Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/398
Title: การเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนอนุเฉทภาษาอังกฤษของนักศึกษาสถาบันราภัฏที่ได้รับวิธีการให้ข้อมูลป้อนกลับแตกต่างกัน
Other Titles: A comparison of English paragraph writing ability of Rajabhat Institute undergratuates who received different types of feedback
Authors: วิชยา ปิดชามุก, 2521-
Advisors: สุมาชี ชิโนกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Sumalee.C@chula.ac.th
Subjects: ภาษาอังกฤษ--การเขียน
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสามารถในการเขียนอนุเฉทภาษาอังกฤษของ นักศึกษาสถาบันราชภัฏที่ได้รับวิธีการให้ข้อมูลป้อนกลับแตกต่างกัน (2) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนอนุเฉทภาษาอังกฤษของนักศึกษาสถาบันราชภัฏที่ได้รับวิธีการให้ข้อมูลป้อนกลับในการเขียนแตกต่างกัน 3 รูปแบบ ได้แก่ การให้ข้อมูลป้อนกลับในการเขียนแบบเน้นไวยากรณ์ แบบเน้นเนื้อหาของเรื่อง และแบบผสมผสาน และ (3) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนอนุเฉทภาษาอังกฤษของนักศึกษาสถาบันราชภัฏหลังจากได้รับลำดับการให้ข้อมูลป้อนกลับแตกต่างกัน ตัวอย่างประชากรได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเป็นนักศึกษาสถาบันราชภัฏสวนดุสิต วิชาเอกภาษาอังกฤษชั้นปี 2 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2545 จำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่หัวข้องานเขียนอนุเฉทภาษาอังกฤษ 8 หัวข้อ และคำแนะนำ (Guidelines) การให้ข้อมูลป้อนกลับงานเขียน 3 รูปแบบ ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างของค่ามัชฌิมเลขคณิตโดยวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) และเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยการเปรียบเทียบเชิงซ้อน (Multiple Comparison) ด้วยวิธีการ LSD (Least Significant Different) ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. นักศึกษาที่ได้รับข้อมูลป้อนกลับในการเขียนทั้ง 3 รูปแบบ ได้แก่ แบบเน้นไวยากรณ์ แบบเน้นเนื้อหาของเรื่อง และแบบผสมผสานต่างมีคะแนนความสามารถในการเขียนอนุเฉทภาษาอังกฤษหลังการทดลองสูงกว่าคะแนนก่อนการทดลอง โดยมีนักศึกษากลุ่มที่ได้รับข้อมูลป้อนกลับในการเขียนแบบเน้นเนื้อหาของเรื่องเท่านั้นที่มีคะแนนรวมความสามารถและคะแนนเฉพาะองค์ประกอบด้านเนื้อหาสูงขึ้นจากระดับดีเป็นดีมาก 2. นักศึกษากลุ่มที่ได้รับข้อมูลป้อนกลับแบบเน้นเนื้อหาของเรื่องมีความสามารถโดยรวมของการเขียนอนุเฉทภาษาอังกฤษและคะแนนความสามารถในองค์ประกอบด้านไวยากรณ์สูงสุด โดยมีคะแนนสูงกว่านักศึกษากลุ่มที่ได้รับข้อมูลป้อนกลับแบบผสมผสานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สำหรับใน องค์ประกอบด้านเนื้อหา นักศึกษากลุ่มที่ได้รับข้อมูลป้อนกลับแบบเน้นเนื้อหาของเรื่องมีคะแนนสูงสุด โดยมีคะแนนสูงกว่านักศึกษาอีก 2 กลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. นักศึกษากลุ่มที่ได้รับข้อมูลป้อนกลับแบบเน้นไวยากรณ์ก่อนเปลี่ยนมาได้รับข้อมูลป้อนกลับแบบเน้นเนื้อหาของเรื่องมีคะแนนความสามารถในการเขียนอนุเฉทภาษาอังกฤษหลังการทดลองสูงสุด ทั้งคะแนนความสามารถโดยรวม คะแนนเฉพาะองค์ประกอบด้านเนื้อหาและคะแนนเฉพาะองค์ประกอบด้านไวยากรณ์
Other Abstract: The purposes of this study were to (1) study the English paragraph writing ability of Rajabhat Institute undergraduates who received three different types of feedback: Grammar Feedback, Content Feedback, and Combination Feedback (2) compare the English paragraph writing ability of those undergraduates after given three different types of feedback and (3) compare the English paragraph writing ability of those undergraduates after given different orders of feedback. A total number of 90 second-year English majors of Rajabhat Institute Suan Dusit, chosen by means of purposive sampling, were randomly assigned into three groups. Each was given different type of feedback. The instruments used in this research were eight topics for writing paragraphs, and three forms of guidelines for giving feedback. The language use and content validity were approved by three language-teaching specialists and pilot tested before using with the research subjects. The data were analyzed for mean, standard deviation, ANOVA, and LSD (Least Significant Different). The results of this study were as follows: 1. The English paragraph writing ability of all three groups, given Grammar Feedback, Content Feedback, and Combination Feedback respectively, was higher after the experiment. Only the group given Content Feedback had "Very Good" level for overall and content element scores. 2. The group given Content Feedback got the highest overall and content element scores. The scores were higher than those of the group given Combination Feedback at .01 level of significance. The grammar element score of the group given Content Feedback was also higher than the groups given Grammar Feedback and Combination Feedback at .01 level of significance. 3. The group given Grammar Feedback during the first experimental period and Content Feedback during the second experimental period got the highest overall, content element, and grammar element scores.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/398
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.1312
ISBN: 9741739125
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2003.1312
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wichaya.pdf1.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.