช้วจนสาร (วจีกรรม) ที่เป็นประโยชน์และไม่ประทุษร้ายต่อ สัจจะ สุนทรียภาพ และภราดรภาพการสื่อสารสู่สาธารณชนของพุทธทาสภิกขุก็จัดเป็นการสื่อสารในระดับนี้ โดยการส่งธรรมสารผ่านสื่อต่างๆ อย่างหลากหลาย ทั้งสื่อบุคคล สื่อธรรมชาติ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อระคน พุทธทาสภิกขุมีทฤษฎีความรู้ในแนวทางประจักษ์นิยมแบบเฉพาะตน เพราะนอกจากจะยอมรับข้อมูลเชิงประจักษ์จากประสาทสัมผัสทั้งห้าแล้ว ช่องทางการรับรู้ในพุทธศาสนายังที่อายตนะทาง "ใจ"ไว้รับรู้ข้อมูลที่เป็นความคิดและอารมณ์ ท่านถือว่าการรับรู้ข้อมูลจากช่องทางใจนี้เป็นข้อมูลเชิงประจักษ์และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสัมพันธภาพของมนุษย์กับตนเองและโลกภายนอก คุณค่าของความรู้สำหรับท่านเป็นทั้งประโยชน์นิยมและปฏิบัตินิยม โดยถือว่าความรู้ต้องนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายได้และเป็นหนทางสู่การปฏิบัติ ความเป็นมนุษยนิยมของท่านเห็นได้ชัดจากความเชื่อมั่นในศักยภาพของมนุษย์ที่จะบรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต ซึ่งการสื่อสารควรจะนำไปสู่เป้าหมายสูงสุดนั้น คือ ความจริงแท้, ธรรมะ, นิพพาน หรือความสงบ อันเป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับปรัชญาแบบวิมุตตินิยม |
Other Abstract: | This qualitative research used documentary data to content analysis Dhamma lecture of Buddhadasa Phikkhu that printed and widely published. Research objective is to analyze Buddhadasa Phikkhu's philosophy and studied his concepts and theory of communication. The result can be concluded that reality in Buddhadasa Phikkhu's opinion has 2 level (1) Truth (Ultimate Reality) is "Dhamma": the universal reality; the emptiness (2) Supposed Reality (Constructed Reality) is the reality we communicate in everyday life. Communication is the relativity system of human that can divide by 2 level of reality. (1) Communication of "human & nature" and "human & themselves". To use "Dhamma language" may point approximately to meaning of truth. In this level, human acts receiver role to reach personal goal: to maintain balance in interrelation system within each of them. There is not goodness and beauty in this level. (2) Communication of "human & human" and "human & social". In this level, human uses "Human language" to sharemeaning of supposed reality, for reach ethics goal: world peace. Goodness is to be communicating to dissolve selfish. Beauty is passage to goodness by persist human in it's charisma so that them forget egoism for moment. Human play both receiver and sender role in social, especially good sender role. For example, to use verbal message (verbal behavior) that give the benefits of people and not injury to truth, beauty and brotherhood. Buddhadasa Phikkhu's way of communicate to public is in this level. He use varieties of media such as human, nature, print, electronics and miscellaneous media. Buddhadase Phikkhu has theory of knowledge in his own way nearly to empiricism. He accepts not only data from five sensations channel but also throught and feeling from "mind" channel. He said that experience from mind channel is empirical data and so important to human's relation with themselves and the world outside. The value of his knowledge can be judged buy the way of utilitarianism and pragmatism. Knowledge must be fulfilling its duty to give the benefits for all people and to be the method to practice. He also belief in human ability to reach them highest spiritual level, so we can conclude that he is humanism. At last, communication should reveal the real world to human, make them realize the truth, Dhumma, nirvana and freedom within themselves |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วาทวิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3847 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.298 |
ISBN: | 9741313446 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2000.298 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Punyanuch.pdf | 1.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.