Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4021
Title: การเปรียบเทียบวิธีการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากยาโดยวิธีติดตามคำสั่งเตือนภัยและวิธีติดตามเชิงลึกที่หอผู้ป่วยอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Other Titles: Comparing adverse drug reaction monitoring system between alerting order system and intensive monitoring system in medical wards, King Chulalongkorn Memorial Hospital
Authors: สายฝน อินทร์ใจเอื้อ
Advisors: นารัต เกษตรทัต
ปราณี สุจริตจันทร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: Narat.K@Chula.ac.th
Pranee.S@Chula.ac.th
Subjects: ยา -- ผลข้างเคียง
เภสัชกรรมของโรงพยาบาล
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบวิธีการติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากยาดำเนินการโดยเภสัชกร 2 วิธีคือ วิธีติดตามคำสั่งเตือนภัย โดยการทบทวนคำสั่งการใช้ยาของแพทย์ในแฟ้มประวัติผู้ป่วยได้แก่ คำสั่งหยุดยา คำสั่งลดขนาดยาคำสั่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ และคำสั่งใช้ยาเพื่อรักษาอาการไม่พึงประสงค์ กับวิธีติดตามเชิงลึก โดยการทบทวนจากแฟ้มประวัติผู้ป่วยและการสัมภาษณ์ผู้ป่วย เพื่อสืบหาอาการไม่พึงประสงค์ นำมาเปรียบเทียบในด้าน จำนวน กลุ่มยา ลักษณะระบบอวัยวะ การป้องกัน ระดับความรุนแรงของอาการไม่พึงประสงค์ที่พบ ระยะเวลาที่ใช้ในการติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากยาของแต่ละวิธี ดำเนินการเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนตุลาคม 2543 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2544 ณ หอผู้ป่วยอายุรศาสตร์ 2 และ 3 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จากการติดตามผู้ป่วย 433 ราย เป็นเพศชาย 224 ราย เพศหญิง 209 ราย อายุเฉลี่ย 51.9 ปี (+-17.9 ปี) จำนวนขนานยาที่ได้รับเฉลี่ย 8.5 ขนาน (+-5.7 ขนาน) จำนวนวันที่นอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 9.0 วัน (+-9.8 วัน) วิธีการคำสั่งเตือนภัยพบผู้ป่วยที่เกิดอาการไม่พึงประสงค์ 35 ราย จำนวน 44 ปัญหา คิดเป็นอุบัติการณ์ร้อยละ 8.1 อาการไม่พึงประสงค์พบมากในกลุ่มยาที่ออกฤทธิ์ต่อหัวใจและหลอดเลือด (ร้อยละ 34.1) ระบบอวัยวะที่พบเกิดอาการไม่พึงประสงค์บ่อยที่สุดได้แก่ระบบทางเดินอาหาร ระบบหัวใจและหลอดเลือด (ร้อยละ 18.2) พบอาการไม่พึงประสงค์ในความรุนแรงระดับ 3 มากที่สุด (ร้อยละ 40.9) อาการไม่พึงประสงค์ที่พบส่วนใหญ่ ไม่ร้ายแรง (ร้อยละ 75.0) อาการไม่พึงประสงค์ที่ป้องกันได้ พบร้อยละ 38.6 และระยะเวลาในการติดตามเฉลี่ยในผู้ป่วย 1.6 นาที (+-1.4 นาที) ต่อรายต่อวัน วิธีติดตามเชิงลึก พบผู้ป่วยที่เกิดอาการไม่พึงประสงค์ 51 ราย จำนวน 76 ปัญหา คิดเป็นอุบัติการณ์ร้อยละ 11.8 อาการไม่พึงประสงค์พบมากในกลุ่มยาต้านมะเร็ง (ร้อยละ 27.6) ระบบอวัยวะที่พบเกิดอาการไม่พึงประสงค์บ่อยที่สุดได้แก่ ระบบทางเดินอาหาร (ร้อยละ 21.1) พบอาการไม่พึงประสงค์ในความรุนแรงระดับ 3 มากที่สุด (ร้อยละ 39.5) อาการไม่พึงประสงค์ที่พบส่วนใหญ่ ไม่ร้ายแรง (ร้อยละ 59.2) อาการไม่พึงประสงค์ที่ป้องกันได้ พบร้อยละ 30.3 ระยะเวลาในการติดตามเฉลี่ยในผู้ป่วย 7.6 นาที (+-3.3 นาที) ต่อรายต่อวัน วิธีติดตามเชิงลึกพบจำนวนผู้ป่วยที่เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยามากกว่าจากที่พบโดยวิธีติดตามคำสั่งเตือนภัย แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) วิธีติดตามเชิงลึกจะพบจำนวนปัญหาอาการไม่พึงประสงค์มากกว่าวิธีติดตามคำสั่งเตือนภัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เวลาที่ใช้ในวิธีติดตามเชิงลึกมากกว่าวิธีติดตามคำสั่งเตือนภัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) วิธีติดตามเชิงลึกจะพบอาการไม่พึงประสงค์จากยาได้ครอบคลุมมากกว่าที่พบโดยวิธีติดตามคำสั่งเตือนภัย ทั้งจำนวนกลุ่มยาที่ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ ลักษณะอาการไม่พึงประสงค์ ระบบอวัยวะที่เกิดอาการไม่พึงประสงค์ อาการไม่พึงประสงค์ที่ป้องกันได้ ระดับความรุนแรงและระดับความร้ายแรงของอาการไม่พึงประสงค์ ดังนั้นการที่เภสัชกรจะได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลการใช้ยาในผู้ป่วย ร่วมกับแพทย์ พยาบาล โดยดำเนินการติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากยาในโรงพยาบาลโดยวิธีติดตามเชิงลึก จึงเป็นวิธีที่ดีและเหมาะสมอย่างยิ่งในการที่จะทำให้การดูแลรักษาผู้ป่วยมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น
Other Abstract: The objective of this research was to study adverse drug reactions (ADRs) by comparing two pharmacist-based ADR monitoring methods. The first method was the alerting order system which expected ADR were detected by screening physician's orders including drug discontinuation, dosage decreasing, laboratory test ordering and order for "antidote" or "tracer agent" that used to treat ADRs. The second method was the intensive monitoring system which suspected ADRs were detected by reviewing patient's chart, patient interviewing, screening laborary test parameters as well as changes in medication orders. The study was performed during October 2000 to February 2001 at the medical wards, King Chulalongkorn Memorial Hospital. Four hundred and thirty-three pateints were monitored, mean age was 51.9 years (+-17.9), number of medication used were 8.5 items (+-5.7) and duration of admission was 9.0 days (+-9.8). By using the alerting order system, 44 ADRs in 35 patients were detected, the incidence was 8.1%. Cardiovascular drugs (34.1%) caused most ADRs, gastro-intestinal system and cardiovascular system (18.2%) were commonly organ system affected. When ADRs were classified by severity, seriousness and preventable ADR: 40.9% were severity level 3, 75.0% were not serious and 38.6% were preventable ADRs. The average time in monitoring each patient was 1.6 minutes (+-1.4) per day. The intensive monitoring system could detect 76 ADRs in 51 patients, the incidence was 11.8%. Antineoplastic drugs caused most ADRs (27.6%) and gastro-intestinal system was commonly organ system affected (21.1%). When ADRs were classified by severity, seriousness and preventable ADR: 39.5% were severity level 3, 59.2% were not serious and 30.3% were preventable ADR. The average time in monitoring each patient was 7.6 minutes (+-3.3) per day. The intensive monitoring system could detect ADR cases and ADR problems more than the alerting order system, with statistically significance in problems (p<0.05) but not statistically significance in cases (p>0.05). Average time used by the intensive monitoring system was significantly more than by the alerting order system (p<0.05). The intensive monitoring system could detect more comprehensive ADRs than the alerting order system including number drug groups, organ systems, preventable ADRs, severe ADRs and serious ADRs. Therefore, the intensive monitoring system provides an excellent method for pharmacists to actively participate with healthcare team that could lead to more safe and efficiency in patient care.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4021
ISBN: 9741309422
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saifon.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.