Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3886
Title: การเคลือบแพลทินัมบนเยื่อแผ่นแลกเปลี่ยนโปรตอน ด้วยการพอกพูนโดยไม่ใช้ไฟฟ้า
Other Titles: Platinum coating on proton exchange membrane by electroless deposition
Authors: วันวรา หาวุฒิ, 2523-
Advisors: เก็จวลี พฤกษาทร
มะลิ หุ่นสม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: kejvalee@mail.sc.chula.ac.th
mali@sc.chula.ac.th
Subjects: เซลล์เชื้อเพลิง
เมมเบรน (เทคโนโลยี)
ตัวเร่งปฏิกิริยา
การชุบเคลือบผิวโดยไม่ใช้ไฟฟ้า
Issue Date: 2547
Abstract: ศึกษาการเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยาสำหรับเซลล์เชื้อเพลิง ด้วยวิธีการเคลือบตัวเร่งปฏิกิริยาแพลทินัมบนเยื่อแผ่นแลกเปลี่ยนโปรตอน (Nafion) อาศัยกระบวนการพอกพูนโลหะโดยไม่ใช้ไฟฟ้า (Electroless deposition) มีการปรับปรุงผิวเยื่อแผ่นด้วยการเซนซิไทเซชัน (Sensitization) ด้วยสังกะสีไอออน และการกระตุ้น (Activation) ด้วยพาลลาเดียมไอออน เกิดเป็นชั้นโลหะพาลลาเดียมบนผิวเยื่อแผ่น ทำให้มีการนำไฟฟ้าดีขึ้นและไวต่อการเกิดปฏิกิริยา การพอกพูนแพลทินัม (0.25-1.0 mg/sq.cm.) อาศัยปฏิกิริยาเคมีโดยมีสารละลายไฮดราชีน และโซเดียมเตตระโบโรไฮไดรด์เป็นสารรีดิวซ์ ผลการทดลองพบว่าเมื่อเวลาเพิ่มขึ้น ร้อยละการพอกพูนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและเริ่มคงที่ที่เวลา 60 นาที ที่อัตราส่วนการทำปฏิกิริยาระหว่างโลหะไอออนและสารรีดิวซ์เป็น 1:1 โดยการพอกพูนด้านที่ 2 จะมากกว่าด้านที่ 1 แต่เมื่อเพิ่มอัตราส่วนของสารรีดิวซ์อย่างน้อย 1:2 พบว่าร้อยละการพอกพูนระหว่าง 2 ด้านใกล้เคียงกัน จากการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค Scanning electron microscopy (SEM) พบว่าแพลทินัมมีการกระจายตัวค่อนข้างสม่ำเสมอ เมื่อนำเยื่อแผ่นที่พอกพูนแพลทินัมไปประกอบเป็นหน่วยเยื่อแผ่นและอิเล็กโทรด (MEA) เพื่อนำไปทดสอบประสิทธิภาพ พบว่าความหนาแน่นกระแสและกำลังไฟฟ้าเพิ่มขึ้นที่ปริมาณแพลทินัมเพิ่มขึ้น แต่ประสิทธิภาพที่ได้ยังต่ำกว่าหน่วยเยื่อแผ่นและอิเล็กโทรดในทางการค้า (Electrochem Co.Ltd.) เมื่อนำไปวิเคราะห์อิมพิแดนซ์ (Impedance spectroscopy) ในช่วงความถี่ 10[superscript -1] - 10[superscript 4] Hz พบว่าหน่วยเยื่อแผ่นและอิเล็กโทรดที่เตรียมขึ้น มีค่าความต้านทานสูงกว่าหน่วยเยื่อแผ่นและอิเล็กโทรดในทางการค้าเช่นกัน
Other Abstract: To deposite the catalyst on proton exchange membrane by electroless deposition for PEMFC. Membrane was pretreated with stannous chloride solution (sensitization) and palladium cholride solution (activation), to increase the conductivity and active surface for chemical reaction. Hydrazine and sodiumtretaborohydride were used as a reducing agent for platinum deposition (0.25-1.0 mg/sq.cm). The percentage of platinum coating was constant when the deposition time greater than 60 min. Platinum coating on 2nd side was higher than that of the 1st side at ratio of platinum and reducing agent about 1:1. When ratio of platinum and reducing agent was higher than 1:2, platinum coating on the 1st and the 2nd side was the same. The mophology of platinum particle was investigated by the scanning electron microscopy (SEM). The efficiency of membrane electrode assembly (MEA) constructed by platinum electroless deposition was lower than that from commercial (Electrochem Co.,Ltd.). The impedance spectroscopy was carried out to analyzed the resistance of the prepared MEA in a range of frequency is 10[superscript -1]-10[superscript 4] Hz. It demonstrated the prepared MEA of this work showed higher resistance than that from commercial.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3886
ISBN: 9741767919
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wanwara.pdf4.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.