Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/40994
Title: | ผลการระงับปวดของทรามาดอลต่อระดับความร้อนที่ทำให้แมวเริ่มมีการตอบสนอง |
Other Titles: | he antinociceptive effects of Tramadol on the thermal threshold response in cats |
Authors: | เสาวณีย์ จิวลวัฒน์ |
Advisors: | สุมิตร ดุรงค์พงษ์ธร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sumit.D@Chula.ac.th |
Subjects: | ความเจ็บปวดในสัตว์ ยาแก้ปวด แมว -- ศัลยกรรม Pain in animals Analgesics Cats -- Surgery |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาผลการระงับปวดของทรามาดอลต่อระดับความร้อนที่ทำให้แมวเริ่มมีการตอบสนองในแมว 8 ตัว โดยใช้อุปกรณ์วัดระดับความร้อน ซึ่งประกอบด้วยแถบซิลิโคนให้ความร้อนและตัววัดอุณหภูมิติดแนบผิวหนังบริเวณช่องอก แมวทั้ง 8 ตัว ได้รับยาที่ใช้ศึกษาฉีดเข้ากล้ามเนื้อ แบบสุ่ม คือ ทรามาดอล ขนาด 2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม มอร์ฟีนขนาด 0.2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และ น้ำเกลือปริมาณ 0.04 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัม (กลุ่มควบคุม) โดยมีระยะพักระหว่างยาแต่ละชนิดอย่างน้อย 1 สัปดาห์ และผู้ทำการทดลองจะไม่ทราบชนิดของยาที่แมวได้รับ การกระตุ้นเริ่มด้วยความร้อนที่เพิ่มขึ้นจนกระทั่งแมวแสดงอาการตอบสนอง ได้แก่ ผิวหนังกระตุก, หันไปมองที่เครื่องมือ และกระโดดไปข้างหน้า จึงหยุดการกระตุ้น และ บันทึกอุณหภูมิ ณ จุดที่แมวแสดงอาการตอบสนอง และถือเป็นระดับความร้อนที่ทำให้แมวเริ่มมีการตอบสนอง โดยวัดค่าปกติของแมวแต่ละตัวก่อนได้รับยา ทำซ้ำกัน 3 ครั้ง ห่างกัน 15 นาที และกระตุ้นภายหลังที่แมวได้รับยาเป็นเวลา 15, 30, 45, 60, 90, 120, 150, 180, 210, 240, 270, 300, 330, 360, 480 และ 720 นาที ตามลำดับ ขณะทำการทดลองแมวสามารถทนต่อการกระตุ้นด้วยความร้อนซ้ำๆได้ตลอดการทดลอง และแมวแสดงพฤติกรรมเป็นปกติระหว่างทำการทดลอง แมวสามารถ กินอาหาร กินน้ำ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ เล่น เลียทำความสะอาดตัวเอง และตอบสนองต่อการสัมผัสของมนุษย์ได้ตามปกติ โดยค่าเฉลี่ย ± ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของระดับความร้อนที่ทำให้แมวเริ่มมีการตอบสนองตลอด 12 ชั่วโมงมีค่า 42.2 ± 0.9⁰ซ ก่อนให้ยา, 42.0 ± 0.5⁰ซ ในกลุ่มควบคุม, 43.2 ± 0.9⁰ซ ในกลุ่มมอร์ฟีน และ 44.2 ± 1.6⁰ซ ในกลุ่มทรามาดอล ซึ่งพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ของค่าเฉลี่ยของระดับความร้อนที่ทำให้แมวเริ่มมีการตอบสนองตลอด 12 ชั่วโมงระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม และค่าเฉลี่ยของระดับความร้อนที่ทำให้แมวเริ่มมีการตอบสนองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับก่อนให้ยา (p<0.05) ระหว่างเวลา 15 - 270 นาที และ 330 - 360 นาที ภายหลังฉีดมอร์ฟีน และระหว่างเวลา 45 - 90 นาที,180 - 210 นาที และ 270 - 300 นาที ภายหลังฉีดทรามาดอล จากการศึกษาครั้งนี้สรุปว่า ทรามาดอลมีประสิทธิภาพเทียบเคียงกับมอร์ฟีนในการระงับปวดที่เกิดจากการกระตุ้นด้วยความร้อนในแมว |
Other Abstract: | The study of the antinociceptive effects of tramadol on the thermal threshold response in eight cats by a thermal threshold-testing device which contained a heater element and a temperature sensor placed on the shaved lateral thoracic area. Each cat randomly received an intramuscular administration of tramadol 2 mg/kg, morphine 0.2 mg/kg and saline 0.04 ml/kg with a week interval by an observer unaware of the treatment. Thermal threshold were measured and recorded by activation of the heater until the cat showed positive responses (e.g. skin flicks, turning and looking at the probe and jumping forwards). Three baseline measurements were made at 15 minutes intervals before treatments. The thermal threshold were measured at 15, 30, 45, 60, 90, 120, 150, 180, 210, 240, 270, 300, 330, 360, 480 and 720 minutes after the drugs administration. All cats tolerated well with repeated thermal stimuli and continued normal activities (e.g. eating, drinking, defecation, urination, playing, grooming, and respond to human contact) throughout the testing period. Mean thermal threshold ± SD over 12 hrs were 42.2 ± 0.9⁰C (basal), 42.0 ± 0.5⁰C (placebo), 43.2 ± 0.9⁰C (morphine) and 44.2 ± 1.6⁰C (tramadol). There were significant differences (p<0.05) of mean thermal threshold over 12 hrs between the experimental and control groups. When comparing with pre-injection baseline, thermal threshold were increased significantly (p<0.05) during 15 - 270 min and 330 – 360 min after morphine and during 45 - 90 min, 180 - 210 min and 270 - 300 min after tramadol. In conclusion, Tramadol had analgesic efficacy comparable to morphine on thermal stimuli in cats. |
Description: | วิทยานิพนธ์(วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ศัลยศาสตร์ทางสัตวแพทย์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/40994 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.407 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.407 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Vet - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Saowanee_Ji.pdf | 1.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.