Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4000
Title: | การนำเสนอรูปแบบการใช้สื่อการศึกษานอกสถานที่ เพื่อการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา |
Other Titles: | A proposed model for the utilization of educational fieldtrip for environmental education instruction in secondary schools |
Authors: | ปรเมศวร์ บุญยืน, 2520- |
Advisors: | ประศักดิ์ หอมสนิท วลัย พานิช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Prasak.h@car.chula.ac.th Walai.P@chula.ac.th |
Subjects: | สิ่งแวดล้อมศึกษา การศึกษานอกสถานที่ การสอนด้วยสื่อ |
Issue Date: | 2543 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการใช้สื่อการศึกษานอกสถานที่ และนำเสนอรูปแบบการใช้สื่อการศึกษานอกสถานที่ เพื่อการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา ในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา และด้านการจัดการศึกษานอกสถานที่ จำนวน 20 ท่าน ได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการแบบลูกโซ่ ผู้วิจัยใช้เทคนิคเดลฟายในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 3 รอบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรอบสุดท้าย ทำให้ได้ข้อความสำหรับรูปแบบการใช้สื่อสารศึกษานอกสถานที่ จำนวน 132 ข้อ จากทั้งหมด 156 ข้อ 2. รูปแบบประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ทั้งหมด 9 ขั้นตอน ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 2.1 การกำหนดเนื้อหา: เนื้อหาที่เหมาะสมสำหรับการใช้สื่อการศึกษานอกสถานที่ เพื่อการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาควรอยู่บนพื้นฐานของการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาในหลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งเน้นในการกำหนดเนื้อหาที่สามารถส่งเสริมให้เกิดทักษะและการปฏิบัติ 2.2 การกำหนดวัตถุประสงค์: วัตถุประสงค์ของการศึกษานอกสถานที่ควรประกอบด้วยวัตถุประสงค์พื้นฐานทั้ง 3 ด้าน ของการศึกษานอกสถานที่ เพื่อการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งแยกออกเป็นวัตถุประสงค์ประเภทต่างๆ คือ พุทธิพิสัย, จิตพิสัย และทักษะพิสัย 2.3 การเตรียมสถานที่: ประกอบด้วยขั้นตอนของการคัดเลือกสถานที่ที่เหมาะสมและการจัดเตรียมสถานที่ 2.4 การเตรียมตัวของครูผู้สอน: ครูผู้สอนควรได้มีการเตรียมความพร้อมในด้านการบริหาร, การเตรียมความพร้อมโดยทั่วไป, การกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียน และการเตรียมมาตรการรักษาความปลอดภัย 2.5 การเตรียมตัวผู้เรียน: ผู้เรียนควรได้มีการเตรียมความพร้อมในขั้นตอนต่างๆ คือ การเตรียมความพร้อมโดยทั่วไป, การเตรียมความพร้อมด้านทักษะที่ใช้ในการศึกษา และการเตรียมอุปกรณ์ประกอบการศึกษา 2.6 การดำเนินกิจกรรมการศึกษา: กิจกรรมการศึกษานอกสถานที่หมายรวมถึงขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมของครูผู้สอน และการปฏิบัติกิจกรรมของผู้เรียน 2.7 การสรุปบทเรียน: เป็นขั้นตอนของการให้ผู้เรียนได้ทำการสรุปบทเรียนด้วยตนเองจากความรู้และทักษะที่ได้จากการศึกษานอกสถานที่ 2.8 การประเมินผล: คือ การประเมินประสิทธิผลการเรียนรู้ของผู้เรียนจากวัตถุประสงค์การเรียนรู้ทั้ง 3 ด้าน 2.9 การจัดกิจกรรมต่อเนื่อง : เป็นขั้นตอนที่ให้ผู้เรียนขยายผลการเรียนรู้และทักษะที่ได้จากกิจกรรมการศึกษานอกสถานที่ เพื่อการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมมาใช้ในโรงเรียนและชุมชน |
Other Abstract: | The purposes of this study were to obtain expert's opinions regarding the utilization of educational fieldtrip for environmental education and to propose the utilization of educational fieldtrip model for environmental education instruction in secondary schools. The samples were 24 experts in environmental education instruction and fieldtrip. The methodology used to generate group consensus was the three rounds of Delphi Technique. The research instrument consisted of three questionnaires. The collected data were analyzed by median and interquartile range. The results revealed that: 1. The 132 items of group consensus from 156 items were considered a model for the utilization of educational fieldtrip for environmental education instruction. 2. The model comprised of nine steps: 2.1 Determine content: The most appropriate content for environmental fieldtrip should be based on environmental education in lower secondary education curriculum emphasized on content with practical skills. 2.2 State objectives: Fieldtrip objectives should include three basic objectives of environmental education in lower secondary school: cognitive learning, affective learning psychomotor learning. 2.3 Prepare location: Select appropriate location and prepare location for effective use. 2.4 Prepare instructor: Instructors should prepare themselves for administration tasks and general tasks; motivate learners for learning; and set safety standard. 2.5 Prepare learner: Learners should be prepared in general aspects; required learning skills; and instructional media. 2.6 Conduct activities: Fieldtrip activities including instructor and learner activities. 2.7 Summarize lesson: Let learners summarize their knowledge and skills from fieldtrip. 2.8 Evaluate fieldtrip: Assess learners' learning achievement according to three domains of objective. 2.9 Conduct follow-up activities: Let learners implement their knowledge and skills from fieldtrip in the environmental activities in school and community. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | โสตทัศนศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4000 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.419 |
ISBN: | 9741307527 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2000.419 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Porametch.pdf | 4.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.