Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4146
Title: | การนำซิลิกา-อลูมินาที่ใช้แล้วมาใช้ประโยชน์ในการทำวัสดุปูพื้น |
Other Titles: | The utilization of spent silica-alumina for making pavement |
Authors: | ไลทิพย์ อภิธรรมวิริยะ |
Advisors: | เพ็ชรพร เชาวกิจเจริญ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Petchporn.C@chula.ac.th |
Subjects: | ซิลิกา-อลูมินา แอนทราควิโนน วัสดุปูพื้น |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาการนำซิลิกา-อลูมินาที่ใช้แล้ว เพื่อนำมาใช้ประโยชน์โดยการทำเป็นวัสดุปูพื้น ในรูปคอนกรีตบล็อกประสานปูพื้น และในรูปกระเบื้องดินเผาปูพื้น ในการทดลองแรกได้ศึกษาถึงผลกระทบต่างๆ ที่มีผลต่อการทำให้เป็นก้อน และแสดงสมบัติทางกายภาพเพื่อเปรียบเทียบกับข้อกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ค่ากำลังรับแรงอัด ค่าความหนาแน่นและค่าความซึมน้ำ นอกจากนี้ยังศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยการทดสอบการชะละลายสารประเภทแอนทราควินโนน ในการวิจัยมีการทดลอง 3 ชุดคือ ชุดแรกศึกษาอัตราส่วนของซิลิกา-อลูมินาที่ใช้แล้วต่อปูนซีเมนต์ ซึ่งแปรค่าตั้งแต่ 0 0.25 0.50 0.75 และ 1.00 และอัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ซึ่งแปรค่าตั้งแต่ 0.4 0.5 0.6 และ 0.7 การทดลองชุดที่สองแสดงผลเมื่อระยะเวลาในการบ่มเป็น 1 3 7 14 และ 28 วัน และการทดลองชุดที่สามเป็นการหาประสิทธิภาพการชะละลาย ประเภทแอนทราควินโนนและประมาณค่าใช้จ่ายเบื้องต้น ผลการทดลองทำคอนกรีตบล็อกขนาด 20x15x5 ซม. พบว่าอัตราส่วนของซิลิกา-อลูมินาที่ใช้แล้วต่อปูนซีเมนต์ที่เหมาะสมเท่ากับ 0.25 เมื่ออัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์เป็น 0.5 เนื่องจากผลการทดสอบให้ค่ากำลังรับแรงอัด ค่าความหนาแน่นสูงสุด และประสิทธิภาพในการลดการถูกชะละลาย 72% ค่าใช้จ่าย 3.76 บาทต่อขนาดคอนกรีตบล็อกประสานปูพื้นขนาด 3 กิโลกรัม ระยะเวลาที่เหมาะสม 28 วัน ค่าใช้จ่าย 3.76 บาทต่อขนาดคอนกรีตบล็อกประสานปูพื้นขนาด 3 กิโลกรัม เมื่อศึกษาในเชิงเศรษฐศาสตร์ที่อัตราส่วนของซิลิกา-อลูมินา ที่ใช้แล้วต่อปูนซีเมนต์เท่ากับ 0.05 เมื่ออัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์เป็น 0.5 เนื่องจากผลการทดสอบเป็นไปตามมาตรฐาน และระยะเวลาที่เหมาะสม 14 วัน ประสิทธิภาพในการลดการชะละลาย 54% ค่าใช้จ่าย 3.30 บาทต่อคอนกรีตบล็อกประสานปูพื้นขนาด 3 กิโลกรัม การทดลองชุดที่สองได้ศึกษาผลกระทบต่างๆ ที่มีผลต่อการทำกระเบื้องดินเผาปูพื้นและทดสอบสมบัติทางกายภาพ เพื่อเปรียบเทียบกับข้อกำหนดของมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ค่ากำลังรับแรงอัด ค่าความซึมน้ำ การทนความราน และการทนสารเคมีประเภทกรดและเบส อีกทั้งยังทดสอบค่าการชะละลายสารประเภทแอนทราควินโนน เนื่องจากเกิดสารสีแดงขณะทดสอบค่าความซึมน้ำ การทดลองแบ่งเป็น 3 ชุด การทดลองแรกศึกษาอัตราส่วนซิลิกา-อลูมินาที่ใช้แล้วต่อดินสำเร็จรูป โดยแปรค่าตั้งแต่ 0 0.25 0.50 0.75 และ 1.00 การทดลองชุดที่สองศึกษาผลที่เกิดจากการเผาที่อุณหภูมิ 800 1000 และ 1200 องศาเซลเซียส และการทดลองชุดที่สาม ศึกษาประสิทธิภาพในการลดการถูกชะละลายสารประเภทแอนทราควินโนน และประมาณค่าใช้จ่ายเบื้องต้น ผลการทดลองทำกระเบื้องขนาด 10x10 ตารางเซนติเมตร ที่ได้พบว่าอัตราส่วนของซิลิกาขอลูมินาที่ใช้แล้วต่อดินสำเร็จรูปที่เหมาะสมเท่ากับ 0.25 เมื่ออุณหภูมิในการเผากระเบื้อง 1200 องศาเซลเซียส เนื่องจากผลการทดสอบให้ค่ากำลังรับแรงอัด ค่าความหนาแน่นสูงที่สุด การทนความรานและการทนสารเคมีประเภทกรดและเบสผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ค่าใช้จ่ายโดยประมาณเท่ากับ 7.29 บาทต่อกระเบื้อง 1 แผ่น เมื่อทำการศึกษาในเชิงเศรษฐศาสตร์อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเผากระเบื้อง คือ 800 องศาเซลเซียส เนื่องจากผลการทดสอบเป็นไปตามมาตรฐาน ค่าใช้จ่ายโดยประมาณเท่ากับ 7.19 บาทต่อกระเบื้อง 1 แผ่น ประสิทธิภาพในการลดการถูกชะละลายที่อุณหภูมิทั้ง 2 ค่าเท่ากับ 99.98% |
Other Abstract: | Investigated the utilization of spent silica-alumina for making pavement which is composed of concrete block and floortile. The first experiments were performed to determined not only the factors affecting the solidification process, but also the physical properties of the concrete block standard, such as the compressive strength, density and permeability. In addition, the extraction tests on anthraquinones were carried out. A total of three kinds of experiments were performed. The first experiment was performed by using the spent silica-alumina/cementitious binder ratios of 0, 0.25, 0.50, 0.75 and 1.00 and water/cementitious binder ratios of 0.4, 0.5, 0.6 and 0.7. The second experiment indicated the effect of varying curing time of the solidified specimens at 1, 3, 7, 14, 21 and 28 days. The third experiment considered the stabilization efficiencies of anthraquinones and the cost estimation of the proper binder for making concrete block. The results obtained from making concrete block (20x15x5 cm.) from spent silica-alumina and cement indicated that the optimum conditions were present spent silica-alumina/cementitious binder ratio of 0.25 at a water/cement ratio of 0.5. By using these ratios, the best compressive strength, density and permeability was chosen along with a curing time of 7 days. The stabilization efficiency of anthraquinone was about 72%. The estimation of treatment costs were about 3.76 Baht/3 kg. concrete block. In the economic study, the optimum conditions consisted of a spent silica-alumina/cementitious binder ratio of 0.50 at a water/cement ratio of 0.6 and curing time of 14 days. The estimation of treatment costs were about 3.30 Baht/3 kg. concrete block. In the second experiments were performed to determine not only the factors affecting the making of floortile, but also the physical properties of the floortile standard, such as the compressive strength, density, permeability, chemical tolerance and compressive strength tolerance. In addition, the extraction tests on anthraquinones werecarried out. There were three experiments. The first experiment was performed by using spent silica-alumina/clay ratios of 0, 0.25, 0.50, 0.75 and 1.00. The second experiment indicated the effect of varying temperatures where making floortile at 800, 1000 and 1200 celcius degrees. The third experiment considered the stabilization efficiencies of anthraquinones and cost estimation of the proper binder for making floortile. The results for making floortile (10x10x1 cm.) from spent silica-alumina and clay indicated that the optimum conditions consisted of a spent silica-alumina/cementitious binder ratio of 0.25 at a temperature of 1200 celcius degrees. By using the above ratios and a curing time of seven days, the best values of compressive strength, density and permeability were obtained. These ratios produced the best compressive strength, density, permeability, chemical tolerance and compressive strength tolerance. The cost estimation was about 7.29 baht/floortile. In the economic study, the optimum conditions consisted of a spent silica-alumina/clay ratio of 0.25 at a temperature 800 of celcius degrees. The estimation of treatment costs were about 7.19 baht/floortile. AT both temperature, the stabilization efficiency of anthaquinone was about 99.98% |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4146 |
ISBN: | 9743334424 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
laithip.pdf | 5.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.