Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/38508
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริพร ภักดีผาสุข-
dc.contributor.authorวิลาวัณย์ วิษณุเวคิน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2014-02-10T09:15:00Z-
dc.date.available2014-02-10T09:15:00Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/38508-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractงานวิจัยเรื่องอุปลักษณ์ในหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ไทยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 2 ประเด็น คือ เพื่อศึกษาลักษณะของอุปลักษณ์ที่ปรากฏในหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ไทย และเพื่อศึกษาหน้าที่ของ อุปลักษณ์ในหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ไทย โดยใช้ข้อมูลจากหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ไทยในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ในระดับอุดมศึกษา จำนวนทั้งหมด 37 เล่ม การวิเคราะห์ลักษณะของอุปลักษณ์ในหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ไทยครอบคลุมลักษณะของรูปภาษาแสดงอุปลักษณ์ และลักษณะทางมโนทัศน์ของอุปลักษณ์ ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะของรูปภาษาแสดงอุปลักษณ์นั้นมี 2 รูปแบบด้วยกัน คือ รูปภาษาแสดงอุปลักษณ์ในลักษณะการเปรียบเทียบที่ปรากฏคำเชื่อม กับรูปภาษาแสดงอุปลักษณ์ในรูปคำศัพท์ ลักษณะทางมโนทัศน์ของอุปลักษณ์ในหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ไทยแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ตามแนวคิดที่เสนอโดยเลคอฟและจอห์นสัน (1980) คือ มโนอุปลักษณ์เชิงโครงสร้าง มโนอุปลักษณ์เชิงทิศทางและการเคลื่อนที่ และมโนอุปลักษณ์เชิงรูปธรรม มโนอุปลักษณ์เชิงโครงสร้างเป็นสิ่งที่พบมากที่สุด มโนทัศน์ที่พบในแวดวงความหมายปลายทางหรือสิ่งที่ถูกเปรียบของอุปลักษณ์ในหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ไทย ได้แก่ มโนทัศน์เกี่ยวกับแนวคิดต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีความเป็นรูปธรรมน้อยกว่า ซับซ้อน และเข้าใจยาก ส่วนมโนทัศน์ในแวดวงความหมายต้นทางหรือแบบเปรียบประกอบด้วยแนวคิดที่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปธรรม มีความเกี่ยวโยงกับประสบการณ์ทางกายและเข้าใจได้ง่ายกว่า มโนทัศน์เหล่านี้ใช้เพื่ออธิบายแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ในแวดวงความหมายปลายทางหรือสิ่งที่ถูกเปรียบ ผู้วิจัยใช้แนวคิดเรื่องชาติพันธุ์วรรณนาแห่งการพูดในการวิเคราะห์องค์ประกอบในการสื่อสารที่เกี่ยวกับการใช้หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ไทย และใช้มุมมองทางด้านวัจนปฏิบัติศาสตร์ในการวิเคราะห์หน้าที่ของอุปลักษณ์ในหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ไทย ผลการวิจัยพบว่าอุปลักษณ์ในหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ไทยมีหน้าที่ 2 ประการ คือ หน้าที่ด้านการถ่ายทอดความคิด และหน้าที่ด้านการเรียบเรียงความ ส่วนหน้าที่ด้านบุคคลสัมพันธ์นั้นไม่ปรากฏในอุปลักษณ์ในหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ไทย เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว หน้าที่ที่เป็นลักษณะเด่นของอุปลักษณ์ในหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ไทยคือหน้าที่ด้านการถ่ายทอดความคิด เนื่องจากมุ่งเน้นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ให้แก่ผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและระดับอุดมศึกษา ซึ่งเป็นผู้ที่ยังไม่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์ อุปลักษณ์ดังกล่าวจึงมุ่งเน้นการสื่อความที่ชัดเจน ไม่กำกวม และเข้าใจได้ง่าย อีกทั้งยังมีการนำระบบมโนทัศน์ที่อยู่ในสังคมไทยมาใช้เพื่อช่วยสร้างความเข้าใจที่เหมาะสมกับผู้เรียนที่เป็นคนไทยอีกด้วยen_US
dc.description.abstractalternativeThis study on metaphors in Thai science textbooks aims to examine the characteristics of metaphors in Thai science textbooks and to analyze their functions. The data used in this study was drawn from 37 Thai science textbooks for high school students and for undergraduate students. As for the characteristics of the metaphors in Thai science textbooks, both linguistic metaphorical expression and metaphorical concepts were taken into account. The findings indicate that, in terms of linguistic metaphorical expressions, metaphors appear in two patterns – an analogy with a conjunctive term and a metaphorical lexicon. Next, in accordance with Lakoff and Johnson (1980), the metaphorical concepts presented in Thai science textbooks can be categorized into three groups, namely structural metaphors, orientational metaphors, and ontological metaphors. Structural metaphors are most found. The target domain of science metaphors in the textbooks includes various scientific concepts which are less concrete, more complicated and difficult to understand. The source domain includes different non-scientific concepts which are more concrete, related to bodily experience, and easier to understand. These different concepts in the source domain are used for construing the scientific concepts in the target domain. The Ethnography of SPEAKING framework was adopted for investigating the communicative components involving the use of Thai science textbooks and the pragmatic approach was applied for analyzing the functions of metaphors in the science textbooks. The two main functions of metaphors in the science textbooks are ideational function and textual function. The interpersonal function is of less significance since the textbooks are one-way communication. The most significant function of these metaphors is ideational. Since the target readers of the textbooks are students who are novices, metaphors in these textbooks were used as the tool for clearly conveying scientific concepts to these beginners. Hence, the metaphors in science textbooks are intended to be explicit, unambiguous and easy to understand. Moreover, in some examples, the concepts already shared in Thai culture were adopted as ideational device to convey scientific knowledge to Thai learners.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.732-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectวิทยาศาสตร์ -- แบบเรียนen_US
dc.subjectภาษาไทย -- การใช้ภาษาen_US
dc.subjectอุปลักษณ์en_US
dc.subjectMetaphoren_US
dc.subjectScience -- Text-booksen_US
dc.subjectThai language -- Usageen_US
dc.titleอุปลักษณ์ในหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ไทยen_US
dc.title.alternativeMetaphors in Thai science textbooksen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineภาษาไทยen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.authorSiriporn.Ph@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.732-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wilawun_Wi.pdf3.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.