Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/40978
Title: โอกาสในการอนุรักษ์ฟื้นฟูที่อยู่อาศัยย่านเมืองเก่าสกลนคร
Other Titles: Conservation potential to revitalise housing community in Sakolnakorn old town district
Authors: รวินทร์ ถิ่นนคร
Advisors: กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Kundoldibya@hotmail.com, Kundoldibya.P@Chula.ac.th
Subjects: ที่อยู่อาศัย -- ไทย -- สกลนคร
การฟื้นฟูเมือง -- ไทย -- สกลนคร
Dwellings -- Thailand -- Sakolnakorn
Urban renewal -- Thailand -- Sakolnakorn
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พ.ศ.2547 การเคหะแห่งชาติจัดทำแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยเมืองสกลนครแบบมีส่วนร่วม พบว่าปัญหาที่อยู่อาศัยที่ชาวสกลนครเห็นว่ามีความสำคัญมากคือปัญหาที่อยู่อาศัยในย่านเมืองเก่า เนื่องจากที่อยู่อาศัยที่มีเอกลักษณ์ถูกทิ้งร้าง และมีสภาพทรุดโทรมชาวเมืองจึงต้องการให้มีการดำเนินงานอนุรักษ์และฟื้นฟูที่อยู่อาศัยเพื่อให้ชุมชนมีสภาพภาพการอยู่อาศัยที่ดีขึ้น ผลการศึกษาพบว่าสภาพปัจจุบันที่อยู่อาศัยที่มีเอกลักษณ์ในย่านเมืองเก่าสกลนครมีทั้งหมด 186 หลัง จำนวนมากอยู่ในสภาพทรุดโทรมทำให้มีคุณภาพการอยู่อาศัยที่ลดลง สาเหตุเกิดจาก อายุอาคารที่อยู่อาศัยที่ก่อสร้างมานาน มีอายุเฉลี่ยประมาณ 80 ปี และจากปัญหาภาวะเศรษฐกิจของผู้อยู่อาศัยในระดับครัวเรือนโดยมีร้อยละ 30 ของที่อยู่อาศัยที่สำรวจทั้งหมดมีรายได้เฉลี่ย 5,000 บาทต่อเดือน จึงไม่สามารถรับภาระในการดูแลรักษาบ้านของตนเองได้ นอกจากนั้นยังพบปัญหาการอยู่อาศัยคือ พื้นที่ใช้สอยไม่เพียงพอเนื่องจากการอยู่อาศัยแบบครอบครัวขยาย และที่อยู่อาศัยแบบที่มีเอกลักษณ์เหล่านี้ ไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตสมัยใหม่ ทำให้ผู้อยู่อาศัยใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่ และเนื่องจากเป็นบ้านไม้ จึงเสี่ยงต่ออัคคีภัย และค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาบ้านไม้มีราคาสูง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ผู้อยู่อาศัยมีแนวคิดที่จะรื้อสร้างเป็นบ้านปูนสมัยใหม่มากขึ้น จากสภาพปัญหาที่อยู่อาศัยที่มีเอกลักษณ์ในปัจจุบัน การอนุรักษ์ ฟื้นฟูที่อยู่อาศัยจะทำให้ชุมชนมีสภาพการอยู่อาศัยที่ดีขึ้นได้ และอาจนำมาซึ่งผู้มาเยี่ยมชมชุมชนที่อยู่อาศัยที่มีเอกลักษณ์นี้ อันจะเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชนอีกทางหนึ่ง จึงเกิดความสนใจที่จะศึกษา โอกาสในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูที่อยู่อาศัย โดยมีวัตถุประสงค์ คือ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และศักยภาพชุมชนในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูที่อยู่อาศัยย่านเมืองเก่าสกลนคร (2) ศึกษาทัศนคติของชาวชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการอนุรักษ์ฟื้นฟูที่อยู่อาศัยย่านเมืองเก่าสกลนคร (3) วิเคราะห์ปัจจัยในการส่งเสริมและขัดขวางการอนุรักษ์ฟื้นฟูที่อยู่อาศัยในย่านเมืองเก่าสกลนคร จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้มีโอกาสในการอนุรักษ์ฟื้นฟูชุมชนที่อยู่อาศัยที่เป็นปัจจัยภายใน ได้แก่ (1) ผู้อยู่อาศัยในที่อยู่อาศัยที่มีคุณค่าร้อยละ 34 ของที่อยู่อาศัยที่สำรวจเห็นด้วยกับการอนุรักษ์ ฟื้นฟูที่อยู่อาศัย (2) ผู้อยู่อาศัยมีความสัมพันธ์แบบเครือญาติที่เข้มแข็งหากมีเป้าหมายร่วมกันน่าจะทำให้ดำเนินการต่างๆได้ง่าย (3) ชุมชนมีความสัมพันธ์เชิงสังคมสูงในรูปแบบที่หลากหลายมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในการดำเนินกิจกรรมเพื่อส่วนรวม (4) ประชาคมเมือง เทศบาลให้ความสนับสนุนกับการอนุรักษ์ ฟื้นฟูที่อยู่อาศัย ส่วนปัจจัยหนุนจากภายนอก ได้แก่ (1) มีหน่วยงานภาครัฐ , หน่วยงานทางวิชาการที่พร้อมให้การสนับสนุน (2) มีกลไกทางกฎหมายที่เอื้ออำนวย ให้เกิดการอนุรักษ์ได้ ปัจจัยต้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูที่อยู่อาศัยที่เป็นปัจจัยภายใน คือ (1) ปัญหาเศรษฐกิจระดับครัวเรือนไม่มีทุนมากพอในการที่ฟื้นฟูที่อยู่อาศัยด้วยตนเองได้ (2) ชุมชนขาดความรู้ และความเข้าใจการอนุรักษ์ ฟื้นฟูที่อยู่อาศัย (3) ชุมชนยังเป็นสังคมพึ่งภายนอกรัฐอุปถัมภ์ (4) ขาดเทคโนโลยี และวัสดุที่เหมาะสม (5) ทัศนคติของผู้อยู่อาศัยในที่อยู่อาศัยที่มีเอกลักษณ์ที่มีคุณค่าร้อยละ16 ของที่อยู่อาศัยที่สำรวจไม่เห็นด้วยกับการอนุรักษ์ ฟื้นฟูที่อยู่อาศัย ส่วนปัจจัยขัดขวางจากภายนอก ได้แก่ (1) ภาครัฐยังการบริหารจัดการแบบรวมศูนย์อยู่มาก (2) ค่านิยมในการพัฒนายังขาดการศึกษาด้านมิติทางวัฒนธรรม ผลการศึกษาพบว่า การอนุรักษ์ฟื้นฟูที่อยู่อาศัยในย่านเมืองเก่าสกลนครมีโอกาสที่จะเป็นไปได้ปานกลาง เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุนจากภาครัฐ และหน่วยงานทางวิชาการ และที่สำคัญคือเทศบาล และประชาคมเมืองสกลนครเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ ฟื้นฟูที่อยู่อาศัย แต่ปัจจัยที่ทำให้โอกาสการอนุรักษ์ ฟื้นฟูที่อยู่อาศัยประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน โดยชุมชนเป็นแกนหลักนั้นยังคงมีโอกาสเป็นไปได้ยาก เนื่องจาก จุดอ่อนด้านทุนของผู้อยู่อาศัย และทัศนคติชุมชนยังเป็นแบบรัฐอุปถัมป์ ดังนั้น ถ้าจะทำให้สำเร็จต้อง (1) ตั้งเป้าหมายให้ถูกต้องว่าเป็นการอนุรักษ์ฟื้นฟู เพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเป็นสำคัญ (2) ในระยะแรกต้องอาศัยหน่วยงานภายนอก เช่น หน่วยงานท้องถิ่น และสถาบันการศึกษา ที่มีความเข้าใจในเป้าหมายอย่างถ่องแท้เป็นผู้จุดประกายให้กับชาวชุมชน (3) กระบวนการอนุรักษ์ ฟื้นฟูที่อยู่อาศัยต้องดำเนินการโดยกระบวนการมีส่วนร่วมควบคู่กับการแลกเปลี่ยน ความรู้และเสริมศักยภาพของชุมชนในการแก้ปัญหาต่างๆด้วยตนเอง โดยอาจคัดเลือกพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงสุดมาดำเนินการเป็นตัวอย่างอย่างเป็นรูปธรรม เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อให้เมื่อชุมชนมีความพร้อมมากขึ้นแล้วชุมชนจะสามารถปรับเปลี่ยนบทบาทมาเป็นแกนหลักในการพัฒนา อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ต่อเนื่องยั่งยืน
Other Abstract: When the National Housing Authority implemented the Participatory Housing Development Plan of Sakolnakorn in B.E. 2547, it discovered that the housing problems that the residents viewed as most significant were in the Old city Area. The fact that the unique housing had been deserted and run down caused the locals to organize conserving and developing activities to revitalize the community. This study result indicates that only 186 housing units with unique characteristics in the old area of Sakolnakorn survived. Most of them were in poor condition leading to decreased living quality. As these homes were approximately 80 years old on average, and their occupants’ economic status was quite low: 30% of those surveyed had an average monthly income of Baht 5,000, it was not possible for the owners to maintain these houses. Other problems found were insufficient space for use due to the extended family. These traditional homes were also incompatible with modern lifestyle, for example, the residents could not maximize their use. These wooden houses were also vulnerable to fire, and the expense in maintaining wooden homes is quite high. These factors caused the residents to think of reconstructing their homes using cement and making them more modern. Regarding the present state of housing problems, conservation and restoration of housing will better the community conditions and may bring visitors to these unique living quarters which could be an income source for the community. Thus, there was interest in studying the opportunities arising from restoration of housing with the aim to 1) study the present status and community potential in conserving restoration of the housing in the Old Sakolnakorn area; 2) research the attitudes of the local residents and involved agencies in conserving restoration of the Old Area of Sakolnakorn; and 3) analyze the positive and negative fecter affecting opportunities in conserving restoration of the area. This study found four internal factors promoting the conserving restoration of the community residential area. They are: 1) 34% of unique housing occupants agreed with the conservation and restoration of the area; 2) those residents with strong family ties cooperated easily if they shared the same goals; 3) a community with diverse forms of high social connections supporting in operating public activities; and 4) residents of the municipality provide support for the conserving restoration of housing. Two external factors were 1) the number of government offices and academic units ready to assist; and 2) the legal mechanism also facilitated this effort of conserving restoration. On the other hand, the internal limitations were as follows: 1) each household was not economically reliant to be self sufficient in conducting the activity; 2) the community still lacked knowledge and understanding of the conserving restoration process; 3) the community continued being dependent on the external patronage state; 4) the community lacked appropriate technology and materials; and 5) 16% of the residents in the unique homes had a negative attitude toward restoration. The external limitations were 1) the continuation of the centralized administration of the government sector, and 2) the lack of education in the cultural dimension of social value development. Thus, it can be concluded that the restoration of housing in the Old Sakolnakorn area is moderately feasible due to supporting factors from the government and academic offices. The key units are the municipality and the population of Sakolnakorn that realize the significance of this effort. However, it might be difficult to make the opportunities of this community-based operation more successfully sustainable because the residents are still weak in terms of capital and the community attitude still relies on the patronage state. Therefore, the following are recommended for a successful result: 1) a correct goal must be set to conserving restoration for mainly better living conditions; 2) the government sector and educational institutions with clear understanding of the goal must, initially, inspire the local residents; and 3) the revitalisation process must incorporate the processes of participation, knowledge exchange and transfer, and promote the community potential in self problem-solving by selecting and operating in the highest potential area as a concrete example and a learning resource. This is done so the community can gain readiness and adapt its role to become the core in development which will lead to sustainable and ongoing development.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/40978
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.108
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.108
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rawin_Th.pdf16.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.