Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/39797
Title: | การลดระยะเวลานำในการผลิตในโรงงานผลิตเลนส์แว่นตา โดยใช้แนวคิดลีน ซิกซ์ซิกมา |
Other Titles: | Manufacturing lead time reduction in eye-glasses lens manufacturing factory with lean six sigma concept |
Authors: | พิมพ์ชนก ไพศาลภาณุมาศ |
Advisors: | นภัสสวงศ์ โรจนโรวรรณ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | napassavong.o@chula.ac.th |
Subjects: | การผลิตแบบลีน อุตสาหกรรมออพติคัล แว่นตา กรรมวิธีการผลิต Lean manufacturing Optical industry Eyeglasses Manufacturing processes |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงการจัดการการผลิตของโรงงานกรณีศึกษา โดยใช้แนวคิดลีน ซิกซ์ซิกมา เพื่อลดระยะเวลานำในการผลิตปัจจุบัน และเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับปริมาณความต้องการของลูกค้าที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตงานวิจัยนี้มีเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก คือ การปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อลดระยะเวลานำในการผลิตปัจจุบัน โดยขั้นตอนแรกจะศึกษาและรวบรวมความรู้จากแหล่งความรู้ต่างๆ ได้แก่ หนังสือ บทความ งานวิจัย อินเตอร์เน็ต และผู้เชี่ยวชาญของโรงงาน รวมทั้งศึกษากระบวนการผลิตเลนส์ของโรงงานกรณีศึกษา และทำการวัดและเก็บรวบรวมปัญหาต่างๆ จากนั้นจึงทำการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาด้วยเครื่องมือทางคุณภาพ เช่น แผนภูมิกลุ่มเชื่อมโยง ผังความสัมพันธ์ แผนผังเมทริกซ์ชนิดรูปตัวเอกซ์ จนทำให้ได้แนวทางการแก้ปัญหา แล้วจึงดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยนำหลักระบบบริหารการผลิตแบบลีน ซิกซ์ซิกมา มาใช้ เช่น การจัดการผลิตแบบดึง การควบคุมด้วยสายตา การฝึกอบรมพนักงานข้ามสายงาน การจัดการกับคอขวดของกระบวนการ ได้แก่ การปรับปรุงผังการผลิต การเปลี่ยนแปลงลำดับสถานีงาน ซึ่งผลการปรับปรุง ทำให้โรงงานกรณีศึกษามีระบบการไหลของงานดีขึ้น จนมีผลิตภาพเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 2.14 เท่า จำนวนงานระหว่างทำลดลง 70% ส่งผลให้ระยะเวลานำในการผลิตเลนส์แว่นตาลดลงจาก 39.24 ชั่วโมง เหลือ 26.04 ชั่วโมง และมีเปอร์เซ็นต์ความสามารถในการส่งสินค้าให้ลูกค้า ทันกับระยะเวลาเป้าหมาย 99.56% ความสามารถของกระบวนการ (C[subscript pk]) เพิ่มขึ้นจาก 0.32 เป็น 1.32 ขั้นตอนสุดท้าย จึงกำหนดกระบวนการตรวจติดตามและควบคุมเพื่อให้กับโรงงานกรณีศึกษามีผลการดำเนินงานที่ดีต่อไปในระยะยาว งานวิจัยส่วนที่สอง คือ การวางแผนเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับรองรับความต้องการของลูกค้าที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยขั้นตอนแรกเป็นการวางแผนทรัพยากรการผลิตด้วยการคำนวณเครื่องจักรและพนักงาน ขั้นตอนต่อมาเป็นการวางแผนอย่างละเอียดโดยการจำลองสถานการณ์ด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถสรุปจำนวนเครื่องจักร และจำนวนพนักงาน ที่เหมาะสมและสามารถของรับปริมาณความต้องการของลูกค้าที่จะเพิ่มขึ้นได้ |
Other Abstract: | The objective of this research is to improve manufacturing system management of the case study factory with lean six sigma concept in order to reduce current manufacturing lead time and prepare readiness to support demand increase in the future.This research has two parts. First part is to improve manufacturing system to reduce current manufacturing lead time. First step is to study and collect knowledge from many sources: books, articles, research, internet and experts in industry together with studying lens manufacturing processes of the case study factory. Then, measure and gather problems in the processes and analyze causes of problems by quality tools such as affinity diagram, relation diagram, X-type matrix diagram in order to obtain the ways to solve problems. Then, the problems are mainly solved by the application of lean six sigma concepts, which are pull production, visual control, cross-trained workforce, and management of the bottle neck of production line by improving plant layout, combining, and rearranging stations. The improvement results in better flow system, 2.14 times increase in productivity, 70% lower work-in-process inventory. As a result, manufacturing lead time is reduced from 39.24 to 26.04 hours, service rate of 99.56%, which meets the target and process capability is increased from 0.32 to 1.32. Lastly, the controlling and monitoring system is developed to keep good performance of lens manufacturing in long term. The second part of research is to prepare readiness to support demand increase in the future. First, rough-cut calculation of manufacturing resources, which are machines and manpower, is performed. Then, detailed planning of resources is performed by computer simulation to obtain the proper number of machines and manpower that can support the demand increase. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมอุตสาหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/39797 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.994 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.994 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pimchanok_Pa.pdf | 5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.