Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3849
Title: การพัฒนาองค์ประกอบและเกณฑ์การประเมินคุณภาพวิทยานิพนธ์ของนิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : การเปรียบเทียบวิธีค่าเฉลี่ยน้ำหนัก และวิธี เอ เอช พี
Other Titles: A development of factors and criteria for evaluating students' theses of the Faculty of Education, Chulalongkorn University : a comparison between average weight and AHP techniques
Authors: จุฑาภรณ์ บูรณะโอสถ, 2517-
Advisors: สุวิมล ว่องวาณิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Suwimon.W@chula.ac.th
Subjects: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
วิทยานิพนธ์ -- การประเมิน
Analytic Hierarchy Process
ค่าเฉลี่ยน้ำหนัก
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาองค์ประกอบในการประเมินคุณภาพวิทยานิพนธ์ของนิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2) เพื่อกำหนดน้ำหนักความสำคัญขององค์ประกอบการประเมินคุณภาพวิทยานิพนธ์ของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยใช้วิธีการกำหนดน้ำหนักความสำคัญขององค์ประกอบ 2 วิธี ได้แก่ วิธีค่าเฉลี่ยน้ำหนัก และวิธี เอ เอช พี (3) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าน้ำหนักความสำคัญขององค์ประกอบที่ได้ระหว่างวิธีค่าเฉลี่ยน้ำหนัก เทคนิค เอ เอช พี กับการวิเคราะห์องค์ประกอบ (4) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพของวิธีการกำหนดน้ำหนักความสำคัญขององค์ประกอบโดยใช้วิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเป็นเกณฑ์ (5) เพื่อกำหนดเกณฑ์การประเมินคุณภาพวิทยานิพนธ์ของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในแต่ละภาควิชา และ (6) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิในด้านความน่าเชื่อถือของน้ำหนักองค์ประกอบและความพึงพอใจในวิธีการกำหนดน้ำหนัก กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้มี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ใช้ในการสำรวจองค์ประกอบ ได้แก่ อาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษาของคณะครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาัย จำนวน 159 คน และกลุ่มที่ใช้ในการกำหนดน้ำหนักความสำคัญขององค์ประกอบ ได้แก่ อาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษาของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มกาวิทยาลัย จำนวน 67 คน ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการสำรวจองค์ประกอบที่ใช้ในการประเมินคุณภาพวิทยานิพนธ์ พบว่ามีองค์ประกอบทั้งหมด 6 องค์ประกอบ ได้แก่ การกำหนดปัญหาวิจัย/วัตถุประสงค์การวิจัย 2) การปริทัศน์เอกสาร 3) การกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย 4) วิธีดำเนินการวิจัย 5) การนำเสนอผลการวิจัย และ 6) ประโยชน์ของงานวิจัย 2. องค์ประกอบในการประเมินคุณภาพวิทยานิพนธ์ที่มีน้ำหนักความสำคัญมากที่สุดจากวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบวิธีค่าเฉลี่ยน้ำหนัก และวิธี เอ เอช พี คือ องค์ประกอบวิธีดำเนินการวิจัย (วิธีวิจัย/ประชากร เครื่องมือ/การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล/การแปลความหมาย และการสรุปผลการวิจัย) โดยมีน้ำหนักความสำคัญจากทั้ง 3 วิธีอยู่ระหว่างร้อยละ 41 ถึง 50 3. น้ำหนักความสำคัญขององค์ประกอบระหว่างทั้งสามวิธีองค์ประกอบที่มีน้ำหนักความสำคัญที่ใกล้เคียงกันอยู่เพียง 1 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบการปริทัศน์เอกสาร โดยมีน้ำหนักความสำคัญร้อยละ 10.70, 10.40 และ 11.63 ตามลำดับ ส่วนองค์ประกอบที่เหลือพบว่ามีน้ำหนักความสำคัญที่แตกต่างกัน 4. น้ำหนักความสำคัญที่ได้จากวิธี เอ เอช พี มีความใกล้เคียงกับน้ำหนักความสำคัญที่ได้จากวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบมากกว่าน้ำหนักความสำคัญที่ได้จากวิธีค่าเฉลี่ยน้ำหนัก 5. เกณฑ์ในการประเมินคุณภาพวิทยานิพนธ์ของแต่ละภาควิชามีความแตกต่างกัน ในภาพรวมของคณะเกณฑ์ทั้ง 3 ระดับ คือ เกณฑ์ระดับดีมาก (85 <= เกณฑ์ระดับดีมาก <= 100) เกณฑ์ระดับดี (70 <= เกณฑ์ระดับดี < 85) และเกณฑ์ระดับผ่าน (60 <= เกณฑ์ระดับผ่าน < 70) 6. ผู้ทรงคุณวุฒิมีความพีงพอใจในวิธีการกำหนดน้ำหนักความสำคัญทั้ง 2 วีธี เนื่องจากวิธีค่าเฉลี่ยน้ำหนักมีวิธีการที่ง่าย สะดวกต่อการใช้งานส่วนวิธี เอ เอช พี เป็นวิธีที่ช่วยให้คิดละเอียดรอบคอบขึ้น เหมาะสมกับการตัดสินใจที่ซับซ้อน
Other Abstract: The purposes of this thesis were (1) to develop the factors for evaluating students' theses of the Faculty of Education, Chulalongkorn University; (2) to determine the weight of importance assigned to each factor using the average weight and AHP techniques; (3) to compare the difference of the weights between average weight and AHP techniques; (4) to compare the quality of the two techniques using factor analysis method as a criterion; (5) to determine the criteria for evaluating students' theses for each department of the Faculty of Education, and (6) to study the opinions of the experts regarding credibility and satisfaction of the two techniques. Subjects of the study were 159 faculty members of the Faculty of Education in Chulalongkorn University, Kasetsat University, Silapakorn University, and Srinakharinwirot University, and 67 faculty members in graduate programs of the Faculty of Education, Chulalongkorn University. The results of the study were as follows: 1. Six factors for evaluating students' these were (1) statement of research problem and objectives, (2) review of literature, (3) conceptual framework, (4) research method, (5) presentation of research findings, and (5) significance of the study. 2. The most important weights given by factor analysis, average weight and AHP techniques were research method factor (research design, sampling design, measurement design, data analysis design, and data interpretation). The weights assigned by each of the three techniques were 49.81%, 45.90%, and 41.25%, respectively. 3. The weights given to review of literature factor as derived by the three methods, i.e. factor analysis, average weight, and AHP techniques, yielded similar results (10.70%, 10.40% and 11.63%, respectively). 4. The weighting results given by AHP technique was closer to those by factor analysis than the average weight techniques. 5. The criteria used for judging the quality of the students' theses were different among departments. As a whole, the range of scores representing the 3 levels ofthesis quality were: very good (85
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3849
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.412
ISBN: 9743467831
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2000.412
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Juthaporn.pdf41.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.